xs
xsm
sm
md
lg

ไปดูงานนมัสการพระธาตุอิงฮัง ปีนี้พี่น้องชาวลาวมืดฟ้ามัวดิน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#00003>ตำนานระบุ สร้างเมื่อปี พ.ศ.600 สมัยอาณาจักรสีโคดตะบอง และ สมัยเมืองพระนครเรืองอำนาจ ได้ตกไปอยู่ใต้อิทธิพลขอม ซึ่งแปลงไปเป็นสถานที่ทางศาสนาฮินดู รวมทั้งก่อสร้างเพิ่มเติมเป็นศิลปะฮินดู จนกระทั่งล่วงมาถึงสมัยพระเจ้าฟ้างุมของราชอาณาจักรลาว และ เมื่อพระเจ้าไซเสดถาทิลาด ย้ายเมืองหลวงมากรุงเวียงจันทน์ ทรงโปรดฯ ให้ฟื้นกลับคืนมาเป็นศาสนสถานของชาวพุทธอีกครั้ง. </b>

MGRออนไลน์ -- ชาวลาวจำนวนหลายหมื่นคน ทั้งชาวแขวงสะหวันนะเขตเอง และ จากจังหวัดอื่นๆ รวมทั้งจากนครเวียงจันทน์ ได้ไปเที่ยวชมงาน และ ร่วมนมัสการพระธาตุอิงฮัง ในเทศกาลประจำปี ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 พ.ย. - 3 ธ.ค. นี้ โดยภาพและคลิป เป็นจำนวนมาก ที่เผยแพร่ในโลกออนไลน์ของชาวลาว เมื่อไม่กี่ชั่วโมงมานี้ ได้แสดงให้เห็นเหตุการณ์ เมื่อวันที่ 30 พ.ย. และ 1 ธ.ค. ซึ่งตรงกับการฉลองวันชาติ วันก่อนวันชาติ สปป.ลาว ครบรอบ 42 ปี นับเป็นเหตุการณ์พิเศษสุด

นี่คือเหตุการณ์ที่เมืองไกสอน พมวิหาน เมืองเอกของแขวงสะหวันนะเขต อันเป็นที่ตั้งของวัด กับองค์พระธาตุอิงฮัง พระธาตุเก่าแก่อายุ 2 พันปี ตามตำนาน -- ซึ่งถือเป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมืองอีกแห่งหนึ่ง ของชาวคอมมิวนิสต์ลาว

"ພະທາດອີງຮັງເປັນເຈດີທີ່ບັນຈຸກະດູກຂອງສົມເດັດພະພຸດທະເຈົ້າ, ສ້າງຂຶ້ນເມື່ອປີ ພ.ສ 500 ເພື່ອເປັນອະນຸສອນໄວ້ວ່າ ຄັ້ງໜຶ່ງພະພຸດທະເຈົ້າ ໄດ້ມາໂຜດສັດ ໃນດິນແດນສຸວັນນະພູມແຫ່ງນີ້ ແລະ ໄດ້ນັ່ງສັນເຂົ້າອີງຕົ້ນຮັງຢູ່ ຈຶ່ງໃສ່ຊື່ວ່າ "ທາດອີງຮັງ".." ดร.สิริอูดง สูนดารา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เขียนบอกเล่าตำนานความเป็นมาสั้นๆ ของพระธาตุองค์ใหญ่ ที่ไม่เคยถูกทำลายด้วยอำนาจ หรือ อิทธิพลใดๆ ตลอดหลายร้อยปี -- ນອກຈາກການເວລາ ເທົ່ານັ້ນ

งานพิธีนมัสการพระธาตุอิงฮัง จัดเป็นประจำทุกปี ทีวัดพระธาตุซึ่งอยู่ห่างจากตัวเทศบาลเมืองราว 15 กิโลเมตรไปทางเขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน-เซโน โดยแยกจากถนนใหญ่เข้าไปราว 3 กม. -- และ ไม่เพียงแต่ชาวลาวเท่านั้น ที่ไปร่วมนมัสการ หากยังรวมถึงพุทธศาสนิกชนชาวไทย จำนวนมาก ที่ข้ามฝั่งไปจาก จ.มุกดาหาร กับ จังหวัดอื่นๆ เช่นเดียวกันกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ จำนวนไม่น้อย ที่มุ่งหน้าไปเพื่อชมเทศกาลนี้ -- ที่จัดขึ้นในวันขึ้น 13, 14 และ 15 ค่ำ เดือนอ้าย

ในวันปรกติทางการได้เปิดให้สาธารณชนทั่วไป เข้าชมและนมัสการพระธาตุอิงฮังได้ทุกวัน ระหว่าง 08:00-16:30 น. -- รอบๆองค์พระธาตุ เป็นลวดลายสลัก เป็นศิลปกรรมโบราณที่สวยงาม อย่างมีอัตลักษณ์

ตามข้อมูลที่เผยแพร่ในโลกออนไลน์ของชาวลาว คำว่า "อิงฮัง" นั้น มีคนจำนวนไม่น้อย นิยมเรียกว่า "อิน-ฮัง" สร้างขึ้นโดยพระเจ้าสุมินทะลาด ในพุทธศตวรรษที่ 6 ซึ่งเป็นยุคสมัยอาณาจักรสีโคดตะบอง มีพระเถราจากประเทศอินเดีย เป็นผู้วางฐานราก -- ເພື່ອເປັນເຄື່ອງໝາຍເຖິງ ການສະເດັຈປະລິນິພານ ຂອງພຣະພຸດທະເຈົ້າ ທີ່ປ່າໄມ້ຮັງ ເມືອງກຸສິນາຣາຍ ປະເທດອິນເດຍ ເມື່ອສ້າງສຳເລັດ ເພິ່ນໄດ້ນຳເອົາກະດູກພຣະພຸດທະເຈົ້າມາໃສ່ໄວ້
.


















<br><FONT color=#00003>รอบองค์พระธาตุยังเหลือรูปสลักนูนต่ำ แสดงให้เห็นอิทธิพลฮินดูอย่างชัดเจน. </b>
.
หนังสือตำนาณอุรังคธาตุกล่าวว่า พระธาตุอิงฮัง สร้างขึ้นเพื่้อเป็นสัญลักษณ์ ของสถานที่ประทับ ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อคราวเสด็จไปเยี่ยมเยือนพระสีโคดตะบอง -- ถึงแม้จะเป็นเหตุการณ์ ที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า เกิดขึ้นจริงในเชิงประวัติศาสตร์และโบราณคดี ก็ตาม

ข้อมูลจากแหล่งต่างๆ บอกเล่าตรงกันว่า ในยุคที่เมืองพระนคร หรือ นครวัด เรืองอำนาจสุดขีดนั้น "พวกขอม" ได้แผ่อิทธิพลไปทั่วดินแดนเอเชียอาคเนย์ และ พระธาตุอิงฮัง ได้ถูกดัดแปลงไป ให้เป็นเทวสถานของชาวฮอนดู มีการก่อสร้างเสริมเติมแต่ง ในหลายส่วน ให้ออกมาเป็นศิลปะฮินดู รวมทั้งรูปสลักนูนต่ำจำนวนหนึ่งด้วย

พระธาตุได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์อีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ.1892 เมื่อพระเจ้าฟ้างุม ทรงรวบรวมอาณาจักรลาวให้แน่นแฟ้น และ ทรงมอบหมายให้เจ้าเมืองในยุคนั้น ดำเนินการ ในเรื่องนี้ รวมทั้งดูแลรักษาสืบมา

เมื่อพระเจ้าไซเสดถาทิลาด ทรงย้ายเมืองหลวงของลาวล้านช้าง จากหลวงพระบาง ไปก่อตั้งเป็นกรุงจันทะบูลรีสีสัดตะนาคะนะหุด ซึ่งก็คือนครเวียงจันทน์ในวันนี้ ได้ทรงขยายแว่นแคว้น อย่างกว้างขวางอีกครั้งหนึ่ง และ โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะ พร้อมดัดแปลงพระธ่าตุอิงฮัง ให้กลับไปเป็น ปูชนียสถานของชาวพุทธเช่นเดิม รวมทั้งสร้างยอดพระเจดัย์ใหม่ ให้เป็นศิลปะแบบลาว หลังจากนั้นมีการบูรณะปฏิสังขรณ์ต่อมาในอีกหลายสมัย และ คงรักษารูปลักษณ์ในปัจจุบันสืบมา

ปี 2492 ประชาชนชาวลาว ได้ร่วมกันบูรณะครั้งใหญ่ที่สุด มีการสร้างขยายอาณาบริเวณพระธาตุให้แผ่กว้างออกไปอีก รวมทั้งสร้างประตูโขง และ กมมะเลียน หรือ ระเบียงคด โดยรอบ สร้างศาลาโรงธรรม เป็นที่จัดงานพิธี รวมทั้งเป็นทีพักสำหรับพุทธศาสนิกชน ที่เดินทางไปกราบไหว้.
กำลังโหลดความคิดเห็น