xs
xsm
sm
md
lg

สยอง 50 ปี ไปดูเวียดนามกู้ระบิดลูกใหญ่ "ไอ้อ้วน" จากแม่น้ำแดง บูรณะสะพานเก่าแก่กรุงฮานอย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#00003>จะทิ้งลงจาก F-105 เมื่อปี 2510 หรือ จาก F-4 แฟนทอม หรือ B-52 เมื่อปี 2515 ไม่มีผู้ใดทราบแน่ชัด แต่ที่แน่ๆ เป็นระเบิดไอ้อ้วนของกองทัพสหรัฐ เป็นมัจจุราชใต้น้ำ ที่บริเวณหัวสะพานลองเบียนแห่งนี้ ตลอด 45-50 ปีทีผ่านมา. </b>

MGRออนไลน์ -- ทีมประดาน้ำกับทีมเก็บกู้วัตถุระเบิดใต้นำ กองพันทหารช่างเวียดนาม ได้ร่วมกันเก็บกู้ระเบิดขนาดใหญ่ลูกหนึ่ง ขึ้นจากแม่น้ำแดง ในบริเวณหัวสะพานลองเบียน (Long Biên Bridge) ที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟูบูรณะในขณะนี้ เชื่อกันว่าเป็นระเบิดที่ทิ้งลงจากเครื่องบิน เมื่อครั้ง "สงครามสหรัฐ" -- การเก็บกู้ดำเนินไปด้วยความปลอดภัย และ ระเบิด "ไอ้อ้วน" ถูกกองทัพนำไปเก็บ เพื่อเข้าสู๋กรรมวิธีจำกัดทิ้งต่อไป

ภาพกับวิดีโอจำนวนมาก เกี่ยวกับเหตุการณ์ในตอนบ่ายวันอังคาร 28 พ.ย.ที่ผ่านมา และ ที่เผยแพร่ในโลกออนไลน์ของชาวเวียดนาม ช่วงข้ามวันมานี้ ได้รับความสนใจจากสังคมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ระเบิดลูกนี้ยังคงทำงานได้ ถึงแม้จะแช่อยูในน้ำมานานกว่า 40 ปีแล้วก็ตาม -- นั่นคือ ประชาชนหลายล้านคน รถราอีกหลายล้านคัน รวมทั้งเรือสินค้าอีกนับจำนวนไม่ถ้วน ที่สัญจรข้ามสะพาน หรือ แล่นผ่านบริเวณสะพานแห่งนี้ ในชีวิตประจำวัน ตกอยู่ในความเสี่ยงมาตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา

ตามข้อมูลจากแหล่งเก็บกู้ ระเบิดลูกใหญ่นี้มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-0.6 เมตร ยาว 2 เมตร ทีมสำรวจตรวจพบ "วัตถุแปลกปลอม" เมื่อวันที่ 22 พ.ย. โดยใช้เครื่องมือ ตรวจจับโลหะใต้น้ำ และ จมอยู่ในโคลนตม ลึกลงไปกว่า 5 เมตร จากผิวน้ำ

การเก็บกู้ใช้เวลาศึกษาเตรียมการอยู่หลายวันตั้งแต่นั้นมา และ บ่ายวันอังคารนี้ ทางการได้ "ปิดแม่น้ำ" ในช่วงสะพานลองเบียน เป็นการชั่วคราว มิให้เรือโยงหรือเรือบรรทุกสินค้า ขนาดใหญ่แล่นผ่าน โดยมีการประกาศล่วงหน้ามา 2-3 วัน

ลองเบียนเป็นสะพานข้ามแม่น้ำแดงแห่งแรกในกรุงฮานอย สำหรับทั้งรถไฟ รถยนต์ กับ ยวดยาน ตลอดจนคนเดินถนนทั่วไป ก่อสร้างระหว่างปี 1899-1902 (2442-2445) โดยใช้แรงงานชาวเวียดนามหลายพันคน และ เปิดใช้ในปี 1903 หรือ พ.ศ.2446 ในยุคอาณานิคมงรั่งเศส ออกแบบโดยบริษัทสถาปัตยกรรม Daydé & Pillé กรุงปารีส ตั้งชื่อว่า สะพานพอล-ดูเมอร์ (Paul-Doumer Bridge) ตามชื่อผู้ว่าราชการ ประจำอินโดจีนในครั้งโน้น

ด้วยความยาว 1.04 กิโลเมตร เป็นสะพานข้ามแม่น้ำยาวที่สุด ร่วมยุคในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่ออีก 2 ครั้ง จนกลายมาเป็นสะพานลองเบียนในวันนี้ ตามชื่อเขตลองเบียน ของกรุงฮานอยจุดที่ตั้ง -- เป็นสะพานสวยงาม และ ได้เป็นแหล่งกำเนิดให้แก่บทกลอนไพเราะ เรื่องสั้น นวนิยาย ในยุคใหม่จำนวนไม่น้อย -- เพราะถูกใช้เป็นแหล่งกระโดดน้ำตาย ของคนที่ผิดหวังในชีวิตกับความรัก จำนวนมาก

บันทึกขององค์การสืบราชการลับซีไอเอสหรัฐ ที่เปิดเผยในยุคหลัง ระบุว่าลองเบียนตกเป็นเป้าหมายของการโจมตีทางอากาศ โยกองทัพสหรัฐหลายครั้ง ในช่วงสงครามเวียดนาม หรือ "สงครามสหรัฐ" ตามที่ฝ่ายเวียดนามเรียก -- เพื่อตัดเส้นทางลำเลียงการช่วยเหลือ จากสหภาพโซเวียต กับมิตรปะเทศอื่นๆ ที่ส่งผ่านเมืองท่าหายฝ่อง ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก่อนลำเลียงเข้ากรุง และ ปลายทางสำคัญอื่นๆ
.





การทิ้งระเบิดหวังทำลายสะพานลองเบียน มีขึ้นหลายครั้ง แต่ครั้งใหญ่ที่สุด เกิดขึ้นในปี 2510 โดยเครื่องบินโจมตีทิ้งระบเบิด F-105 "ฮันเดอร์ชีฟ" (Thunderchief) จำนวน 20 ลำ ทำให้ท่อนกลางของสะพานพังลง แต่บันทึกของซีไอเอก็ยอมรับว่า การโจมตีครั้งใหญ่นั้น ยังไม่สามารถสร้างความเสียหาย ให้แก่สะพานมากมายตามคาดการณ์ และ ไม่อาจหยุดยั้งการขนส่งลำเลียงของ ฝ่ายเวียดนามเหนือได้

สะพานลองเบียนตกเป็นเป้าการโจมตีครั้งใหญ่อีกครั้ง ในปลายปี 2515 ซึ่งครั้งนี้โดยเครื่องบินโจมตีทิ้งระเบิด F4 "แฟนทอม 2" (Phantom 2) กับ เครืองบินทิ้งระเบิดยุทธศาสตร์ บี-52 -- สะพานถูกโจมตีด้วยระเบิด "สมาร์ทบอมบ์" นำวิถีด้วยเลซอร์ -- ภาพ กับภาพยบนต์เกี่ยวกับการป้องกัน-คุ้มกันสะพานลองเบียน ของหน่วยสงครามต่อสู้อากาศยาน ได้กลายเป็นสิ่งปลุกเร้า ให้ชาวเวียดนามหึกเหิม ลุกขึ้นทำสงครามต่อต้านสหรัฐ ในช่วงสุดท้าย

สะพานแห่งนี้ได้รับการฟื้นฟูบูรณะ ให้กลับมาใช้การได้อีกครั้งในช่วงหลังสงครม ด้วยความช่วยเหลือจากรัฐบาลฝรั่งเศส แต่ในปัจจุบัน ก็เหลือเค้าโครงเกิมๆ อยู่เพียงประมาณครึ่งเดียวเท่านั้น

สะพานลองเบียนอันเก่าแก่ มีบทบาทน้อยลงไปเรื่อยๆ เมื่อมีการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำแดงอีกหลายแห่ง ในช่วงปีหลังๆ และ ถูกใช้เป็นสะพานรถไฟเป็นหลัก แต่คนในท้องถิ่นก็ยังต้องใช้สะพานลองเบียน ข้ามแม่น้ำสายสำคัญนี้ ในชีวิตประจำวัน ไม่เปลี่ยนแปลง

นอกจากลองเบียนแล้ว กรุงฮานอยปัจุบันยังมีสะพานข้ามแม่น้ำแดงอีกหลายแห่ง คือ สะพานเจืองเดือง (Chương Dương 2528 ยาว 1,213 ม.) สะพานทังลอง (Thăng Long 2531 กว้าง 12 ม.ยาว 5 กม.) สะพานแทงจี๋ (Thanh Trì 2551 กว้าง 33 ม. ยาว 3,084 ม.) สะพานหวีงทวี (Vĩnh Tuy 2551 กว้าง 38 ม. ยาว 5.83 กม.) กับ แห่งล่าสุดคือ สะพานเญิ๊ตเติน (Nhật Tân กว้าง 33 เมตร สูง 110 ม. ยาวทั้งระเบบ 3,900 ม.) เปิดใช้ 4 ม.ค.2558

ไม่กี่ปีข้างหน้า กรุงฮานอยกำลังจะมีสะพานข้ามแม่น้ำแดง รวมกันทั้งหมด 10 แห่ง เป็นอย่างน้อย เพื่อเพิ่มช่องทางเข้าออกตัวเมือง หลังจากมีการขยายพื้นที่เมืองหลวง ออกไปยังจังหวัดรอบข้าง เมื่อหลายปีก่อน และ ในปัจจุบันปัญหาการจราจรติดขัด กำลังแผ่ลามไปทั่ว.
กำลังโหลดความคิดเห็น