xs
xsm
sm
md
lg

ดูภาพแรกภายในอุโมงค์รถไฟจีน-ลาว ใหญ่โตโอ่อ่า ผ่านมา 1 ปีทุกอย่างคืบหน้าเร็ว

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#00003>นรม.ลาวทองลุน สีสุลิด ขณะรับฟังการบรรยายสรุปโดยผู้เชี่ยวชาญจีน ภายในอุโมงค์รถไฟในเขตเมืองไซ แขวงอุดมไซ 4 พ.ย.2560 การก่อสร้างเพิ่งเริ่มไม่กี่เดือนมานี้ แต่ทุกอย่างดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ทางรถไฟจากชายแดนบ่อเต็น ไปยังนครเวียงจันทน์ ต้องเจาะอุโมงค์กว่า 70 แห่ง รวมเป็นระยะทางเกือบครึ่งหนึ่ง ของเส้นทางตลอดสาย ที่มีความยาวกว่า 400 กม. -- ขอขอบคุณภาพจากสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติลาว.</b>

MGRออนไลน์ --การก่อสร้างทางรถไฟสายเวียงจตันทน์-คุนหมิง คืบหน้าไปเร็วมาก นายกรัฐมนตรีแห่ง สปป.ลาว นายทองลุน สีสุลิด เพิ่งเดินทางไปเยี่ยมชมการก่อสร้าง ที่สถานีใหญ่แห่งหนึ่ง ในเขตเมืองไซ แขวงอุดมไซ ทางตอนเหนือของประเทศเมื่อไม่กี่วันมานี้ ซึ่งทำให้โลกภายนอกมีโอกาสได้เห็น ภายในอุโมงค์รถไฟ ที่กอสร้างโดยบริษัทจีน เป็นครั้งแรก

ช่วงเดือนที่ผ่านมา ดร.ทองลุน เดินทางไปเยี่ยมเยือน และ ติดตามความคืบหน้า การพัฒนาโครงการต่างๆ ในหลายแขวงทั่วประเทศ ทั้งในภคกลาง ภาคใต้และภาคเหนือ และ ไปยังแขวงอุดมไซ ซึ่งทำให้มีโอกาส ได้ติดตามความคืบหน้าการก่อสร้าง ทางรถไฟสายยุทธศาสตร์สำคัญ อย่างใกล้ชิด ถึงแหล่งก่อสร้าง และ ได้พบว่าทุกอย่างดำเนินไปอย่างรวดเร็ว

"ທ່ານນາຍົກລັດຖະມົນຕີ ພ້ອມດ້ວຍຄະນະ ຍັງໄດ້ເດີນທາງໄປຢ້ຽມຊົມ ແລະ ຕິດຕາມຄວາມຄືບໜ້າ ຂອງໂຄງການກໍ່ສ້າງທາງລົດໄຟ ລາວ-ຈີນ ທີ່ຈຸດກໍ່ສ້າງ ສະຖານີລົດໄຟໃຫຍ່ ແລະ ການຈັດສັນປະຊາຊົນເຂດບ້ານຖິ່ນ ເມືອງໄຊ ແລະ ຈຸດເຈາະອຸໂມງ ທີ່ເຂດຫຼັກ 8 ເມືອງໄຊ ເຊິ່ງເປັນສອງຈຸດສຳຄັນ ທີ່ພວມລົງມືກໍ່ສ້າງ" สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติ ลาวรายงานในเว็บไซต์วันจันทร์ 6 พ.ย.ที่ผ่านมา

บริเวณที่ นรม.ลาวไปเยี่ยมชมนั้น เป็นจุดก่อสร้างสถานีใหญ่ ซึ่งเป็นหนึ่งในสองสถานีหลัก ในพื้นที่แขวงนี้ สถานีตั้งอยู่ในเขตเมืองไซ อันเป็นเมืองเอกของแขวง นอกจากนั้นยังไปเยี่ยมชมการเจาะอุโมงค์ ในเขตหลักกิโลเมตรที่ 8 ซึ่งเป็นจุดที่กำลังก่อสร้างอยู่ในขณะนี้ พร้อมทั้งติดตามความคืบหน้า ในการจัดสรร (ค่าชดเชย/ที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน) สำหรับประชาชน ที่ได้รับผลกระทบ ในเขตหมู่บ้านแห่งหนึ่งด้วย สื่อของทางการกล่าว

อุดุมไซเป็นแขวงที่สอง ถัดจากแขวงหลวงน้ำทา ที่มีชายแดนติดกับจีน มีทางรถไฟตัดผ่าน เป็นระยะทาง 126.6 กม. ประกอบด้วยสถานีใหญ่น้อยจำนวน 9 แห่ง
.



<br><FONT color=#00003>ภาพเมื่อเดือน ส.ค.2560 เป็นบริเวณสถานีหลักในเขตเมืองไซ แขวงอุดมไซ ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง.  </b>
.
รถไฟจีน-ลาว มีปลายทางที่นครเวียงจันทน์ รวมความยาว 417 กม. มูลค่าการก่อสร้างราว 5,800 ล้านดอลลาร์ กำหนดความเร็ว ขณะแล่นในเขตที่ตัดผ่านภูเขา 160 กม/ชม และ 200 กม/ชม ในเขตพื้นราบ รวมทั้งออกแบบความเร็ว สำหรับการขนส่งสินค้าไว้ 120 กม/ชม โดยจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 60 เดือน -- นายกรัฐมนตรีลาว ได้ทำพิธีเปิดการก่อสร้างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 25 ธ.ค.2559 ที่เมืองหลวงพระบาง -- นั่นคือเมื่อเกือบ 1 ปีที่แล้ว
      
อย่างที่ทราบกันมาก่อนหน้านี้ -- ทางรถไฟสายยาวประกอบด้วยสะพาน167 แห่ง รวมยาวกว่า 61 กม. คิดเป็น 14.9% ของระยะทาง จะมีการก่อสร้างท่อระบายน้ำ 649 แห่ง ยาว 20 กม. อุโมงค์ 75 แห่ง 197 กม. หรือ 47.7% ในนี้อุโมงค์ยาวที่สุด ยาวประมาณ 12 กม. อยู่ในเขตเมือง (อำเภอ) กาสี แขวงเวียงจันทน์ -- ตลอดเส้นทางประกอบด้วยทั้งหมด 32 สถานี ในนั้น 21 สถานี สำหรับโดยสาร อีก 11 สถานีสำหรับรถไฟสับรางกัน กับ รับสถานีส่งสินค้าอีก 1 แห่งที่ปลายทาง
         
รัฐบาลลาวและจีน ได้ร่วมกันจัดตั้งบริษัทร่วมทุนทางรถไฟลาว-จีน ขึ้นมาดำเนินการก่อสร้างและบริหารจัดการในอนาคต มีการประมูลจัดซื้อจัดจ้าง หาบริษัทรับเหมาก่อสร้าง และ บริษัทที่ปรึกษา มีการเซ็นสัญญากับบริษัทเหมา 6 สัญญา บริษัทที่ปรึกษาอีก 3 สัญญา และ บริษัทที่ปรึกษาบุคคลที่สามอีก 3 สัญญา

ในอนาคต ทางรถไฟจีน-ลาว จะเปิดเชื่อมกับระบบทางรถไฟ ที่จะสร้างขึ้นในดินแดนไทย ซึ่งเชื่อกันว่าจะประกอบกันขึ้นเป็นเส้นทางเชื่อมต่อระบบราง ที่มีบทบาทอย่างสูง ในความร่วมมือทางเศรษฐระหว่างจีนกับกลุ่มอาเซียน โดยมีปลายทางสุดท้ายที่สิงคโปร์.
<br><FONT color=#00003>ภาพเมื่อเดือน ส.ค.2560 ดูจะเป็นอุโมงค์รถไฟ ที่ นรม.ลาวคำคณะไปเยี่ยม ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมานี้.  </b>
ทั้งหมดต่อไปนี้เป็นภาพอุโมงค์รถไฟ ในเขตด่านชายแดนบ่อแตน (บ่อเต็น) แขวงหลวงน้ำทา ถัดจากอุดมไซขึ้นไปทางเหนือ ระหว่างการก่อสร้างในเดือน เม.ย.ปีนี้ หรือ เพียงไม่กี่เดือนหลังจาก นรม.ลาวทองลุน สีสุลิด ทำพิธีเปิดการก่อสร้างอย่างเป็นทางการ -- แต่นั้นมาทุกอย่างดำเนินไปอย่างรวดเร็ว สำหรับทางรถไฟความยาว 714 กม. -- ในนั้นต้องเจาะอุโมงค์ถึง 75 แห่ง รวมเป็นระยะทาง 197 กม. คิดเป็น 47.7% ของทั้งหมด และ ยังต้องสร้างสะพานอีก 167 แห่ง รวมยาว 61 กม. ซึ่งเป็นงานยากที่สุดในการก่อสร้าง.




กำลังโหลดความคิดเห็น