xs
xsm
sm
md
lg

ยูเอ็นตั้งชาวนอร์เวย์ดูแลงานด้านมนุษยธรรมในพม่าท่ามกลางความตึงเครียดกรณีโรฮิงญา

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

ผู้ลี้ภัยโรฮิงญาหอบข้าวของหลบหนีความรุนแรงในรัฐยะไข่ ของพม่า ข้ามแดนไปยังเมืองเทคนาฟ บังกลาเทศ. -- Agence France-Presse/Suzauddin Rubel.

รอยเตอร์ - สหประชาชาติ ตั้งชาวนอร์เวย์ขึ้นเป็นผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำพม่าคนใหม่ชั่วคราวในวันนี้ (31) เพื่อทำหน้าที่ดูแลกิจการด้านมนุษยธรรมในช่วงที่ความตึงเครียดต่อรัฐบาลพม่าขยายตัวขึ้นจากปัญหาการจัดการวิกฤตโรฮิงญา

การแต่งตั้งผู้ประสานงานชั่วคราวนี้คาดว่าเกิดขึ้นหลังจากทางการพม่าขัดขวางการปรับตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดของสหประชาชาติในพม่า

นางอองซานซูจี ได้กล่าวต่อนักการทูตในการพบหารือส่วนตัวว่า เธอรู้สึกผิดหวังต่อสหประชาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชน

คนุต ออสต์บี้ ที่ทำงานกับสหประชาชาติในพื้นที่สำคัญต่างๆ เช่น อัฟกานิสถาน และติมอร์ตะวันออก จะเข้าทำหน้าที่แทนที่ นางเรนาตา ลอค-เดสซาลเลียน ผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำพม่า ที่สิ้นสุดวาระ

ชาวมุสลิมโรฮิงญาราว 600,000 คน ได้หลบหนีไปบังกลาเทศหลังเหตุความรุนแรงทางชาติพันธุ์ปะทุขึ้นในรัฐยะไข่เมื่อปลายเดือน ส.ค.

ผู้ตรวจสอบสิทธิ และผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญา กล่าวว่า กองทัพ และชาวยะไข่บังคับให้ชาวโรฮิงญาต้องทิ้งบ้านเรือนของตัวเอง

ด้านผู้สืบสวนสหประชาชาติที่สัมภาษณ์ชาวโรฮิงญาที่อาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยใกล้เมืองคอกซ์บาซาร์ ระบุว่า พวกเขาได้รวบรวมข้อมูลซึ่งชี้ให้เห็นถึงรูปแบบที่เป็นระบบระเบียบสอดคล้องกันของการสังหาร การทรมาน การข่มขืน และการวางเพลิง

ทีมค้นหาข้อเท็จจริงภายใต้การนำของอดีตอัยการสูงสุดชาวอินโดนีเซีย ระบุว่า ยอดผู้เสียชีวิตจากการปราบปรามของกองทัพพม่าหลังการโจมตีของผู้ก่อการร้ายโรฮิงญาเมื่อวันที่ 25 ส.ค. ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่อาจเป็นตัวเลขที่สูงมาก

ทีมงานของสหประชาชาติที่ตั้งขึ้นโดยคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติในเดือน มี.ค. ได้ยื่นคำร้องรอบใหม่สำหรับการเข้าถึงพื้นที่รัฐยะไข่ และการเจรจาหารือกับรัฐบาลพม่า และทหารเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง

ในช่วงเริ่มต้นของวิกฤต สหประชาชาติระบุว่า การดำเนินการของทหารเป็นการกวาดล้างชาติพันธุ์ ข้อกล่าวหาที่ทางการพม่าปฏิเสธ โดยระบุว่า ทหารเข้าร่วมปฏิบัติการปราบปรามการก่อการร้ายต่อผู้ก่อการร้ายโรฮิงญาที่อยู่เบื้องหลังการโจมตีด่านตำรวจหลายระลอก

และแม้ซูจี ได้ให้คำมั่นว่า ผู้ลี้ภัยสามารถเดินทางกลับประเทศได้ แต่ยังมีชาวโรฮิงญาจำนวนมากเดินทางไปบังกลาเทศต่อเนื่อง.
กำลังโหลดความคิดเห็น