xs
xsm
sm
md
lg

เขมรเจออีก 2 คู่ "ช้อนหอยใหญ่" นกประจำชาติ หายากสุดๆ นักอนุรักษ์เฮตลอด

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#00003>ดูหน้าดูตาใกล้ๆ เพราะหายากจริงๆ สำหรับนกประจำชาติของชาวกัมพูชา ปัจจุบันมีประชากรทั่วโลกต่ำ 500 และ 99% อยู่ในกัมพูชา นักวิทยาศาสตร์-นักวิจัย ทะยอยค้นพบมาเรื่อยๆ ในช่วงกว่า 10 ปีมานี้ แต่จำนวนก็ไม่ได้เพิ่มกว่าเดิมมาก ถูกบรรจุในบัญชีใกล้สูญพันธุ์ยิ่งยวด. -- สำนักข่าวกัมพูชา/WCS. </b>

MGRออนไลน์ -- เจ้าหน้าที่กัมพูชาร่วมกับประชาคมอนุรักษ์สัตว์ป่าโลก (Wildlife Conservation Society) พบนกช้อนหอยใหญ่อีก 2 คู่ ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์แก้วเสมา (Keo Seima) ซึ่งเป็นผืนป่าชุ่มน้ำติดแม่น้ำโขง ใน จ.สะตึงแตร็ง นับเป็นข่าวที่ทำให้บรรดานักอนุรักษ์ธรรมชาติและสภาพแวดล้อม ต่างมีความชื่นชมยินดี เนื่องจากเป็นนกขนาดใหญ่หายากที่สุดในโลก มีประชากรเหลืออยู่ราว 345 ตัวเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในกัมพูชา

กัมพูชาใช้นกใกล้สูญพันธุ์ชนิดนี้ เป็นนกประจำชาติ -- นี่คือ Giant Ibis หรือ Thaumatibis gigantea ปักษีที่มีลักษณะโดดเด่น เนื่องจากมีส่วนหัวที่ล้านโล่งเตียน มีจะงอยปากยาว ปัจจุบันอยู่ในบัญชีรายชื่อ สิ่งมีชีวิตเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ โดยสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) เมื่อปี 2537 โดยมีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง เนื่องจากแหล่งอาศัยมีอยู่อย่างจำกัดในกัมพูชา ลาว และเวียดนามเท่านั้น

WCS กล่าวว่า การพบนกสองคู่ล่าสุด นับเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 10 ปี "เป็นการยืนยันอีกครั้งหนึ่งว่า เขตสวนพันธุ์สัตว์ป่าแก้วเสมา เป็นแหล่งสำคัญและมีชีวิตชีวาอย่างยิ่ง ต่อการอนุรักษ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์ปีก ที่ถูกคุกคามในระดับโลก" WCS กล่าวในคำแถลงฉบับหนึ่ง วันพฤหัสบดี 31 ส.ค.ที่ผ่านมา ทั้งระบุด้วยว่า เป็นการค้นพบที่น่าภาคภูมิใจมาก เป็นการยืนยันอีกครั้งหนึ่งว่านี้ ยังมีนกชนิดนี้อาศัยอยู่ที่นั่น ซึ่งไม่เคยได้พบจริงๆ มาสัก 10 ปีแล้ว

นายโซ้ต วันเดือน (Sot Vandoeun) หัวหน้าทีมติดตามค้นหาและวิจัยของ WCS เป็นผู้พบนกทั้ง 2 คู่นี้ หลังจากติดตามค้นหาเป็นเวลา 15 วัน ในเขตป่าชุมน้ำอันอุดมสมบูรณ์ด้วยอาหารธรรมชาติ และ เหมาะเจาะสำหรับการแพร่และขยายพันธุ์ ทีมยังจะติดตามค้นหานก กับรังของนกต่อไป เนื่องจากช่วงนี้เป็นฤดูผสมพันธุ์ ซึ่งเป็นเวลาเหมาะสมที่สุด และ จะร่วมกับราษฎรในท้องถิ่นปกป้องคุ้มครองหลังการค้นพบ คำแถลงระบุ
.

.
.
WCS กล่าวว่า ราว 99% ของประชากรนกช้อนหอยใหญ่ทั่วโลก อาศัยอยู่ในกัมพูชา ทำให้ประเทศนี้มีความสำคัญที่สุดในโลก ต่อการอนุรักษ์นกหายากชนิดนี้

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแก้วเสมา ยังพบสัตว์ป่ายากอีกหลายชนิด รวมทั้งค่างสามสี (Black-shanked Douc Langur) กับ ชะนีแก้มเหลือง (Southern Yellow-cheeked Crested Gibbon) ชนิดเดียวกับที่พบ ในเขตป่าสงวนแห่งชาติก๊าตเตียน (Cát Tiên) จ.โด่งนาย (Đồng Nai) ภาคใต้เวียดนาม
.
<br><FONT color=#00003>โดยแท้จริงแล้ว WCS เคยเผยแพร่ภาพนี้<a href=<br><FONT color=#00003>https://en.wikipedia.org/wiki/Giant_ibis#/media/File:FrontLines-EGAT_2011_Environment_Photo_Contest_Top_Entry_(5842272875).jpg> ตั้งแต่ปี 2554 </a> เพียงแต่ไม่ได้ระบุวันที่ถ่าย แต่อธิบายว่าสตรีชาวเขมรในภาพ พบนกช้อนหอยใหญ่ หล่นลงจากรังบนต้นไม้ ใกล้หนองน้ำใน จ.พระวิหาร เธอนำไปรักษาให้จนกลับคืนสู่สภาพปรกติ และ เตรียมนำไปปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ. </font>
2
ในเขตป่าสงวนซึ่งอยู่ห่างจากกรุงพนมเปญ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือราว 500 กิโลเมตร ยังพบสัตว์ป่าหายากอีกหลายชนิด ทั้งแมวป่า วัวแดง ช้าง กระทิง กับ นกสวยงามยิ่ง เช่นนกยูงไทย หรือ นกยูงสีเขียว (Green Peafowl) ก็ยิ่งมีความจำเป็นต้องคุ้มครองสัตว์พวกนี้ ให้พ้นจากการลักลอบล่าของพรานป่า และ รักษาแหล่งอาศัยในธรรมในชาติ และ ให้พ้นจากการรุกล้ำโดยมนุษย์

อย่างไรก็ตาม แม้ WCS จะกล่าวว่าเป็นการพบครั้งแรกในรอบกว่า 10 ปี แต่ในเดือน ส.ค.2555 กองทุนคุ้มครองสัตว์ป่าโลก หรือ World Wildlife Fund ได้ประกาศการค้นพบ นกช้อนหอยใหญ่ตัวหนึ่ง ในเขตแก้วเสมาแห่งเดียวกันนี้ หลังพบรังกับไข่ของนกก่อน และ เวลาต่อมา WWF ได้เผยแพร่ภาพนกที่โตเต็มวัย นั่งอยู่บนรัง ที่มีไข่ 2 ฟอง ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในรอบหลายสิบปีเลยทีเดียว

ครั้งนั้น WWF ได้แสดงความห่วงใยต่อการคุกคามจากมนุษย์ ที่ยังคงมีการระบายน้ำ และแผ้วถางเพื่อทำการเกษตร ขณะเดียวกัน ไข่ของนกก็ถูกชาวบ้านเก็บไป
       
“นกช้อนหอยใหญ่ไม่ชอบถูกรบกวน และขี้อายมากๆ พวกมันมักจะใช้ชีวิตอยู่ห่างไกลจากที่อยู่อาศัยของมนุษย์” เจ้าหน้าที่จาก WWF กล่าว

นอกจากนั้นนักวิทยาศาสตร์กับเจ้าหน้าที่ทางการเวียดนาม ยังพบนกช้อนหอยใหญ่ ในเขตป่าสงวนยอกโดน (Yok Đôn) อ.เบือนโดน (Buôn Đôn) จ.ดั๊กลัก (Đắk Lắk) เขตที่ราบสูงตอนกลางของประเทศ เมื่อไม่นานมานี้อีกด้วย
.

<br><FONT color=#00003>ใช้ชีวิตคู่อย่างน่าเอ็นดู ค้นพบอีกแห่งในเขตป่าสงวน จ.ดั๊กลัก เขตที่ราบสูงตอนกลางเวียดนาม กับแขวงจำปาสัก ตอนใต้สุดของลาว แต่จำนวนทั้งหมด ก็ยังต่ำกว่า 500 อยู่ดี. -- สำนักข่าวกัมพูชา/WCS. </b>
3
สำหรับกัมพูชา หลังการพบนกช้อนหอยใหญ่ในปี 2555 เพียงข้ามปี ปลายปี 2556 หน่วยงานของรัฐบาล กับองค์กรอนุรักษ์ธรรมชาติและสัตว์ป่า ได้ร่วมกันประกาศการพบนกช้อนหอยดำ ( White-shouldered Ibis) หรือ [Pseudibis davisoni] ในเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าเสียมปาง (Siem Pang) จ.สะตึงแตร็ง เป็นอีกชนิดหนึ่ง ที่ถูกประกาศเป็นสัตว์ปีกใกล้สูญพันธุ์ยิ่งยวด พื้นที่อาศัย และวางไข่กำลังถูกคุกคามจากการบุกรุก จากการให้สัมปทานผืนดินทางเศรษฐกิจ
       
สำนักข่าวกัมพูชารายงานว่า การประกาศในครั้งนั้น เป็นผลจากการสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ ของนักช้อนหอยดำ จำนวน 59 แหล่งทั่วประเทศ ทำให้นับประชากรนกได้ทั้งหมด 973 ตัว มากกว่าประมาณการเมื่อต้นปีนั้น ที่อยู่ระหว่าง 897-942 ตัว

สำนักข่าวของทางการกล่าวว่า เขตอนุรักษ์สัตว์ป่าเสียมปาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในเขตป่าสงวนแห่งชาติลมพัด (Lom Phat) ที่มีพื้นที่กว้างใญ่จาก จ.รัตนคีรี (Ratanakiri) เป็นแหล่งอาศัยใหญ่ที่สุดของนกช้อนหอยดำ โดยนับจำนวนได้ 451 ตัว คิดเป็นประมาณ 41% ของประชากรนกช้อนหอยดำทั่วโลก

กัมพูชายังมีสภาพป่าที่สมบูรณ์ มีปักษานานาพันธุ์ที่ทะยอยค้นพบหลายปีมานี้ รวมทั้งนกฟินฟุต (Fin Foot) ซึ่ง WCS ประกาศจากสำนักงานใหญ่ ในนครนิวยอร์ก สัปดาห์ปลายเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา ระบุว่านักวิทยาศาสตร์ของสมาคมฯ พร้อมด้วยนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจากกระทรวงสิ่งแวดล้อมกัมพูชา กับราษฎรท้องถิ่นพบนกชนิดนี้่ ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ากุเลนพรหมเทพ (Kulen Promtep Wildlife Sanctuary) จ.พระวิหาร

WCS ยืนยันว่า ที่นั่นเป็นแหล่งขยายพันธุ์เพียงแห่งเดียว ของนกฟินฟูตในกัมพูชา ที่หายากมาก ทั้งยังอยู่ใน "บัญชีแดง" สัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ทั่วโลก เนื่องจากประชากรไม่ถึง 1,000 ตัว และกำลังลดลงเรื่อยๆ จนถึงระดับที่น่าวิตก ทั้งในบังกลาเทศ กัมพูชา อินเดีย อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม.
กำลังโหลดความคิดเห็น