xs
xsm
sm
md
lg

"สไตเออร์" M9A1 ลงตลาดอีกครั้งเขียวมะกอก OD แต่งหล่อปืนดีที่โลกลืม

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#00003>สไตเออร์  M9A1 เขียวเทามะกอกโอดี ไม่ได้มีอะไรใหม่นอกจากการแต่งหล่อ ทุกอย่างยังเป็นสเป็ก ปืน GEN 4 รวมทั้งฟีเจอร์สำคัญที่หายไป คือ ปุ่มห้ามไก กับ ปุ่มปลดซองปืนแบบสองทางซ้ายขวา (Ambidextrous) ศูนย์เล็งยังเป็นสามเหลี่ยมเทรเพซอยด์ สเตลธ์ ช่วยให้จับเป้าหมายได้รวดเร็ว และ มาพร้อมกับแม็กกาซีนบรรจุ 17 นัด เช่นเดียวกับ GEN 4 ในตลาดขณะนี้่ นี่คือ ปืนพกกึ่งออโต้ 9 มม. ที่กองทัพอากาศไทย เลือกเป็นปืนมาตรฐาน ใช้โดยกำลังพลหลายหน่วย รวมทั้งนักบินด้วย.  -- Photo Courtesy of Styer USA. </b>
.
คำเตือน: เยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี โปรดชมภาพและวิดีโอประกอบข่าว รวมทั้งอ่านเนื้อหาสาระต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณ ข่าวนี้ไม่ได้มีจุดประสงค์ สนับสนุนการใช้ความรุนแรง หรือ ด้วยจุดประสงค์เพื่อโฆษณาสินค้าใดๆ แต่นำเสนอเพื่อประโยชน์ด้านข่าวสารและวิชาการ อาวุธปืนเป็นวัตถุที่มีอันตรายถึงชีวิต และ ต้องมีไว้ในครอบครองอย่างถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น ผู้ใช้อาวุธปืนควรผ่านการฝึกอบรม จากบุคคลหรือหน่วยงานของรัฐ ที่เชี่ยวชาญด้านนี้โดยเฉพาะ และต้องปฏิบัติตามกฎแห่งความปลอดภัยพื้นฐานโดยเคร่งครัด ความผิดเกี่ยวกับอาวุธปืน มีโทษจำคุกตั้งแต่ 1-2 ปี จนถึงจำคุกตลอดชีวิต และโทษประหารชีวิต.



MGRออนไลน์ -- ผู้ผลิตปืนค่ายออสเตรีย แนะนำ Styer M9A1 ปืนพกกึ่งอัตโนมัติโครงโพลิเมอร์ ระบบเข็มพุ่ง (Strike-fired) ขนาด 9 มม. กระบอกใหม่ ในตลาดสหรัฐสัปดาห์นี้ โดยแต่งหล่อใหม่หุ้มส่วนล่างของโครงปืน ด้วยสีเทาเขียวมะกอก เป็นการเอาใจตลาดใหญ่ที่นั่น ถึงแม้จะเป็นสีที่บริษัทผู้ผลิตคือ Steyr Mannlicher เคยใช้กับไรเฟิลสำหรับสไนเปอร์ กับไรเฟิลบุลพับยอดนิยมมาก่อน แต่ไม่เคยใช้แต่งปืนพก ซ้ำยังประกาศว่า นี่คือปืนกระบอกใหม่หมดจด

การแต่งใหม่ทำให้ M9 กระบอกนี้ดูสวยล่อใจมากขึ้น รางเลื่อนเหล็กกล้า Mannox Finish สีเทาดำอ่อนๆ อันเป็นเอกลักษณ์ ยังคงอยู่ แต่ส่วนล่างของโครงปืน ลงไปจนถึงด้ามปืน รวมทั้่งกริป ล้วนเป็นสี OD หรือ เขียวเทามะกอก (Olive Drap) อันเป็นสีที่ได้รับความนิยมในฝ่ายทหาร ภาพรวมที่ออกมาก็คือ ข้างบนเป็นสีเทาดำ ล่างลงมาเป็นสี OD ตัดกับสีเทาดำ Mannox ของท้ายแม็กกาซีนรุ่นใหม่ ที่บรรจุกระสุน 9x19 จำนวน 17 นัด

บางสำนักกล่าวว่า M9-A1 OD เป็นปืนฟูลไซ้ส์ (full-size duty pistol) แต่เมื่อดูในรายละเอียดกลับไม่มีคุณสมัติใด ที่เป็นปืนฟูลไซ้ส์ และ ดูจากภาพที่ลงโฆษณา ดูยังไงก็ยังเป็นปืนคอมแพ็กท์ไซ้ส์กระบอกเดิม มิหนำซ้ำยังตัดฟีเจอร์ความปลอดภัยที่สำคัญมาก และใช้ประโยชน์ได้บ่อยครั้งที่สุด แต่กลับไม่ได้รับความนิยมตลาดสหรัฐ ออกไป นั่นก็คือ ปุ่มห้ามไกที่อยู่ เหนือเสาโกร่งไกด้านหน้า

รายละเอียดสำคัญอื่นๆ รวมทั้งลำกล้องก็ยังเป็นขนาดเดิมคือ ยาว 4 นิ้ว ชุดยิง (reciever) ยังเป็นชุดเดิม จุดเชื่อมประสานบนรางเลื่อน ยังมี 4 จุดเท่าเดิม เป็นปืนโครงหลังต่ำโครงเดิม คือ ลดระดับลำกล้องลงใกล้มือผู้ยิงให้มากที่สุด ช่วยลดแรงสะท้อนกลับ ยังมีหางบีเวอร์เทลขนาดเดิม ฯลฯ ช่วยลดแรงสะบัดที่ปลายกระบอก ช่วยให้ควบคุมปืนในมือได้ดีขึ้น จับเป้าหมายได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ในการยิงนัดต่อไป

รอยต่อระหว่างรางเลื่อนเหล็กกล้าทางด้านหน้า ทำช่องให้ห่างกันเอาไว้ มาจากโรงงาน เพื่อช่วยระบายควันที่เกิดจากการยิงได้รวดเร็ว ลดการสะสมเกาะตัวอยู่ภายในโครงปืน แต่ประโยชน์ที่แท้จริง ตามเจตนาจากโรงงาน จะเห็นได้เมื่อต้องใช้ปืน ในสภาพภูมิประเทศที่ไม่เอื้ออำนวย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือโคลนตม กระทั่งในทะเลทราย รอยห่างทำให้ลำเลื่อนทำงานได้ดี ไม่มีติดขัด

ด้ามปืนยังเป็นด้ามของ M9A1 GEN 4 ไม่เปลี่ยนแปลง ด้านหลังเป็นยางนุ่ม ผิวสากกันลื่นได้ดีมาก ด้านหน้าทำเว้าเอาไว้บนสุด สำหรับนิ้วกลาง และล่างลงไปสำหรับนิ้วนาง ซึ่งเป็นสองนิ้วที่ใช้เกาะเกี่ยว เหนี่ยวยึดปืนฟีเจอร์นี้ก็ยังอยู่ แม็กกาซีน 17 นัดที่ยาวขึ้นอีกนิด ทำให้มีพื้นที่เพียงพอวางนิ้วก้อยได้สบายๆ เป็นอันว่าทั้ง 5 นิ้ว มีตำแหน่งที่อยู่อันแน่นอน

ฟีเจอร์นี้ทำให้ด้ามใหม่ใน GEN 4 มาตรฐาน ใข้ดีกว่าด้ามเดิมๆ ใน GEN 3 และ กลายเป็นเอกลักษณ์หนึ่ง ที่สร้างชื่อเสียงให้ M9A1จนได้รับคำชม เป็นปืนพกที่จับกระชับอุ้งมือดีที่สุด สำหรับมือทุกขนาด โดยไม่ต้องเปลี่ยนกริ๊ป
.


.
ที่สำคัญมากๆ พอๆ กับเรื่องอื่นก็คือ M9A1 สีเขียวเทามะกอกกระบอกนี้ ยังติดศูนย์เล็งแบบเทรเปซอยด์ (Trapezoid) ทรงสามเหลี่ยม "สเตลธ์" ตัวเดิม อันเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เคยเปลี่ยน เช่นเดียวกับรางพิคันตินนี ที่หล่อมากับโครงปืนด้านล่างจากโรงงาน สำหรับติดตั้งอุปกรณ์ช่วยเล็ง/ช่วยยิง อันเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับฝ่ายทหาร รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รักษากฎหมาย

ผู้ใช้หลายคนบ่นว่า M9A1 เป็นปืน "ไกหนัก" ซึ่งเป็นเรื่องจริง ข้อมูลจากโรงงานระบุว่า ไกต้องรับแรงกด 5 กก. จึงจะลั่นกระสุนได้ เทียบกับ 2.5 กก. สำหรับไกของ Glock 19 คือ หนัก หรือ "แข็ง" กว่ากันครึ่งต่อครึ่ง ซึ่งเป็นฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยอีกอย่างหนึ่งของปืน แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น ผู้ใช้สามารถนำไปให้ร้านปืน แต่งไกให้อ่อนลงได้ ตามความชอบส่วนตัว

ไกของ M9A1 ตั้งแต่ GEN แรก มาจนถึง GEN 4 ในปัจจุบัน เป็น "ไกเซฟตี้" แบบเดียวกันปืนกล็อก กล่าวคือ เมื่อ "ขึ้นลำ" ไกจะ "รีเซ็ต" ส่งเสียง "กิ๊ก" เบาๆ ให้ผู้ใช้ได้ยิน พร้อมกับชิ้นส่วนด้านหน้าของไก ยื่นออกมา บอกให้ทราบว่าปืนพร้อมยิงได้ แต่จะต้องเหนี่ยวไกไป จนถึงระยะฟรีสั้นๆ ซึ่งเตือนบอกให้ทราบว่า เข้าถึงจุดลั่นไกแล้ว

แต่ผู้ใช้หลายคนบอกว่า ระบบไกเซฟตี้นี้ ไม่ได้เซฟจริงๆ เพราะถึงอย่างไร เมื่อจะยิงก็ต้องเหนี่ยวไกอยู่ดี หรือ จู่ๆ นิ้วก็สอดเข้าไปในโกร่งไกโดยบังเอิญคือ หากไม่ระมัดระวังจริงๆ ปืนก็มีโอกาสลั่นได้ง่ายๆ โดยไม่ทันตั้งตัว

เมื่อก่อนนี้ Steyr Mannlicher เคยทำ "ปุ่มกันเหนี่ยวไก" (ภาพที่ 2) ให้เป็นทางเลือก คือ "มีให้เลือก" โดยติดมาจากโรงงาน ปุ่มนี้ติดตั้งเหนือโกร่งไกด้านหน้า จะทำงานเมื่อไกอยู่ในตำแหน่ง "รีเซ็ต" ไม่ว่าจะมีกระสุนในรังเพลิงหรือไม่ก็ตาม เพียงแต่กดหรือผลักปุ่มห้ามไก ทั้งสองข้างพร้อมกัน ปุ่มก็จะดันชิ้นส่วนที่ผลิตจากไฟเบอร์ชิ้นหนึ่ง ลงมาไปอยู่ภายในโกร่งไกด้านบน (ภาพที่ 3) ทำให้ไม่สามารถเหนี่ยวไกได้ แต่เมื่อจะยิงก็เพียงใช้นิ้วชี้ดัน ชิ้นส่วนนี้เพียงเบาๆ ให้ขึ้นไปฝังอยู่ในโครงปืนเหมือนเดิม

ผู้ใช้ส่วนใหญ่บอกว่า ปุ่มห้ามไกเป็นฟีเจอร์ความปลอดภัยที่ใช้งานได้จริง และ ชื่นชอบกันมาก แต่กลับไม่ได้รับความนิยมในสหรัฐ ที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งเน้นการชักปืนเร็ว ลั่นกระสุนเร็ว ทำให้บริษัทเลิกติดตั้งฟีเจอร์นี้ในปืน GEN 4

มีหนำซ้ำใน GEN 4 ยังเลิกทำปุ่มปลดซองกระสุนแบบ Ambidextrous คือ ปุ่มที่ทำให้สามารรถปลดซองได้ ทั้งขาดกด้านซ้ายและด้านขวามือตามความถนัด แต่แล้วก็ลด เหลือเพียงปุ่มซ้ายเพียงด้านเดียว ส่อเจตนาเพื่อลดต้นทุน
.
<br><FONT color=#00003>ปุ่มเซฟตี้กันเหนี่ยวไก ที่มีประโยชน์มาก แต่ปลดทิ้งไปใน GEN 4 สำหรับตลาดสหรัฐ ซึ่งผู้ใช้ไม่นิยม.   </font>
2
<br><FONT color=#00003>ในขณะที่ไกปืน รีเซ็ต หลังขึ้นลำแล้ว อยู่ในสภาพพร้อมยิง แต่ใช้ฟีเจอร์กันเหนี่ยวไก. </b>
3
แต่ถึงกระนั้น M9A1 ก็ยังมีอีก 3 ฟีเจอร์ ที่ช่วยในด้านความปลอดภัย รวมทั้งระบบกุญแจล็อกห้ามการลั่นไก ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ค่อยใช้กัน เนื่องจากไม่สะดวก กล่าวคือจะต้องหากุญแจไปเปิดให้ได้ก่อน จึงจะยิงได้ แต่ก็มีประโยชน์เหลือหลาย ในยามเก็บปืนไว้นาน ไม่ได้ใช้ ระบบกุญแจช่วยป้องกันมิให้ผู้อื่น "เล่นปืน" หรือ นำปืนไปใช้ได้ (โปรดดูภาพประกอบ)

อีก 2 ฟีเจอร์ที่มีประโยชน์มากก็คือ "ปุ่มเตือน" อีก 2 ปุ่ม เมื่อมีกระสุนอยู่ในรังเพลิง ซึ่งได้แก่ช่องเล็กๆ ที่ทำไว้ด้านหลังช่องคัดปลอกกระสุน เจาะเพื่อทำให้เห็นท้ายกระสุนนัดที่อยู่รังเพลิง กับอีกที่หนึ่ง เป็นเหล็กสี่เหลี่ยมสั้นๆ ทรงแบนแคบๆ ที่ด้านหลัง คือ อยู่ท้ายรางเลื่อน ตรงหางบีเวอร์ ชิ้นส่วนนี้มาพร้อมกับราง จะถูกดันยื่นออกมา เมื่อกระสุนถูกผลักเข้ารังเพลิงทุกครั้ง แม้ในความมืดก็สามารถใช้มือคำตรวจดูได้

ทั้งสองจุดนี้มีประโยชน์ ช่วยให้ผู้ใช้ไม่ต้องดึงรางเลื่อนทุกครั้ง เพื่อตรวจดูรังเพลิง และไม่ต้องปลดแม็กกาซีนก่อนทุกครั้ง เพื่อดำเนินการดังกล่าว แต่แทบจะไม่ต้องใช้เลยก็ว่าได้ ถ้าหากปฏิบัติตามกฎรักษาความปลอดภัยพื้นฐาน คือ "ไม่ขึ้นลำ" หรือ ไม่บรรจุกระสุนในรังเพลิง จนกว่าจะใช้งานจริงๆ

เพราะฉะนั้นข้อแตกต่างเพียงประการเดียว ที่ M9A1 เขียว OD ต่างไปจาก M9A1 GEN 4 มาตรฐาน ก็คือสี เรื่องอื่นๆ ไม่มีเปลี่ยน ยังลงตลาดพร้อมซองบรรจุกระสุน 9 มม.ขนาดบรรจุ 17 นัดรุ่นเดิม ที่ขายคู่กับปืน GEN 4 เป็นซองต่อขยายเพื่อให้บรรจุได้มากขึ้นอีก 2 นัด ทำให้มีขนาดยาวขึ้นอีกนิดหน่อย เลยล้นจากส่วนล่างสุดของด้ามลงไปเล็กน้อย แต่ทำให้ภาพรวมดูงามตา "มีดีไซน์" มากกว่าเดิม

สีเขียว OD ทำให้ "ปืนดีที่โลกลืม" กระบอกนี้ สวยงามล่อตาล่อใจมากขึ้น ไม่ต่างกับ M&P9 ของสมิธแอนด์เวสสัน และ ในกล็อกหลายรุ่น กับอีกบางยี่ห้อ
.

<br><FONT color=#00003>รอยต่อระหว่างรางเลื่อนกับโครงปืน ทำห่างมาจากโรงงาน ช่วยระบายควัน ระบายโคลน และ เม็ดทรายเล็กๆ. </b>
4
<br><FONT color=#00003>เซฟตี้ฟีเจอร์ ที่ยังเหลืออยู่ใน GEN 4 กับ เขียว OD กระบอกล่าสุด ช่องเล็กๆ หลังปล่องปลดปลอกกระสุน เจาะให้มองเห็นส่วนท้ายกระสุนในรังเพลิง อีกตัวแสดงที่ท้ายรางเลื่อน ส่วนปลายหางบีเวอร์ รวมทั้งกุญแจ 2 ง่ามที่ใช้ล็อก ไม่ให้เหนี่ยวไก ป้องกันคนอื่น เล่นปืน. </b>
5
หลายคนเรียก M9A1 ว่าปืนดีที่โลกลืม ซึ่งก็เป็นเช่นนั้นจริง เป็นปืนที่ดี สมรรถนะสูง แต่ไม่ใช่พิมพ์นิยม หลายคนบอกว่า เป็นปืน "คางใหญ่" ดูรวมๆ ขี้เหร่ชัดๆ ไม่เคยมีใครลอกเลียนรูปทรงของปืนกระบอกนี้ หลายคนต่างจิตต่างใจ กลับชื่นชอบในความไม่เหมือนใคร ทั้งหลงรักในคุณสมบัติที่พิเศษต่างๆ ของปืนกระบอกนี้่

ขนาดโดยรวม สั้นกว่า แต่สูงกว่า และ หนักกว่า Glock 19 GEN 4 ที่บรรจุ 15 นัดเท่ากัน คือ ปืนเปล่าหนัก 771 กรัม เทียบกับ 670 กรัมของกล็อก 19 แต่สมรรถนะของสไตเออร์ไม่เป็นสองรองปืนโครงโพลิเมอร์ กระบอกใด ซ้ำยังถึกทน เนื่องจากเป็นปืนพกที่ผลิตใช้ในกองทัพออสเตรีย

นี่คือปืนพกมาตรฐานที่กองทัพอากาศไทยเลือกเมื่อหลายปีก่อน และ ยังใช้มาจนทุกวันนี้ ปัจจุบันก็ยังเป็นปืนพกประจำกายสำหรับนักบิน และ ใช้ในหลายหน่วยงานของทัพฟ้า

สำหรับมหาชนทั่วไป นอกจากสมรรถนะที่ดีเยี่ยมแล้ว มหาเสน่ห์อย่างแรงของ M9A1 คือ ราคาที่เป็นมิตรมากๆ ผู้เป็นเจ้าของในประเทศไทย ที่ซื้อปืนโครงการของหน่วยงานต่างๆ เมื่อ 7-8 ปีก่อน จ่ายเพียง 4 หมื่นบาทต้นๆ วันนี้ราคาในโครงการเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 6 หมื่นบาท และ หนักหนาสาหัสกว่านี้ ตามร้านปืนทั่วไป ทั้งๆ ที่ปืนก็ยังเป็นปืนโครงเดิม กลไกเดิม ไม่มีอะไรเปลี่ยน ราคาเท่านั้นที่เปลี่ยน

ตามข้อมูลในนิตยสารอาวุธปืนสหรัฐ M9A1 สีเทาเขียว OD ที่วางตลาดสัปดาห์นี้ ติดราคา 560 ดอลลาร์ หรือ 19,800 บาท พร้อมแม็กกาซีนบรรจุ 17 นัดจำนวน 2 ซอง แพงขึ้นอีกมากทีเดียว เทียบกับ GEN 4 รุ่นมาตรฐาน ซึ่งราคาเริ่มต้น 529 ดอลลาร์ แฟนๆ ปืนดีที่โลกลืมกระบอกนี้ หรือ ผู้ที่คิดจะมีปืนกระบอกแรก ไว้สำหรับป้องกันชีวิตและทรัพย์สิน ตัวเลขเหล่านี้ ทำให้สามารถคำนวณราคาคร่าวๆ ในตลาดไทยได้ไม่ยาก.
กำลังโหลดความคิดเห็น