xs
xsm
sm
md
lg

WWF เตือนประชากรช้างพม่าลดลงเรื่อยๆ เหตุตกเป็นเป้าล่าถลกหนัง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>คนขายของชาวพม่า (ซ้าย) พยายามขายหนังช้างแห้งและงาช้างที่ร้านขายยาแผนโบราณแห่งหนึ่ง ประชากรช้างป่าในพม่ากำลังลดลงเนื่องจากตกเป็นเป้าของนักล่าเพื่อเอาหนังและงาช้าง เพราะความต้องการชิ้นส่วนอวัยวะสัตว์ป่าชนิดนี้เพิ่มมากขึ้นเพื่อนำไปใช้ในตำรับยาแผนโบราณ. -- Agence France-Presse/Romeo Gacad.</font></b>

เอเอฟพี - มูลนิธิสัตว์ป่าโลก (WWF) เผยช้างป่าของพม่ากำลังถูกล่ามากเป็นประวัติการณ์ ด้วยในปีนี้ มีช้างอย่างน้อย 20 ตัว ถูกฆ่าตายเพราะหนังของพวกมันเป็นที่ต้องการมากขึ้น และเตือนว่าสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์นี้กำลังเผชิญภาวะวิกฤต

นักล่าสัตว์กำลังเล็งเป้ามาที่บรรดาแม่ช้างลูกช้างมากขึ้น และใช้ลูกดอกอาบยาพิษฆ่าพวกมันให้ตายอย่างช้าๆ และเจ็บปวดก่อนจะถลกหนัง กลุ่มนักอนุรักษ์สัตว์ป่าระบุ และในปีนี้ พบซากช้างถูกถลกหนังแล้วอย่างน้อย 20 ตัว ใน 2 พื้นที่ที่เฝ้าสังเกตสัตว์ป่า ซึ่งมากกว่าที่ถูกฆ่าตามปกติตลอดทั้งปี

โรหิต ซิงห์ ผู้เชี่ยวชาญการบังคับใช้กฎหมายสัตว์ป่าโลก กล่าวว่า การล่าช้างในเขตเทือกเขาพะโค และที่ราบปากแม่น้ำอิรวดี ที่ต่างอยู่ในภาคใต้ของประเทศ มาถึงจุดวิกฤตแล้ว

“หากแนวโน้มยังคงเป็นอย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆ คุณจะเสียประชากรช้างป่าในพื้นที่เหล่านั้นในอีก 1-2 ปีข้างหน้า” โรหิต ซิงห์ กล่าว

หนังช้างกลายเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์จากสัตว์ล่าสุดที่ถูกกล่าวอ้างโดยคนบางส่วนว่า มีสรรพคุณทางยา แม้จะไม่มีข้อสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์รองรับถึงคำกล่าวอ้างเหล่านั้น

WWF ประเมินว่า ในป่าของพม่ามีช้างราว 1,400-2,000 ตัว ที่คาดว่ามากเป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากไทย แต่จำนวนของพวกมันลดลงเรื่อยๆ เมื่อพม่ากลายเป็นศูนย์กลางสำคัญในการลอบค้าสัตว์ป่าโลกที่มีมูลค่า 20,000 ล้านต่อปี

รัฐบาลพม่าระบุในเดือน ม.ค. ว่า การล่าช้างเพิ่มขึ้น 10 เท่า ในช่วงหลายปีมานี้ ซึ่งถูกขับเคลื่อนจากความต้องการที่เพิ่มสูงทั้งหนัง และอวัยวะส่วนต่างๆ ที่นำใช้ในยาแผนโบราณ

นักข่าวที่เดินทางไปเยือนตลาดสัตว์ป่าแห่งหนึ่งที่ซ่อนตัวอยู่หลังสถานที่แสวงบุญที่มีชื่อเสียงของพม่าเมื่อต้นปี พบว่า มีการจำหน่ายชิ้นส่วนหนังสัตว์ในราคาไม่กี่ดอลลาร์ต่อ 1 ตารางนิ้ว

ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ผลิตภัณฑ์จากช้างส่วนใหญ่มีปลายทางที่ประเทศจีนที่ชื่นชอบผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่าหายาก การค้าส่วนมากดำเนินการผ่านพื้นที่ไร้กฎหมายทางตะวันออกของประเทศที่ควบคุมโดยเครือข่ายอาชญากรที่ซับซ้อนที่คาดว่าจะเป็นกลุ่มติดอาวุธที่ได้ทุนจากผู้มีอิทธิพลในจีน

“มันเป็นการก่ออาชญากรรม เรากำลังรับมือต่อแก๊งอาชญากรที่มีการจัดตั้ง” ซิงห์ กล่าว และว่า WWF กำลังทำงานร่วมกับชุมชนท้องถิ่น และรัฐบาลในความพยายามจะปราบปรามการล่าสัตว์ป่าเหล่านี้.
กำลังโหลดความคิดเห็น