xs
xsm
sm
md
lg

เปลี่ยนปืนอีกแล้ว.. ทัพบกสหรัฐหาไรเฟิลกระบอกใหม่ใช้กระสุน 7.62 มม.ยิงทะลุเสื้อเกราะทุกชนิด

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#00003>นาวิกโยธินสหรัฐสองนาย ออกปฏิบัติการร่วมกับทหารอัฟกันและทหารฝ่ายพันธมิตร 14 ส.ค.2552 เข้าตรวจค้นบ้านเป้าหมายหลังหนึ่ง ใน จ.เฮลมานด์ จับกองโจรตอลิบานได้ถึง 8 คน นาวิกโยธินทั้งคู่ใช้ไรเฟิล M4A1 SOPMOD Block II ซึ่งติดอุปกรณ์ช่วยรบมากมาย.. ปืนไม่ได้บกพร่องอะไร แต่หน่วยที่ใช้ทราบกันดีว่า กระสุน 5.56x45 ไม่สามารถยิงทะลุเสื้อเกราะรุ่นใหม่ ของฝ่ายตรงข้ามได้ และ เรื่องนี้กำลังจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ไม่เพียงแต่ในสหรัฐ หากยังกระทบไปทั่วโลก. -- Dvidshub.Net/Files Photo. </b>
.
เยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี ควรอ่านเนื้่อหาและชมภาพนิ่งกับวิดีโอ ที่ใช้ประกอบข่าวอย่างใคร่ครวญ และ ใช้วิจารณญาน ทั้งหมดถูกนำมาแสดงในพื้นที่นี้ เพื่อประโยชน์ทางด้านข้อมูลข่าวสาร และ เพื่อการศึกษา มิใช่ด้วยจุดประสงค์ส่งเสริมการใช้ความรุนแรง แต่อย่างใดทั้งสิ้น.


MGRออนไลน์ -- กองทัพบกสหรัฐกำลังจะเปลี่ยนขนาดกระสุน สำหรับปืนเล็กยาวกึ่งอัตโนมัติ อาวุธประจำกายของทหารทุกคน หลังจากพบว่ากระสุน 5.56x45 ที่ใช้กับ M4A1/2 "คาร์บิน" ซึ่งเป็นไรเฟิลมาตรฐานในปัจจุบัน ไม่สามารถยิงทะลุเสื้อเกราะรุ่นใหม่ๆ ของฝ่ายตรงข้ามได้ จำเป็นจะต้องใช้กระสุนที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ยิงได้ไกลขึ้น และ เจาทะลุทะลวงได้อย่างไม่มีข้อยกเว้น โดยจะเป็นกระสุน 7.62x51 รุ่นหนึ่ง ที่กองทัพบกกำลังทดสอบอยู่ในขณะนี้

เรื่องที่ดูง่ายๆ นี้ ได้รับการยืนยันจาก พล.อ.มาร์ค มิลลีย์ (Mark Milley) ผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งเข้าตอบคำถาม คณะกรรมาธิการบริการด้านกลาโหม วุฒิสภาพสหรัฐ ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ในขณะที่อุตสาหกรรมกลาโหมทั้งวงการ มองว่านี่ไม่ใช่เรื่องเล็ก แต่อาจหมายถึงการเปลี่ยนปืนยาวประจำกายใหม่ สำหรับทหารทั้งกองทัพ

พล.อ.มิลลีย์ ก็เช่นเดียวกันกับนายทหารนอกราชการ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญโดยตรง อีกจำนวนหนึ่ง ที่บอกคณะกรรมาธิการฯ วุฒิสภา ชุดเดียวกันนี้ว่า กระสุน 5.56 มม.ที่ใช้กับไรเฟิล M4 ซึ่งผ่านสงครามมาหลายสมรภูมิ ในช่วงกว่า 20 ปีมานี้ ไม่สามารถเจาะทะลุเสื้อเกราะกันกระสุนรุ่นใหม่ๆ ได้ กองทัพบกเองก็มีเสื้อเกราะดังกล่าว ก็จึงตระหนักในเรื่องนี้เป็นอย่างดี และ จากการสำรวจความเห็นของหน่วยรบ ที่ใช้ M4 ทั้ง A1 และ A2 ก็ได้พบข้อมูลมากยิ่งขึ้น และ เต็มไปด้วยเสียงร้องเรียน

"สำหรับกระสุนขนาด 5.56 มม. พวกเราตระหนักดีว่า มันมีเสื้อเกราะอยู่จำพวกหนึ่ง ที่มันไม่สามารถเจาะทะลวงได้ เราเองก็มีใช้เหมือนกัน" เสนาธิการทหารบกสหรัฐตอบคำถามของคณะกรรมาธิการฯ วุฒิสภาเกี่ยวกับเรื่องวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา หรือ ตอนเช้าวันศุกร์ตามเวลาในประเทศไทย

พูดให้เป็นรหัสในระบบของกองทัพสหรัฐก็คือ กระสุน 5.56 มม. ผลิตออกมาตามโครงการที่เรียกว่า M855A1 หรือ Enhanced Performance Round (กระสุนเสริมสมรรถนะ..ประมาณนี้) ส่วนเสื้อเกราะที่คงกระพันนั้น ผลิตในโครงการที่เรียกว่า เรียกว่า Enhanced Small Arms Protective Insert หรือ ESAPI (แผ่นเกราะเสริมสมรรถนะปกป้องอาวุธขนาดเล็ก) -- คงไม่มีใครคิดมาก่อนว่า ทั้งคู่ในค่ายเดียวกัน จะกลายมาเป็นมวยคู่เปรียบเทียบในวันนี้

พล.อ.มิลลีย์บอกคณะกรรมาธิการฯ ว่า ศูนย์ปฏิบัติการแห่งหนึ่งในค่ายเบนนิง (Fort Benning) มลรัฐจอร์เจีย ได้พัฒนากระสุน 7.62x51 รุ่นใหม่ขึ้นมา เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่ง "ทำให้เราได้ทราบว่า มีกระสุนที่สามารถเจาะทะลวงเสื้อกราะใหม่ๆ พวกนั้นได้"

ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า การพัฒนากระสุน 7.62 มม. "ชนิดใหม่" จะหมายถึงการเปลี่ยนไรเฟิล เป็นกระบอกใหม่หรือไม่ หรือจะนำไปใช้กับ M4A1/A2 ที่เป็นไรเฟิลมาตรฐานในขณะนี้ได้อย่างไร เนื่องจากเป็นปืนที่ผลิตออกมา เพื่อใช้กับกระสุน 5.56 มม.โดยเฉพาะ และ เสนาธิการกองทัพบกสหรัฐ ก็กล่าวแต่เพียงว่า "อาจจะต้องเปลี่ยน (ปืน) หรือ บางทีอาจจะไม่ต้องเปลี่ยนก็ได้"
.





.
ปัญหากระสุนปืนเจาะเสื้อเกราะไม่ทะลุนี้ หลุดออกมาให้สาธารณชนได้ทราบ เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 เดือนนี้ เมื่อคณะกรรมาธิการชุดเดียวกันของวุฒิสภา เชิญนายทหารนอกราชการยศพลโทกับพลตรี รวม 2 นายไปให้ความเห็น เกี่ยวกับโครงการการจัดหาอาวุธขนาดเล็กของกองทัพบก ตามรอยนาวิกโยธิน ที่ค่อยๆ จัดหาไรเฟิลรุ่นใหม่มาเงียบๆ ก่อนหน้านี้

สำหรับกองทัพบกเอง ก็เคยมีข่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้กระเส็นกระสาย ออกมาก่อนหน้านี้อยู่บ้างเหมือนกัน

อย่างไรก็ตาม เมื่อข่าวเล่าลือได้กลายเป็นเรื่องจริง และ ออกจากปากบุคคลที่ถือได้ว่า เป็นแหล่งข่าวเชื่อถือได้มากที่สุด ช่วงข้ามวันมานี้ ก็จึงมีการวิพากษ์วิจารย์อย่างกว้างขวาง ในเว็บไซต์ข่าวกลาโหมต่างๆ ทั้งในสหรัฐเองและในยุโรป เนื่องจากกระสุนทั้งสองขนาด คือ 5.56x45 กับ 7.62x51 ต่างก็เป็นกระสุนมาตรฐานของกลุ่มนาโต้

โดยหลักการนั้น กระสุน 7.62 ชนิดใหม่ของกองทัพบกสหรัฐ ย่อมจะใช้ได้กับชุดยิงของไรเฟิลรุ่นต่างๆ ทั่วทั้งนาโต้ ที่ใช้กระสุนขนาดเดียวกัน แต่ก็ยังไม่ทราบรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆ ที่อาจต้องทำให้มีการดัดแปลงเพิ่มเติม ปืนที่จะนำกระสุนไปใช้

ผู้ที่เป็นเจ้าของปืนไรเฟิลโดยทั่วไป ย่อมทราบดีว่าการเปลี่ยนขนาดกระสุน เท่ากับเปลี่ยนปืนกระบอกใหม่ เพราะเมื่อกระสุนขนาดใหญ่ขึ้น ก็หมายถึง "ชุดยิง" หรือ Receiver ใหม่ ขนาดรังเพลิง (Firing Chamber) ใหม่ และ ขนาดของลำกล้อง (Barrel) ที่ยาวขึ้น รวมทั้งจำนวนเกลียว (Rifle) ภายใน ที่จะต้องทำใหม่ เพื่อให้ได้ตามจุดประสงค์ของกระสุนที่ใช้ด้วย

ยังไม่ได้นับรวมถึงการเปลี่ยนขนาดซองบรรจุกระสุน หรือ แม็กกาซีน ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ต้องผลิตออกมานับแสนๆ ชิ้น หรือ ชุด
.
<br><FONT color=#00003>เป็นไรเฟิลประสิทธิภาพสูง ผ่านการศึกมาโชกชนตลอดกว่า 20 ปีมานี้ ใช้กันในเกือบทุกหน่วยรบ ของกองทัพสหรัฐ แต่ในวันนี้่สถานการณ์เปลี่ยนไป อาจจะหมดยุคสำหรับกระสุน 5.56x45 เพราะไม่สามารถเจาะทะลุเสื้อเกราะ รุ่นใหม่ๆ ได้.  </b>
2
<br><FONT color=#00003>เจ้าหน้าที่ควบคุมเพลิง เรเชล ฮับลีย์ (Rachel Hubley) ฝึกยิง M4 คาร์บีน/คาร์บิน บนเรือลาดตระเวณ USS Vella Gulf (CG 72) ขณะแล่นในมหาสมุทรแอตแลนติก 25 ก.ค.2551 เป็นไรเฟิลมาตรฐาน ที่ใช้ง่าย แม่นยำ และ ใครๆ ก็ยิงได้. -- US Navy Photo/MCS Seaman Chad R Erdmann. </b>
3
<br><FONT color=#00003>ภาพนี้แสดงให้เห็นอุปกรณ์ช่วยรบ สำหรับปฏิบัติการพิเศษ หรือ SOPMOD (Special Operations Peculiar Modification) Block I -- โปรดดูเปรียบเทียบกับ M4 ในภาพแรก ที่ติดตั้ง SOPMOD Block II. </b>
4
<br><FONT color=#00003>M4A1/A2 มีลูกเล่นมากมายอยู่แล้ว ในภาพนี้เป็นชุดโมดูลาร์มาตรฐาน ติดตั้งอุปกรณ์หลายชนิด รวมทั้งเครื่องยิงลูกระเบิด M203 (โปรดดูการใช้งานคลิป..)  กล้องช่วยเล็ง ระบบอุปกรณ์เลเซอร์ และ ไน้ท์วิชั่นออพติก ที่ทำให้มองเห็นเป้าหมายในเวลากลางคืน และ อื่นๆ. </b>
5
<br><FONT color=#00003>บนสุดเป็น M16/A1 ถัดลงมา M16/A2, M4A1 และ M16/A3 ตามลำดับ การก่อเกิดของไรเฟิลลำกล้องสั้น  M4 คาร์บีน ไม่ได้ทำให้สายการผลิต M16 ต้องหยุดลง โคลท์ยังพัฒนา ปืนเล็กยาวกึ่งอัตโนมัติ ต่อมา และ ยังใช้กันในกองทัพ ปัจจุบันไปจนถึง M16/A4 ซึ่งประสิทธิภาพสูงส่ง เป็นคนละเรื่องกับ M16 เมื่อครั้งสงครามเวียดนาม. </b>
6
<br><FONT color=#00003>แผนภูมิแสดงอาณาบริเวณที่ใช้ไรเฟิลครอบครัว M16/M4 ซึ่งมีจำนวนเกือบ 60 ประเทศ รวมทั้งทุกประเทศอาเซียน ซึ่งแม้จะไม่รวมกองทัพพม่าเข้าไปด้วย แต่ก็เป็นที่ทราบกันดีว่ามีอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบรรดา กองกำลังอาวุธของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ส่วนในเวียดนาม ลาว และ กัมพูชา เป็นมรดกตกทอดจากสงคราม และ อาจจะมีจำนวนมาก ทีใช้การไม่ได้แล้ว.  </b>
7
ต่างไปจากปืนตระกูลเอเค (Automat Kalashnikov) คู่ปรับแห่งโซเวียต/รัสเซีย ที่ผลิตออกมาหลายเวอร์ชั่น ใช้แชสซีเดียวกัน ติดตั้งชุดยิงสำหรับกระสุนได้ 3-4 ขนาด ตามความต้องการของผู้ใช้ ส่วนไรเฟิลตระกูล M16/M4 ของโคลท์แห่งสหรัฐ ผลิตเพื่อใช้กับกระสุน 5.56 มม. เพียงแคลิเบอร์เดียว การเปลี่ยนขนาดกระสุน อาจหมายถึงจะต้องเปลี่ยนขนาดของแชสซี หรือ เปลี่ยนปืนทั้งเฟรมก็เป็นได้

การเปลี่ยนแปลงเพื่อให้กระสุนมีอำนาจมากขึ้น ยิงได้ไกลขึ้นนั้น มิได้หมายความว่า กระสุนปืนจะทำได้ โดยลำพังตัวของมันเอง ด้วยแรงขับดันที่มีอยู่ ยังต้องมีองค์ประกอบอื่นหนุนเนื่องด้วย กระสุนจะไปได้ไกลแค่ไหน มีแรงปะทะบั้นปลายหนักหน่วงขึ้น หรือ มีอำนาจทะลุทะลวงสูงแค่ไหน มีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นสัดส่วน กับความเร็วต้นที่ปากกระบอก หรือ Muzzle Velocity รวมทั้งขนาดและความยาวของลำกล้อง ที่จะต้องสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวกัน กับจำนวนรอบเกลียว ที่ช่วยส่งจากภายในด้วย

ปัจจุบัน ตัวเลข MV ของ MA/A1/A2 ที่ยิงด้วยกระสุน M855A1 อยู่ที่ 2,970 ฟุต หรือ 910 เมตรต่อวินาที นับเป็นความเร็วต้นที่สูงมาก หากเทียบกับ AK-47 มาตรฐาน ยิงกระสุน 6.72x39 ทำความเร็วต้นได้เพียง 715 เมตรต่อวินาที ทั้งยังมีลำกล้องยาวกว่า M4 คือ 415 ต่อ 370 มม. แต่ "อาก้า" มีระยะยิงหวังผลสั้นกว่า M4 มาก คือ เพียง 350 เมตร เทียบกับ 500 เมตร ถึงกระนั้นกระสุน 5.56x45 ก็ยังไม่พอกับความต้องการของกองทัพบก

ยังไม่ทราบรายละเอียดในขณะนี้ว่า M4 ที่จะใช้กระสุน 7.62x51 รุ่นใหม่ ยังจะเรียกเป็น "คาร์บีน" (Carbine/คาไบน์) หรือ ปืนไรเฟิลลำกล้องสั้นต่อไปได้หรือไม่ เพราะขนาดของกลไกทุกอย่างจะเปลี่ยนไปทั้งหมด รวมทั้งเปลี่ยนขนาดของ "แชสซี" จนถึงขนาดซองบรรจุกระสุน หรือ แม็กกาซีน ด้วย

ยังไม่ทราบอีกเช่นกันว่า การทดสอบที่ฟอร์ตเบนนิ่งของกองทัพบกสหรัฐ เป็นการทดสอบกระสุนรุ่นใหม่เพียงอย่างเดียว หรือ ทดสอบอุปกรณ์อื่นๆ รวมทั้ง M4 ที่ใช้แชสซีใหม่ด้วย
.

<br><FONT color=#00003>นาวิกโยธินเริ่มหันไปใช้ไรเฟิล  M27 ของ HK ตั้งแต่ปี 2555 แม้จะยิงกระสุน 5.56x45 เท่ากัน แต่ระยะยิงหวังผลไกลกว่า M4 แม้ต้องแลกด้วยลำกล้องที่ยาวขึ้นก็ตาม แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น M27 ก็ไม่ต่างกัน คือ ไม่สามารถยิงทะลุเสื้อเกราะรุ่นใหม่ๆ ได้.  </b>
8
เมื่อครั้งสงครามเวียดนาม สหรัฐมีประสบการณ์มากมาย สำหรับไรเฟิล M16 ที่ผลิตโดยบริษัทโคลท์ และ ในยคหลังจากนั้นก็ทราบดีว่า การเปลี่ยน M16 ให้ลำกล้องสั้นลง มันมีปัญหามากมายเช่นกัน จนกระทั่งสงครามผ่านไปกว่า 20 ปี จึงประสบความสำเร็จ และ กลายมาเป็น M4 "คาร์บีน" สั้นกว่า แต่แม่นยำกว่า ยิงทีละนัดได้ ยิงชุด 3 นัดก็ได้ และ ยิงรัวได้ คือมีความสามารถมากกว่า M16/A1 อย่างเทียบกันไม่ได้ ทั้งยังสามารถติดตั้งอุปกรณ์ต่อพ่วงมาตรฐานได้ทุกชนิด จนเรียกว่าดีที่สุดในวันนี้

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น สายการผลิต M16 ก็ยังอยู่ และ ไม่ได้ด้อยคุณภาพลงแต่อย่างไร ปัจจุบัน "ปืนเล็กยาวกึ่งอัตโนมัติ" รุ่นนี้ ยังคงใช้งานในหลายหน่วยรบ โดยพัฒนาเคียงคู่กันมาจนมาถึง M16A4 ในปัจจุบัน เป็นเวอร์ชั่นที่มีลูกเล่นลูกชนมากขึ้น ใช้เป็นปืนสไนเปอร์ระยะยิงปานกลางก็ได้ น้ำหนักเบาและยังคงความคล่องตัว ไม่ต่างกันกับในยุคสงครามเวียดนาม แต่ประสิทธิภาพต่างกันแบบคนละยุค

การเปลี่ยนกระสุนที่มีขนาดใหญ่ขึ้น และ มีอานุภาพรุนแรงมากกว่า สำหรับ M4 ทำให้ผู้เชี่ยวชาญด้านอาวุธปืนมองว่า กองทัพบกสหรัฐกำลังพยายามเปลี่ยนไรเฟิลประจำกายของทหาร ให้เป็นปืนที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยหาทางดัดแปลง หรือพัฒนา M4A1/A2 ที่มีอยู่ เพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับวุฒิสภา เกี่ยวกับงบประมาณ หลังจากการเปลี่ยนปืนพกมาตรฐาน 150,000 กระบอกที่ผ่านมา ถูกวิจารณ์อย่างหนักว่า.. ยังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนอะไร แต่ถลุงงบไป 350 ล้านดอลลาร์ในล็อตแรก

ยังไม่ต้องพูดถึงเหล่านาวิกโยธิน กับหน่วยอากาศโยธิน หรือ หน่วยรบพื้นราบของกองทัพอากาศ รวมทั้งหน่วยปฏิบัติการพิเศษอื่นๆ ทีใช้ M4 ทั้ง A1/A2 ร่วมกันในขณะนี้ ซึ่งเมื่อนับรวมทั้งหมด ก็คงจะต้องเป็น "ไรเฟิ้ลใหม่" จำนวน 4-5 แสนกระบอก ไม่ต่างกันกับการจัดหา "ปืนพกที่สับเปลี่ยนได้" (Modular Handgun) ที่ผ่านมา และ ได้ P320 ของซิกซาวเออร์ ที่เปลี่ยนชุดยิง ให้ยิงกระสุนได้หลายขนาด

"ปืนใหม่" ของเหล่ารบพื้นราบสหรัฐ เป็นเรื่องได้ยินกันมานานมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหล่านาวิกโยธิน ซึ่งเป็นหัวหอกในการบุกทะลวงเกือบจะทุกแนวรบ สงครามในอัฟกานิสถาน ทำให้ทุกคนตระหนักถึงความจำเป็น ที่จะต้องมีไรเฟิล ที่สามารถยิงได้ไกลขึ้น ชนิดยิงข้ามหุบเขาได้ ใกล้เคียง หรือแทบจะไม่ต่างจากปืนสไนเปอร์ ซึ่งจะทำได้เช่นนี้ก็จะต้องใช้กระสุนแรงสูงกว่าเดิม ในขณะที่ยังคงความคล่องตัวของ "คาร์บีน" ไว้

แต่นาวิกโยธินยังไม่พบปืนและกระสุนที่ต้องการ แต่บางหน่วยได้ทิ้ง M4 หันไปใช้ไรเฟิล HK M27 ซึ่งเป็นอีกเวอร์ชั่นหนึ่งของ HK416 ไรเฟิลสำหรับทหารราบ โดย Heckler & Koch แห่งเยอรมนี ซึ่งแม้ว่าจะใช้กระสุน 5.56x45 เดียวกัน แต่ได้ระยะยิงหวังผลไกลกว่า M4 อีกเล็กน้อย คือ 545 เมตร แม้ต้องแลกกับลำล้องที่ยาวกว่า
.


.

ปัจจุบันทั้งกองทัพบกและนาวิกโยธิน ใช้กระสุน 7.62x51 ในปืนหลายรุ่น ในชื่อเรียกแตกต่างกันไป บางหน่วยรบใช้กันทั้งหน่วย แทน M4 มาตรฐาน นอกจากนั้นกระสุน 7.62x51 ยังใช้กันมานานในไรเฟิลของพลแม่นปืน หรือ สไนเปอร์ รวมทั้งในปืนกลบางรุ่นด้วย

แต่การเปลี่ยนกระสุนมาตรฐาน ที่ใช้กับไรเฟิลของทหารทั้งกองทัพนั้น ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ อย่างที่เสนาธิการกองทัพบกกล่าวถึงอย่างแน่นอน และ ไม่เพียงแต่ จะเป็นการจัดหาภายในที่ใหญ่โต หากยังจะส่งผลกระทบไปทั่วโลก ทั้งโดยตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ในกองทัพนาโต้ 25 ประเทศในยุโรป รวมทั้งแคนาดา กับตุรกี ที่อยู่นอกยุโรป

และวันหนึ่งข้างหน้า เรื่องเดียวกันนี้ก็อาจจะกลายเป็นความจำเป็น สำหรับกองทัพประเทศอื่นๆ ในทั่วทุกทวีป ที่ใช้ปืน-กระสุนมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งรวมทั้งกองทัพไทย และ อาเซียนทั้งมวลด้วย

กองทัพบกไทยมี M16/A1 รุ่นเก่าเก๋ากึ๊กอยู่นับแสนๆ กระบอก สะสมมาตั้งแต่ยุคสงครามเวียดนาม ยังไม่นับรวมอีกจำนวนหนึ่งที่นาวิกโยธินใช้ และ ทั้งหมดอยู่ระหว่างดำเนินการจัดหาปืนรุ่นใหม่เข้าแทนที่ ซึ่งรวมทั้ง TAR-21 "ทาวอร์" (Tavor) ไรเฟิล "บุลพับ" ที่มีชื่อเสียงของอิสราเอล ที่ใช้อยู่ในขณะนี้ กองทัพไทยยังมีทั้ง M16/A2 และ บางหน่วยรบยังใช้ M4/A1 "คาร์บีน" อีกด้วย

คำถามเดียวกันที่ผุดขึ้นมาในตอนนี้ก็คือ กองทัพของประเทศต่างๆ ที่ใช้ไรเฟิลตระกูล M16/M4 ของโคลท์อยู่ในขณะนี้ จะดำเนินการอย่างไร เมื่อทราบว่า วันหนึ่งข้างหน้าอาวุธประจำกายที่ทหารใช้ทั้งกองทัพ จะไม่มีประโยชน์อีกต่อไป?
กำลังโหลดความคิดเห็น