xs
xsm
sm
md
lg

“ซูจี” เปิดประชุมปางโหลงครั้งที่ 2 คุยกลุ่มชาติพันธุ์ฟื้นกระบวนการสันติภาพหลังสะดุดหลายเดือน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ผู้นำพม่าร่วมถ่ายภาพหมู่กับผู้แทนคณะต่างๆ ที่เข้าร่วมการประชุมในพิธีเปิดการประชุมปางโหลงแห่งศตวรรษที่ 21 ในกรุงเนปีดอ วันที่ 24 พ.ค. -- Reuters/Soe Zeya Tun.</font></b>

เอเอฟพี - การหารือสันติภาพของพม่ากำลังดำเนินขึ้นอีกครั้งในวันนี้ (24) โดยที่นางอองซานซูจี ได้กล่าวป้องความพยายามที่ติดขัดของรัฐบาลในการยุติการต่อสู้หลายสิบปีระหว่างทหาร และกลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์

ห้องประชุมในกรุงเนปีดอ เต็มไปด้วยสีสันหลากหลายจากเครื่องแต่งกายพื้นเมืองของบรรดาคณะผู้แทนกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ทหาร

พม่าเต็มไปด้วยบาดแผลจากสงครามกลางเมืองด้วยกลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่มยังจับอาวุธต่อสู้กับทหารเพื่อเรียกร้องการปกครองตนเอง

ซูจี พยายามที่จะไม่สนใจต่อเสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่ระบุว่า นโยบายสันติภาพซึ่งเป็นนโยบายเรือธงของพรรคคืบหน้าไปเพียงเล็กน้อย หลังพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) เข้าบริหารประเทศมาเป็นเวลากว่า 1 ปี

“ความพยายามร่วมกันของเราได้เริ่มผลิดอกออกผล ตอนนี้เราได้มาถึงขั้นตอนที่เราสามารถหารือถึงหลักการของสหพันธรัฐขั้นพื้นฐานที่มีความสำคัญสำหรับประเทศของเรา และประชาชนของเรา” ซูจี กล่าวในที่ประชุม

ความคาดหวังที่สูงลิ่วว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอย่างเสรีครั้งแรกของพม่าจะยุติความขัดแย้งที่เกิดขึ้นต่อเนื่องซึ่งคร่าประชาชนไปหลายพันชีวิต และทำให้ประเทศตกอยู่ในภาวะยากจน

แต่กลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่มกล่าวว่า ซูจี ไม่รับฟังความกังวลของพวกเขา และกำลังทำงานใกล้ชิดเกินไปกับทหาร ที่ปกครองประเทศด้วยอำนาจเผด็จการมานานเกือบครึ่งศตวรรษ

การรวมตัวกันในสัปดาห์นี้เป็นการเจรจาสันติภาพรอบที่สองนับตั้งแต่รัฐบาลพลเรือนของซูจีก้าวเข้าบริหารประเทศ

คาดว่าไม่มีกลุ่มติดอาวุธกลุ่มใดจะลงนามในข้อตกลงหยุดยิงแห่งชาติ ที่ซูจีกำลังผลักดันระหว่างการประชุมคราวนี้ แต่วาระการประชุมจะครอบคลุมถึงการกำหนดรูปแบบของสหภาพสหพันธรัฐ และคาดว่าจะรวมถึงการเจรจาครั้งแรกเกี่ยวกับว่ารัฐต่างๆ นั้นจะสามารถร่างรัฐธรรมนูญของตนเองได้หรือไม่

ความรุนแรงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของพม่าดำเนินมาจนถึงจุดที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่ทศวรรษ 1980 ที่ประชาชนหลายหมื่นคนต้องอพยพหลบหนีการสู้รบอย่างหนักระหว่างกองทัพและกลุ่มติดอาวุธที่ยาวนานหลายเดือน และหลายคนได้ข้ามแดนเข้าไปในฝั่งจีน ซึ่งในครั้งนี้ได้ส่งคณะเข้าร่วมการหารือด้วย

“เราหวังว่าจะสามารถจัดการหารือทางการเมือง และพูดคุยโดยตรงเกี่ยวกับการยุติการสู้รบและการรุนรานของทหารพม่า” นายทหารจากกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติตะอาง กล่าว

การสู้รบได้ทำลายความไว้เนื้อเชื่อใจของเหล่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งชนกลุ่มน้อยที่เคยมีต่อซูจีในการเลือกตั้งปี 2558 และพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ประสบต่อความพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งซ่อมเมื่อไม่นานนี้

นอกจากนั้น ความรุนแรงที่เกิดขึ้นยังเสริมความแข็งแกร่งให้แก่กองทัพสหรัฐว้า (UWSA) ที่เป็นกลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์กลุ่มใหญ่ที่สุดของพม่า และเป็นหนึ่งในผู้ค้ายาเสพติดรายใหญ่ของโลก

กองทัพสหรัฐว้าที่มีกองกำลังทหารกว่า 25,000 นาย กลุ่มนี้ ได้รวบรวมกลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์ที่ยังสู้รบกับทหารของรัฐบาลรวมตัวเป็นกลุ่มเจรจากลุ่มใหม่ ที่ยังคงปฏิเสธที่จะลงนามในข้อตกลงหยุดยิงที่รัฐบาลสนับสนุน โดยผู้แทนจากทั้ง 7 กลุ่ม ยังรวมถึงกองทัพกะฉิ่นอิสระ (KIA) กองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติพม่า (MNDAA) และกองทัพอาระกัน (AA)

“เราหวังให้มีความเท่าเทียมเสมอภาค และความพยายามเป็นพิเศษที่จะยุติการสู้รบ” โฆษกจากกองทัพสหรัฐว้า กล่าว

แต่ผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพพม่า พล.อ.อาวุโส มิน ออง หล่าย ได้กล่าวเตือนในที่ประชุมว่า กลุ่มชาติพันธุ์บางกลุ่มไปไกลเกินกว่าระบบสหพันธรัฐ ด้วยกำลังแสวงหาการปกครองตนเองมากเกินไป.
.

.

.
กำลังโหลดความคิดเห็น