xs
xsm
sm
md
lg

สหรัฐเร่งทดสอบระบบ Trophy ติด M1A2 "เอบรามส์" รับมือ ATGM รัสเซีย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#00003>M1A1 เอบรามส์ ของกองพลที่ 3 (3rd Army Division) แล่นเข้าขบวน ระหว่างสงคราม พายุทะเลทราย (Operation Desert Storm) เดือน ก.พ.2534 มี แบร็ดลี่ย์ คันหนึ่งแล่นอยู่ใกล้ๆ ขบวนรถบรรทุกขนส่งสนับสนุน เป็นแถวยาวอยู่ไกลออกไป ยุคนั้นไม่มีเอบรามส์ถูกฝ่ายศัตรูทำลายแม้แต่คันเดียว แต่ในยุคใหม่ตั้งแต่กลางปี 2557  เป็นต้นมา อิรักสูญเสีย M1A1 ไปนับร้อยคัน ในสงครามต่อต้านกลุ่มก่อการร้ายรัฐอิสลาม นอกจากนั้นสงครามในซีเรีย ยังแสดงให้เห็นจุดอ่อนของรถถังหลักหลายรุ่น ที่ไม่ได้ติดระบบป้องกัน APS ทั้งของตะวันตกและของรัสเซีย.-- US Navy Photo/PHC D W Holmes II.

MGRออนไลน์ -- หน่วยงานรับผิดชอบของกองทัพบกสหรัฐ กำลังเร่งทดสอบ และ ประเมินค่า ระบบป้องกันแบบอัตโนมัติ Active Protective System แบบ "โทรฟี" (Trophy) เพื่อติดตั้งบนรถถัง M1A2 Abrams อันเป็นส่วนหนึ่งในแผนการระยะสั้น-ระยะยาว ในการพัฒนาระบบป้องกันยานหุ้มเกราะ เพื่อรับมืออาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง ที่ใช้กันแพร่หลายในโลกยุคใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่รัสเซีย ได้พัฒนายานเกราะของตน รวมทั้งทั้งระบบป้องกัน และ ระบบโจมตีอย่างไม่หยุดยั้ง

มีรายงานเกี่ยวกับพัฒนาการล่าสุดนี้ ในเว็บไซต์ข่าวกลาโหมสหรัฐ โดยอ้างการเปิดเผยของแหล่งข่าวที่ทราบเรื่องดี ซึ่งโดยปรกติมักจะหมายถึงเจ้าหน้าที่กองทัพบกสหรัฐ ที่ไม่ต้องการเปิดเผยตัวตน และ อยู่ในตำแหน่งที่สามารถให้ข้อมูลข่าวสารได้ รวมทั้งอาจได้รับอนุญาตให้เผยแพร่ข่าวได้อีกด้วย

แหล่งข่าวอีกแหล่งหนึ่งกล่าวว่า การเริ่มติดตั้งระบบ APS ที่ผลิตโดยบริษัทราฟาเอล (Rafael Advanced Defense) อาจมีขึ้นได้ปลายปีนี้ ซึ่งจะเป็นการสิ้นสุดการพึ่งพา แต่เฉพาะระบบหุ้มเหราะ ที่ผลิตจากแผ่นโลหะยูเรเนียมที่เสื่อมสภาพแล้ว ที่ให้ความแข็งแกร่งเป็นเลิศ และ ใช้มานานกว่า 2 ทศวรรษ กับระบบเกราะระเบิดปฏิกิริยา ERA (Explosive Reactive Amor) ทั่วไป และ ในปัจจุบันสภาพการณ์ได้เปลี่ยนไป

กองทัพบกสหรัฐมีแผนการที่จะติดระบบ APS ที่ผลิตในอิสราเอล ทั้งบนรถถังหลักที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน และ บนรถหุ้มเกราะชนิดอื่นๆ อีกด้วย

ในขณะกำลังเร่งพัฒนาระบบป้องกัน ที่สามารถสับเปลี่ยนได้ (Modular APS) ที่ก้าวหน้าของสหรัฐเอง กองทัพบกสหรัฐจะต้องรีบดำเนินการติดตั้งระบบโทรฟีเพื่อใช้งานก่อน หลังจากลังเลที่จะทำสิ่งนี้ มาเป็นเวลาหลายปี

ถึงแม้ว่าในช่วงสงครามอ่าว M1A2 จะยังไม่เคยเผชิญหน้ากับ ATGM ของฝ่ายใดมาก่อน แต่สงครามกลางเมืองในซีเรีย แสดงให้เห็นจุดอ่อนของรถถังหลักหลายต่อหลายรุ่น ทั้งของโลกตะวันตก และ ของรัสเซียเอง และ ยังแสดงให้เห็นประสิทธิภาพของอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง โบราณๆ บางรุ่นสามารถทำลายรถถังกับยานเกราะ ที่ไม่มีระบบป้องกันแบบ "แอ็คทีฟ" ได้โดยง่าย จึงทำให้รถถังหลักของสหรัฐ มีความเสี่ยงสูง

ในขณะเดียวกันก็มีตัวอย่างให้เห็น เช่น รถถัง T-55 ของกองทัพบกซีเรีย ที่ตกยุคตกสมัยหลายคัน เมื่อมีการนำเอาระบบป้องกัน APS ที่ประกอบเองขึ้นติดตั้ง ก็สามารถช่วยให้รอดพ้นจากการถูกโจมตีด้วยระเบิดอาร์พีจี รุ่นใหม่ๆ ได้
.




.
แหล่งข่าวยังเปิดเผยอีกว่า นอกจากระบบโทรฟีแล้ว คณะกรรมการชุดหนึ่ง ยังทดสอบระบบป้องกันอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่ง รวมทั้งระบบ "ไอออนฟิสต์" (Iron Fist/กำปั้นเล็ก) กับระบบ "ไอออนเคอร์เทน" (Iron Curtain/ม่านเหล็ก) ผลิตในอิสราเอลเช่นเดียวกัน แต่โทรฟี เป็นเพียงระบบเดียว ที่ผ่านการใช้งานให้เป็นที่ประจักษ์ในขณะนี้ อิสราเอลติดบนรถถังหลักมาเคอร์วา กับยานเกราะอีกหลายชนิด ที่ประจำในคาบสมุทรไซนาย และ สามารถป้องกันให้รอดพ้นจากการทำลายของ ATGM ได้จริง

วิดีโอคลิปหลายชิ้นแสดงให้เห็น รถถังเมอร์คาวาของอิสราเอล ที่ติดตั้งระบบโทรฟี สามารถป้องกันตนเอง จากการถูกโจมตีด้วยอาร์พีจี-7 อาร์พีจี-9 อาร์พีจี-29 แม้กระทั่งจรวดคอร์เน็ต (Kornet) ที่ผลิตในรัสเซีย

สหรัฐไม่มีนโยบายจะผลิตรถถังรุ่นใหม่ในระยะ 10-20 ปีข้างหน้า แต่มุ่งพัฒนายกระดับ "เอบรามส์" ให้ทันสมัย เพื่อใช้งานต่อไป

เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า สหรัฐกำลังอยู่ในกระบวนการ การผลิตเอบรามส์รุ่นใหม่ออกมา คือ M1A3 ซึ่งจะมีขนาดเล็กลง น้ำหนักน้อยลง มีความคล่องตัวสูง และ จะไม่มีระบบเกราะยูเรเนียมอีกต่อไป หากจะติดตั้งระบบโมดูลาร์เอพีเอส กับระบบป้องกันทางอิเล็กทรอนิกส์ชนิดอื่นอีกจำนวนหนึ่ง ที่พัฒนาโดยกลุ่มบริษัทอาวุธในสหรัฐเอง

การออกแบบ มีขึ้นระหว่างปี 2515-2522 คือ ช่วงปลายสงครามเวียดนาม จนถึงหลังสงคราม เริ่มผลิตในปี 2523 โดยตั้งชื่อ ตามชื่อ พล.อ.ไครตัน เอบรามส์ (Creighton Abrams) อดีตเสนาธิการกองทัพบก อดีตผู้บัญชาการกองทัพสหรัฐในเวียดนาม ระหว่างปี 2511-2515 และ ผลิตต่อเนื่องหลายรุ่นมาตั้งแต่นั้น
.
<br><FONT color=#00003>M1A2 SEP เอบรามส์คันนี้ เป็นรุ่นหลังๆ ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันพลปืน ที่โผล่ขึ้นไปประจำปืนกลบนป้อมปืน ซึ่งระบบ Mounted Soldier System ที่เห็นอยู่นี้ ช่วยชีวิตทหารได้จริง ช่วยเพิ่มการอยู่รอดของรถ และ ปฏิบัติการได้คล่องตัวยิ่งขึ้น แต่ถ้าหากเจออาวุธหนักๆ ก็รอดยากอยู่ดี ตราบเท่าที่ยังไม่มีระบบป้องกันแบบอัตโนมัติ. -- Flickr/Program Executive Office Soldier.
<br><FONT color=#00003>M1A1 B-23 คันนี้เป็นเพียงคันเดียว ที่ถูกลำลายในสงครามอ่าว โดยถูกพวกเดียวกันยิงแบบ เฟรนด์ลี่ย์ ไฟร์ เพราะเข้าใจผิด เมื่อวันที่ 26 ก.พ.2534 โดนเข้าไป 2 หมัด หมัดแรกเป็นกระสุนเจาะเกราะแบบ Shaped Charge โดนเข้าตะแกรงด้านหลัง อีกหมัดถูกยิงเข้าท้าย จากซ้ายไปขวา ด้วยกระสุนธรรมดา รูโหว่ยังปรากฏให้เห็น แต่ในยุคใหม่มี M1A1 โดนยิงเสียหาย กระทั่งถูกทำลายไปนับร้อยคัน. -- US Department of Defense. </b>
2
M1 เข้าประจำการตั้งแต่ปี 2523 แทนที่ M60 "แพ็ตตั้น" (Patton) เพื่อให้เป็นมือพิฆาตรถถัง T-72 อันน่าสะพรึงลัวของสหภาพโซเวียตในยุคโน้น M1A1 กับ M1A2 เป็นรุ่นที่พัฒนามาติดเกราะ Depleted Uranium หนาและหนัก กับระบบป้องกันอื่นๆ ติดปืนใหญ่กับระบบควบคุมการยิงใหม่ และ ระบบเซ็นเซอร์ต่างๆ ที่ทันสมัยยิ่งขึ้น และ น้ำหนักก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

M1A2 รุ่นปัจจุบันหนักเกือบ 62 ตัน เป็นรถถังหลักขนาดใหญ่ที่สุดอีกรุ่นหนึ่งของโลก ราคาหน้าโรงงานเมื่อปี 2558 คันละ 8.92 ล้านดอลลาร์

จนถึงปี 2559 มีการผลิตเอบรามส์รุ่นต่างๆ รวมกันจำนวนกว่า 10,000 คัน ประเทศที่ใช้งานยังรวมทั้งอียิปต์ คูเวต ซาอุดิอาระเบีย ออสเตรเลีย และ อิรัก

เอบรามส์เป็นรถถังที่ผ่านสงครามมาโชกโชนกว่า ยิ่งรถถังยุคที่ 3 ด้วยกันทุกคันในโลก ตั้งแต่สงครามอ่าวเปอร์เซียยุคแรก สงครามอิรัก มาจนถึงสงครามอัฟนากิสถาน ซึ่งในทุกสมรภูมิไม่เคยมีเอบรามส์ ถูกข้าศึกยิงทำลายแม้แต่คันเดียว มีเพียง 1 คัน ที่ถูกพวกเดียวกันยิงในสงครามอิรัก ด้วยความเข้าใจผิด

แต่เอบรามส์ของกองทัพบกอิรักนับร้อยคัน ถูกยึด ถูกทำลายหรือถูกยิงเสียหาย ด้วยอาวุธชนิดต่างๆ จากสงครามกับกลุ่มก่อการร้ายรัฐอิสลามหรือ ไอซิส ในอิรัก ตั้งแต่ช่วงกลางปี 2557 เป็นต้นมา

ไม่กี่ปีมานี้มีวิดีโอคลิปเผยแพร่ผ่านยูทิวบ์หลายชิ้น แสดงให้เห็น M1 ของซาอุดิอาระเบียที่ส่งเข้าปฏิบัติการ ในประเทศเยเมน ถูกกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ฮูตี ยิงเสียหายไปหลายคัน ด้วยอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังรุ่นเก่าๆ ที่ผลิตจากรัสเซีย บางรุ่นใช้งานมานาน 30 ปีก็มี.
กำลังโหลดความคิดเห็น