xs
xsm
sm
md
lg

ยูนิเซฟเตือนเด็กพม่าในพื้นที่สู้รบกว่า 2.2 ล้านคน เสี่ยงถูกทิ้งไว้ข้างหลังไร้อนาคต

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>เด็กชนกลุ่มน้อยยืนมองตำรวจตระเวนชายแดนพม่าเดินตรวจตราความปลอดภัยในเมืองแห่งหนึ่งของรัฐยะไข่ หลังเกิดเหตุผู้ก่อความไม่สงบชาวมุสลิมโจมตีด่านชายแดนในเดือนต.ค. 2559 ยูนิเซฟระบุว่าเด็กที่อาศัยอยู่ในพื้นที่สู้รบและห่างไกลของประเทศ เสี่ยงที่จะถูกทิ้งไว้ข้างหลังไม่ได้รับการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม. -- Agence France-Presse/Stringer.</font></b>

รอยเตอร์ - สหประชาชาติ เตือนว่า เด็กพม่ากว่า 2.2 ล้านคน ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่สู้รบและห่างไกลของประเทศ อาจถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ในขณะที่ประเทศพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว หลังตกอยู่ภายใต้การปกครองของทหารหลายสิบปี

กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ หรือยูนิเซฟ (UNICEF) เรียกร้องการเข้าถึงความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเพื่อรับประกันว่าบรรดาเด็กๆ ในประเทศจะมีอนาคตที่สดใส

รัฐบาลกึ่งพลเรือนเข้าปกครองประเทศแทนรัฐบาลทหารในปี 2554 หลังอยู่ภายใต้การปกครองเผด็จการนานเกือบครึ่งศตวรรษ รัฐบาลได้เร่งปฏิรูป และเปิดรับการลงทุนจากต่างชาติในประเทศที่เป็นหนึ่งในชาติที่ยากจนที่สุดของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แม้รัฐบาลจะดำเนินมาตรการทางเศรษฐกิจและสังคมต่างๆ ตั้งแต่นั้นที่ได้ช่วยพัฒนาปรับปรุงสุขภาพ การศึกษา และการคุ้มครองเด็ก แต่ยูนิเซฟ กล่าวว่า เด็กในพื้นที่ห่างไกลของประเทศยังคงไม่ได้รับประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้

“พม่าเผชิญต่อความท้าทายที่แท้จริงในการรับประกันว่าเด็กในทุกพื้นที่ไม่เพียงแต่ชุมชนเมืองจะได้รับประโยชน์จากการพัฒนาที่รวดเร็ว” จัสติน ฟอร์ซิธ รองผู้อำนวยการบริหารยูนิเซฟ กล่าว

“มีความเสี่ยงที่เด็กจำนวนมาก และครอบครัวของพวกเขาจะถูกกันออกไป นี่เป็นกรณีพิเศษของเด็กยากจนที่อาศัยในพื้นที่ห่างไกล หรือติดอยู่ในสถานการณ์ความตึงเครียดและการสู้รบ” ฟอร์ซิธ กล่าว

ยูนิเซฟ เรียกร้องให้รัฐบาลจัดหาการเข้าถึงสิทธิมนุษยชนที่ดีขึ้น ไม่เพียงแค่เด็กในรัฐยะไข่ แต่ยังรวมถึงเด็กในพื้นที่สู้รบอื่นๆ เช่น รัฐกะฉิ่น รัฐชาน และรัฐกะเหรี่ยง

ประชาชนมากกว่า 1 ล้านคน จากชนกลุ่มน้อยโรฮิงญาอาศัยอยู่ในสภาพที่เหมือนถูกแบ่งแยกในรัฐยะไข่ และชาวโรฮิงญาประมาณ 75,000 คน ได้ข้ามแดนเข้าไปในบังกลาเทศเพื่อหนีความรุนแรงที่เกิดขึ้นหลังปฏิบัติการของทหารเพื่อปราบปรามเหตุโจมตีเมื่อปลายปีก่อน

ด้านรัฐมนตรีกระทรวงสวัสดิการสังคม บรรเทาทุกข์ และการตั้งถิ่นฐานใหม่ ไม่ได้ตอบรับคำขอความคิดเห็นในเรื่องนี้

ยูนิเซฟ ยอมรับถึงความก้าวหน้าของประเทศในการปกป้องคุ้มครองเด็ก รวมทั้งการระดมทุนเพิ่มขึ้นสำหรับโครงการฉีดวัคซีนคุ้มกันโรค และการร่างกฎหมายที่เป็นหนึ่งในหลายๆ วิธีการที่จะยุติความรุนแรงต่อเด็ก และคาดว่าจะยื่นเสนอต่อรัฐสภาในปลายปีนี้

แต่เมื่ออ้างถึงสถิติจากการสำรวจสำมะโนประชากรปี 2557 ของพม่า พบว่า เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบ เสียชีวิตมากถึง 150 คนในแต่ละวัน โดยส่วนใหญ่มีสาเหตุจากภาวะแทรกซ้อน และการติดเชื้อในเด็กแรกเกิด เด็กเกือบ 30% ประสบกับภาวะขาดสารอาหารในระดับปานกลาง หรือรุนแรง และมากกว่าครึ่งมีชีวิตอยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจน

ยูนิเซฟ ระบุว่า การประชุมสันติภาพครั้งที่ 2 ของรัฐบาลกับกลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์ที่กำลังจะมีขึ้นในสัปดาห์นี้ เป็นโอกาสที่รัฐบาลจะมุ่งมั่นปกป้องคุ้มครองเด็กให้ดียิ่งขึ้น ด้วยเด็กนั้นมีสัดส่วนถึง 1 ใน 3 ของประชากรพม่า 53 ล้านคน.
กำลังโหลดความคิดเห็น