xs
xsm
sm
md
lg

สหภาพยุโรปร้องพม่าเปิดทางความช่วยเหลือเข้าถึงพื้นที่ทางเหนือรัฐยะไข่

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ตำรวจพม่ายืนรักษาความปลอดภัยอยู่ริมถนนสายหนึ่งของเมืองบูติด่อง ก่อนที่ทูตพิเศษสหประชาชาติจะเดินทางเยือนพื้นที่ทางเหนือของรัฐยะไข่ เมื่อวันที่ 13 ม.ค. ด้านสหภาพยุโรปได้เรียกร้องให้พม่าอนุญาตให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเข้าถึงพื้นที่ทางตอนเหนือของรัฐยะไข่ได้อย่างเต็มที่ โดยระบุว่ายังมีผู้คนอีกเป็นจำนวนมากที่ไร้ที่อยู่และต้องการความช่วยเหลือหลังเกิดเหตุการปราบปรามของทหาร. -- Agence France-Presse/Khine Htoo Mrat.</font></b>

เอเอฟพี - เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหภาพยุโรป ได้เรียกร้องให้พม่าอนุญาตให้ความช่วยเหลือเข้าถึงพื้นที่ทางเหนือของรัฐยะไข่ได้อย่างเต็มที่ พื้นที่ที่มีประชาชนหลายพันคนหลบหนีออกจากบ้านเรือนของตนเอง หลังเกิดการปราบปรามทางทหารต่อชาวมุสลิมโรฮิงญาเป็นเวลานานหลายเดือน

พื้นที่ตามแนวชายแดนทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอยู่ภายใต้การปิดล้อมนับตั้งแต่เดือน ต.ค. เมื่อทหารเริ่มดำเนินการตามล่าผู้ก่อความไม่สงบชาวโรฮิงญาที่ก่อเหตุโจมตีด่านชายแดนตำรวจ

ประชาชนราว 100,000 คน จากชนกลุ่มน้อยมุสลิมต้องไร้ที่อยู่จากเหตุความรุนแรงที่เกิดขึ้น และส่วนใหญ่หลบหนีไปฝั่งบังกลาเทศ และเปิดเผยเรื่องราวเกี่ยวกับการข่มขืน ทรมาน และสังหารหมู่ โดยกองกำลังทหารเหล่านั้น

แต่ทางการพม่าได้ปฏิเสธคำกล่าวอ้างของสหประชาชาติที่กล่าวหาว่า กองกำลังของประเทศอาจก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ และปฏิเสธที่จะให้ผู้สังเกตการณ์ระหว่างประเทศเข้าไปในพื้นที่ ขณะที่ นางอองซานซูจี ผู้นำพม่าโดยพฤตินัย ก็กล่าวปฏิเสธคณะทำงานของสหประชาชาติที่จะเข้าสืบสวนเหตุความรุนแรง หลังการพบหารือกับนักการทูตของสหภาพยุโรปในเดือนนี้

คริสโตส์ สไตเลียนีเดส คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปเพื่อความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม กล่าวว่า เขาได้ผลักดันการเข้าถึงด้านมนุษยธรรมอย่างไร้ข้อจำกัดระหว่างเยือนพม่าเป็นเวลา 3 วัน ที่รวมทั้งการเยือนรัฐยะไข่

“ปัญหาจำนวนมากยังคงอยู่เพื่อให้เราได้เห็นถึงสิ่งที่เราต้องการ นั่นคือ การเข้าถึงทางมนุษยธรรม ผมยกประเด็นปัญหานี้ขึ้นในการหารือ ไม่เพียงกับรัฐมนตรีเท่านั้น แต่กับคณะกรรมการเมืองหม่องดอด้วย” คริสโตส์ สไตเลียนีเดส กล่าว

สหภาพยุโรปได้ให้คำมั่นที่จะมอบความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาแก่พม่าราว 800 ล้านยูโร ในช่วงระหว่างปี 2557-2560 ทำให้พม่าเป็นผู้รับความช่วยเหลือมากเป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคเอเชีย รองจากอัฟกานิสถาน

สไตเลียนีเดส เป็นเจ้าหน้าที่ต่างประเทศระดับสูงที่เยือนพื้นที่ทางเหนือของรัฐยะไข่ นับตั้งแต่ ยางฮี ลี ทูตพิเศษสหประชาชาติ และโคฟี อันนัน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้นำคณะกรรมการการทำงานเพื่อเยียวยาความแตกแยกฝังลึกระหว่างชาวพุทธและชาวมุสลิมในรัฐยะไข่

ชาวโรฮิงญามากกว่า 1 ล้านคน ที่อาศัยในรัฐทางชายฝั่งตะวันตกของประเทศ ได้รับการปฏิบัติในฐานะผู้รุกล้ำจากบังกลาเทศ และถูกปฏิเสธสิทธิความเป็นพลเมือง การศึกษา และการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน รวมทั้งการจำกัดความเคลื่อนไหว

สไตเลียนีเดส กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ต่างชาติบางส่วนได้รับอนุญาตให้เข้าถึงพื้นที่ทางเหนือของรัฐยะไข่ แต่จำเป็นต้องเข้าถึงมากขึ้นเพื่อช่วยประชาชนกว่า 16,000 คน ที่ยังคงไร้ที่อยู่ก่อนเข้าสู่ฤดูมรสุม.
กำลังโหลดความคิดเห็น