MGRออนไลน์ -- กองทัพบกไทยได้ส่งรถถัง T-84 โอปล็อต-เอ็ม (Oplot-M) เข้าร่วมการฝึกกองทัพเรือประจำปี 2560 สีปดาห์นี้ ซึ่งได้เผยให้เห็นรถถังหลักรุ่นใหม่ล่าสุดของไทย ปฏิบัติการในสภาพการณ์คล้ายสถานการณ์จริง สาธารณชนอาจเคยเห็น กองทัพสาธิตรถถังที่ผลิตในยูเครนมาหลายครั้ง รวมทั้งเคยออกฝึกซ้อมร่วมคอบร้าโกลด์ 2017 เดือน ก.พ.ที่ผ่านมา แต่ครั้งนี้เป็นการฝึกยิงด้วยกระสุนจริง ร่วมกับอีก 2 เหล่าทัพ
ภาพการฝึกที่จัดขึ้นสัปดาห์นี้ นอกจากโอปล็อต-M ยังมีรถเกราะลำเลียงพล (APC) BTR-3E1 ล้อยาง 8x8 ของนาวิกโยธิน อีกหลายคัน ในนั้นบางคันแสดงการยิงอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง (Anti-Tank Guided Missile - ATGM) ที่ไม่ทราบรุ่น ซึ่งเป็นภาพที่หาดูได้ยาก และ เป็นขีดความสามารถที่หลายคนยังไม่ทราบว่า รถ BTR-3E1 ของนาวิกโยธินไทยทำได้
รถ APC จากยูเครน ที่กำลังกล่าวถึงนี้ ยังเป็นหนึ่งในไม่กี่คัน ที่มีขีดความสามารถนี้ จากจำนวนเกือบ 100 คันที่จัดหา ในล็อตแรกเมื่อผี 2552
ภาพที่เผยแพร่โดยกองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ ยังแสดงให้เห็นรถลำเลียงพลแบบ HMMWV หรือ "ฮัมวี่" ของนาวิกโยธิน อย่างน้อย 1 คัน ดัดแปลงติดตั้ง ATGM แบบ BGM-71 "TOW-2" ที่ผลิตในสหรัฐ แบบเดียวกับของกองทัพบกสหรัฐใช้ และ ยังมีรถโจมตียกพลขึ้นบก AAVC ของนาวิกโยธินอีกหลายคัน ปฏิบัติการโจมตีเป้าหมายร่วมกัน มีเครื่องบินเอฟ-16 ทิ้งระเบิด มีเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงอีกหลายลำ ของราชนาวี ร่วมปฏิบัติการ
ทั้งหมดนี้ทำให้เกิดภาพรวมให้เห็น ฉากหนึ่งของปฏิบัติการผสมผสานกำลังระหว่าง 3 เหล่าทัพ ซึ่งถ้าหากเกิดเหตุการณ์สู้รบขึ้นจริง ในอาณาบริเวณดังกล่าว ภาพเหตุการณ์จริงก็คงจะไม่ต่างกันมาก และ ถ้าหากลบภาพฉษกหลัง ที่เป็นป่ากับภูเขาใน จ.จันทบุรี ออกไป เป็นผืนทรายอันแห้งแล้งแทน ก็จะได้ภาพสงครามย่อยๆ ในทะเลทรายออกมาให้เห็น ไม่ต่างจากการสู้รบในซีเรีย อิรัก และ อัฟกานิสถานในปัจจุบัน
ทั้งหมดนี้เป็นฉากที่เห็น จากการฝึก "ดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริง" (CALFEX) ของสามเหล่าทัพ โดยกองพลนาวิกโยธิน หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินเป็นกำลังหลัก มีกำลังสนับสนุนของกองทัพบก กับกองทัพอากาศ ในการปฏิบัติการร่วมเหล่า ที่จัดขึ้นระหว่าง 6-10 พ.ค. ที่สนามฝึกกองทัพเรือ บ้านจันทเขลม อ.เขาคิชกุฏ จ.จันทบุรี
เป็นที่ทราบกันดีว่า ไทยเป็นลูกค้ารายแรกของ T-84 Oplot-M แบบเดียวกับที่ผลิตเพื่อใช้ในกองทัพบกยูเครน ผลิตจากโรงงานเดียวกันที่เมืองคาร์คอฟ (Kharkhiev) นอกจากนั้นยังเป็นรถถังรุ่นแรกที่ติดตั้งปืนใหญ่125 มม. มาตรฐานของค่ายโซเวียต/รัสเซีย สำหรับกองทัพไทย อีกด้วย
"โอปล็อต" ยังติดตั้งปืนกลต่อสูอากาศยานขนาด 12.7 มม. ยิงอากาศยานบินช้าระยะต่ำ ปืนใหญ่แบบลำกล้องเกลี้ยง สามารถยิงกระสุน ได้หลายชิดรวมทั้งกระสุนความร้อนสูง และกระสุนเจาะเกราะ และ ยิง ATGM รุ่นหนึ่ง ผ่านลำกล้องของปืนใหญ่ได้ ยิงทำลายพาหนะข้าศึก ที่กำลังเคลื่อนที่ได้ ในระยะไกลถึง 5,000 เมตร กระสุนแบบแทนเด็ม (Tandem) หัวรบทำงาน 2 จังหวะ เจาะเกราะระเบิด ERA (Explosive Reactive Armour) ได้เกือบจะทุกชนิด
.
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
สำหรับ BTR-3E1 เป็นยุทโธปกรณ์สัญชาติยูเครนเช่นเดียวกัน กองทัพไทยจัดหา เพื่อใช้แทนรถ APC รุ่นเก่าที่ผลิตจากจีน ซึ่งใช้งานมานาน และ มีการจัดหาหลายล็อต ทั้งกองทัพบกและราชนาวี ก่อนจะนำมาสู่การผลิต-ประกอบเอง จำนวนมากในประเทศไทย
ตามข้อมูลของสื่อยูเครนก่อนหน้านี้ กองทัพบกจัดหารถ BTR-3E1 ครั้งแรกจำนวน 96 คัน มูลค่า 4,000 ล้านบาท ในจำนวนดังกล่าวนี้ แบ่งเป็น 6 เวอร์ชั่น (Varieties) ด้วยกัน 64 คัน สำหรับทหารราบ 4 คันเป็นรถอำนวยการ 6 คันเป็นรถช่วยเหลือกู้ภัย 3 คันสำหรับหน่วยแพทย์สนาม และ 9 คัน ติดตั้งท่อยิงลูกระเบิด 81 มม. 4 คัน ติดตั้งท่อยิงลูกระเบิด 120 มม. มีเพียง 6 คันที่ติดตั้งอาวุธนำวิถียิงรถถัง ซึ่งรวมทั้งคันที่เห็นในการฝึกครั้งนี้ด้วย
ต่อมากองทัพบกได้จัดหา BTR-3E1 ล็อตใหญ่อีก 121 คัน มูลค่า 5,000 ล้านบาท ราชนาวีแยกจัดหา 14 ลำ สำหรับนาวิกโยธิน เพื่อใช้แทนรถหุ้มเกราะ 4 ล้อแบบ V-150 "คอมมานโด" (Commando) ที่ผลิตในสหรัฐ ทีมีอยู่ 24 คัน และ ใช้มาตั้งแต่ยุคสงครมเวียดนาม ต่อมาเดือน ส.ค.2556 กองทัพบกได้จัดหารถ BTR-3E1 เพิ่มเติมอีก15 คัน กับ BTR-3RK รถอำนวยการอีก 6 คัน เป็นล็อตสุดท้าย
ยูเครนทะยอยส่งมอบ รถเกราะล้อยาง 8x8 ให้ไทย ตั้งแต่เดือน ธ.ค.2553 เป็นต้นมา ก่อนสองฝ่ายจะบรรลุข้อตกลง ผลิตในไทย ซึ่งเริ่มเมื่อไม่นานมานี้ ทั้งนี้กองทัพไทยยังมีความต้องการอีกหลายร้อยคัน เพื่อเป็นกำลังหลักในการลำเลียงกำลังพลรบทางบก
BTR-3E1 ติดตั้งระบบป้อมปืน BM-3 "ชะเติร์ม" (Shturm) ที่ประกอบด้วยปืนใหญ่ ZTM-1 30 มม. พร้อมกระสุน 350 นัด ป้อมปืนกับปืน สามารถบังคับได้จากภายในรถ เพื่อลดความเสี่ยง โดยพลปืนไม่ต้องโผล่ขึ้นเหนือป้อมปืน เพื่อควบคุมการยิง เช่นในรถเกราะ APC รุ่นก่อนๆ ที่กองทัพเคยใช้มา
นอกจากนั้นยังติดตั้งปืนกล 7.62 มม.มากับแชสซีย์อีก 1 กระบอก กระสุน 2,500 นัด ส่วนท่อยิงลูกระเบิดทั้ง 81 และ 120 มม.ติดตั้งไว้สองข้างของป้อมปืน นอกจากนั้นยังติดตั้งท่อยิงลูกระบิดอัตโนมัติขนาด 30 มม.ได้อีก 6 ท่อ นับว่ามีเขี้ยวเล็บมากมาย ทั้งเพื่อป้องกันและโจมตี ระหว่างปฏิบัติการยกพลขึ้นบก แต่ยังมีรายละเอียดอีกหลายประการ รวมทั้งความสามารถในการต่อสู้รถถังดังกล่าว
รถ BTR-3 กลายเป็นยาน APC ที่คุ้นหน้าคุ้นตาอย่างรวดเร็ว รวมทั้งระหว่างการฝึกร่วมของสามเหล่าทัพในช่วงนี้ด้วย
.
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
การฝึกสัปดาห์ที่ผ่านมา มีกองพลนาวิกโยธิน หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน เป็นหน่วยหลัก กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง กรมแพทย์ทหารเรือ กรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ กองทัพบก และกองทัพอากาศ เป็นหน่วยร่วมฝึกประกอบ มีการฝึก ยุทธวิธีทหารราบยานเกราะ (Mechanized Infantry) ฝึกการปฏิบัติการร่วมของหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน และ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ฝึกการยุทธส่งทางอากาศและการยุทธเคลื่อนที่ทางอากาศ เพื่อฝึกการสนับสนุนการช่วยรบ
กำลังจากกองทัพบก จำนวน 1 กองร้อยทหารราบ พร้อมรถเกราะล้อยาง BTR จำนวน 13 คัน และ รถถัง (โอปล็อต-M) 4 คัน
กำลังจากกองทัพอากาศ ประกอบด้วย เครื่องบิน F-16 จำนวน 4 ลำ ยังมีอากาศยานไร้คนขับ UAV จำนวน 1 ลำ และ กำลังอากาศโยธิน ส่วนต่อสู้อากาศยาน 30 นาย ของนายวิกโยธิน และส่วนปฏิบัติการพิเศษ 54 นาย กองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ รายงานเรื่องนี้
กองพลนาวิกโยธินจัดกำลังเข้าร่วมการ ฝึกประกอบด้วย ยานเกราะล้อยาง BTR-3E1 อีก 12 คัน รถ AAVC จำนวน 8 คัน ฮัมวี่ 6 คัน ปืนใหญ่ 155 มม. 4 แท่น ปืนใหญ่ 105 มม. 4 แท่น รถบรรทุก 19 คัน กองเรือยุทธการประกอบด้วย เครื่องบินลำเลียง 1 ลำ เฮลิคอปเตอร์ลำเลียงอีก 4 ลำ
กำลังจากหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ประกอบด้วย ป.155 อีก 4 แท่น
นอกจากนั้นยังมีกำลังจาก กรมแพทย์ทหารเรือ กับกรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ ที่ร่วมฝึกการอำนวยการทางการแพทย์ ตั้งโรงพยาบาลสนาม การคัดแยก ผ่าตัดและดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน และ ฝึกทดสอบควบคุม ปฏิบัติการสงครามนิวเคลียร์ ชีวะ เคมี
การฝึกกองทัพเรือ ประจำปี 2560 เป็นการเตรียมความพร้อมภารกิจ บทบาทหน้าที่ที่ กองทัพเรือ จะทำให้สามารถพัฒนาหน่วยที่มีขีดความสามารถอยู่ในระดับมาตรฐาน (Standard Navy) ไปสู่ระดับมืออาชีพ (Professional Navy) พร้อมรับมือภัยคุกคามทุกรูปแบบ รักษาอธิปไตยและผลประโยชน์ของชาติทางทะเล การรักษากฎหมาย จนถึงการช่วยเหลือประชาชนจากภัยพิบัติ และสร้างความเชื่อมั่นในหมู่ประชาชน สลก.ทร.กล่าว.