xs
xsm
sm
md
lg

เพื่อนบ้านจับตา ฮ.โจมตีบนเรือจักรีนฤเบศร-เรือฟริเกตขนาบข้าง... "ผู้พิทักษ์อ่าวไทย" วีรภาพใหม่ในยุคเรือดำน้ำ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#0003>เฮลิคอปเตอร์ 3 รุ่น บนเรือบรรทุกเครื่องบิน 911 ทุกรุ่นสามารถติดตั้งระบบอาวุธ สงครามใต้ผิวน้ำได้ ขนาบข้างด้วยเรือหลวงนเรศวร (421) ซึ่งเป็นเรือฟริเกตติดระบบอาวุธปล่อยนำวิถี เป็นสัญลักษณ์ของผู้ทำหน้าที่คุ้มกัน เช่นเดียวกับ JAS-39 กริพเพน  ผู้ครองน่านฟ้า ร่วมกับเอฟ-16 ของกองทัพอากาศ ทั้งหมดได้ก่อให้เกิด วีรภาพใหม่ ของ ราชนาวีไทย การมีเรือดำน้ำจะทำให้กองเรือบรรทุกเครื่องบินพิทักษ์อ่าวไทย กลายเป็นความจริงได้ในที่สุด ตามเจตนารมณ์ในการจัดหาเรือจักรีนฤเบศร เมื่อกว่า 20 ปีที่แล้ว. -- ภาพ: กองประชาสัมพันธ์ สลก.ทร. </b>

MGRออนไลน์ -- นานเท่าไรแล้วที่ไม่ได้เห็นอากาศยานบนเรือจักรีนฤเบศร? สื่อในประเทศบ้านใกล้เรือนเคียง รวมทั้งผู้ติดตามข่าวคราว ในวงการกลาโหมระดับภูมิภาค พากันตั้งคำถามในสัปดาห์นี้ เมื่อได้เห็นเฮลิคอปเตอร์ 3 รุ่น 3 แบบ จอดบนเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรก และเพียงลำเดียวในย่านนี้ โดยมีเรือฟริเกตทันสมัยที่สุดของกองทัพ แล่นขนาบข้าง มีเครื่องบินรบอีก 2 รุ่น ทำ "ฟลายบาย" ราวกับทำหน้าที่ครองน่านฟ้า ปกป้องคุ้มกันกองเรือ แถมยังมีผู้บัญชาการของ "4 เหล่าทัพ" ออกปรากฏตัวพร้อมหน้ากัน ต่อหน้าเครื่องบินรบ เครื่องบินตรวจการณ์ รวมทั้งเครื่องบินลาดตระเวณเตือนภัยล่วงหน้าอีกลำ ราวกับว่ากำลังร่วมกันประกาศศักดานุภาพอะไรบางอย่าง

สำนักข่าวภาษาเวียดนามแห่งหนึ่งถึงกับ บอกว่า นี่คือภาพแห่ง "ความวีระอาจหาญ" กับความพร้อมรบของราชนาวีไทย เพื่อนบ้านอาเซียนเพียงประเทศเดียว ที่มีเรือบรรทุกเรื่องบินใช้งาน และ การซื้อเรือดำน้ำ ที่มีกำหนดส่งมอบในอีกหลายปีข้างหน้าโน้น จะทำให้กองเรือบรรทุกเครื่องบินของไทย มีรูปธรรมชัดเจนเป็นครั้งแรก

ทุกคนกำลังพูดถึงหตุการณ์เมื่อวันที่ 2 พ.ค.2560 ระหว่างการฝึกซ้อมครั้งใหญ่ทีสุดอีกครั้งหนึ่ง ของราชนาวี ที่จัดขึ้นในบริเวณอ่าวสัตหีบ โดยมีทั้งเรือรบ เรือยกพลขึ้นบก สนับสนุน และ เครื่องบินรบจากกองทัพอากาศ กำลังพลจากกรมทหารราบแห่งหนึ่ง เข้าร่วมอย่างพร้อมหน้า เช่นเดียวกันกับสำนักงานตำรวจแห่งขาติ ที่จัดเรือตรวจการณ์ลำน้ำเข้าร่วมการสาธิตปฏิบัติการ การจัดฝึกซ้อมครั้งนี้ยังมีขึ้น เพียงข้ามวันหลังจากกองทัพเรือ จัดแถลงข่าวเกี่ยวกับการจัดหาเรือดำน้ำจากจีน จำนวน 3 ลำ เพื่อให้สาธารณชนทั่วไปได้หายข้องใจ

แต่ในสายตาของสื่อประเทศเพื่อนบ้าน การปรากฎตัวของเรือจักรีนฤเบศร กับเรือหลวงนเรศวร และเรือหลวงตากสิน ได้ให้ภาพรวมที่ยิ่งใหญ่กว่า การซื้อเรือดำน้ำจีนเสียอีก เกียนถึก (ความรู้) ออนไลน์ สื่อภาษาเวียดนามที่ได้รับความนิยมมากที่สุดสำนักหนึ่ง พาดหัวข่าวว่า "นี่คือ The Guardian แห่งอ่าวไทย" พร้อมสาธยายว่า ราชนาวีมีกองเรือสำหรับสงครามผิวน้ำ และสงครามใต้น้ำ ที่ดูลงตัวสุด ไม่ได้เป็นรองประเทศเพื่อนบ้าน
.

.
ดึ๊กเหวียด (แผ่นดินเวียดนาม) สื่อออนไลน์ภาษาเวียดนามอีกแห่งหนึ่ง ที่เกาะติดข่าวกลาโหมในภูมิภาคนี้ มาเป็นเวลานาน ลงความเห็นว่า ราชนาวีไทยได้เลือก เรือหลวงชุดนเรศวร-ตากสิน (421 กับ 422) ให้เป็น เรือพิทักษ์เรือบรรทุกเครื่องบิน ที่ได้รับการพัฒนาให้ทันสมัย มาเป็นขั้นเป็นตอน ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เพื่อนำกลับไปใช้ในจุดประสงค์ที่จัดหามาใช้ ในขณะที่ไทยกำลังเข้าสู่ยุคเรือดำน้ำ .. ร่วมยุคกับเพื่อนบ้านในย่านนี้

แน่นอนที่สุด "วีรภาพ" เดียวกันนี้ ได้ปรากฎผ่านสื่อกลาโหมในอีกหลายประเทศ รวมทั้งอินโดนีเซีย มาเลเซีย และ ไกลออกไปจนถึงซิน่าออนไลน์ของจีน ประเทศที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด กับกองทัพไทยมากที่สุดในยุคนี้.. ทุกๆ สำนักล้วนมีความเห็นไม่ต่างกัน นั่นคือ เหตุการณ์ฝึกซ้อมธรรมดาๆ เมื่อวันที่ 2 พ.ค. ได้กลายเป็นการประกาศศักดาของกองกำลังทางเรือ แห่งราชอาณาจักรไทย

"เรือนเรศวรต่อในจีน ต่อมาถูกดัดแปลงแก้ไขแบบ ตามความต้องการของไทย ติดระบบเรดาร์ผลิตในสวีเดน ติดระบบอาวุธปล่อยนำวิถียิงเรือแบบฮาร์พูน ระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยาน RIM-162 ESSM ผลิตในสหรัฐ กลายเป็นเรือรบทันสมัยที่สุดของกองทัพเรือไทย และ ดูเหมือนถูกเลือกให้เป็น เรือพิทักษ์สำหรับกองเรือบรรทุกเครื่องบินของไทย" เกียนถึกออนไลน์กล่าว

ทั้งนี้ก็ไม่ได้ต่างจาก คอข่าวสงคราม ที่เกาะติดในเว็บบล็อกข่าวกลาโหมมาเลเชีย ที่ลงความเห็นว่า การบินผ่านกองรือของเครื่องบินรบ JAS39 กริพเพน กับ F-16 อีกครึ่งฝูงในเหตุการณ์เดียวกันนี้ รวมทั้งอีกภาพหนึ่งที่บรรดาผู้นำเหล่าทัพ ปรากฎตัวเดินแถวหน้ากระดานเรียงหนึ่ง บนเรือ 911 รวมทั้งภาพนั่งถ่ายหมู่อยู่ต่อหน้า ทั้งเครื่องบินรบ เครื่องบินตรวจการณ์ และ Saab 340B AEW-300 เครื่องบินลาดตระเวณ เตือนการณ์ล่วงหน้าทางอากาศ ติดอุปกรณ์เอรีอายส์ (Erieye) โดยกลุ่มซาบแห่งสวีเดน ถือเป็นการประกาศศักดาของเหล่าผู้นำทางทหารของไทย
.
<br><FONT color=#00003>ภาพแห่งความวีระอาจหาญนี้ สะท้อนผ่านสื่อภาษาจีน และ สื่อภาษาเวียดนาม เว็บไซต์ เว็บบล็อกข่าวกลาโหม ในภูมิภาคอีกหลายแห่ง ได้นำเหตุการณ์วันที่ 2 พ.ค.2560 ไปกล่าวถึงว่า เป็นก้าวใหม่ของราชนาวีไทย ที่เริ่มก้าวเข้าสู่ยุคเรือดำน้ำ. </b>
2
<br><FONT color=#00003>แม่ทัพบก แม่ทัพเรือ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด แม่ทัพฟ้า และ ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในชุดพรางไทเกอร์สไตรป์ ปรากฎตัวบนเรือธงของราชนาวี พร้อมหน้ากันเป็นครั้งแรก ซึ่งได้กลายเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์. </b>
3
<br><FONT color=#00003>สื่อในประเทศเพื่อนบ้านบอกว่า ภาพนี้เหมือนกับ เป็นการประกาศศักดานุภาพ ร่วมกันระหว่าง 4 เหล่าทัพ.  </b>
4
<br><FONT color=#00003>ไม่มีใครต้องการสงคราม แต่ถ้าหากเกิดขึ้นวันพรุ่งนี้ บุคคลทั้ง 5 ในภาพนี้ จะเป็นผู้นำกองทัพทำการสู้รบ ทุ่มทั้งแรงกาย แรงสติปัญญา แต่คนออกรบต้องมีเครื่องมือ มีอาวุธทันสมัย รับมือข้าศึกได้ทุกแนว ซึ่งเรือดำน้ำเป็นเครื่องมือที่ยังขาดอยู่. </b>
5
<br><FONT color=#00003>ราชนาวีมีเรือหลวงอ่างทอง (791) ต่อในสิงคโปร์ เป็นเรือชั้นเอ็นดูรันซ์ แบบเดียวกับ ทร.เรือสิงคโปร์ ได้ชื่อเป็นเรือยกพลขึ้นบก ขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาค. </b>
6
<br><FONT color=#00003>เรือหลวงนเรศวร (421) ยิงสลุตขณะแล่นผ่าน เคารพประธาน ที่อยู่บนแท่นพิธี บนเรือจักรีนฤเบศร นี่คือเรือฟริเกตทันสมัยที่สุดของราชนาวี ในปัจจุบัน. </b>
7

8
<br><FONT color=#00003>เรือหลวงตากสิน (422) เรือฟริเกตในชุดเดียวกัน ต่อจากนครเซี่ยงไฮ้ แต่วันนี้เหลือเพียงเค้าโครงให้เห็น เป็นเรือ Type 053 เจียงฮู III ของจีน ราชนาวีไทยแก้ไขหลายครั้ง ติดระบบเรดาร์สวีเดน ระบบอาวุธสหรัฐ.  </b>
9

10

11
<br><FONT color=#00003>กองทัพอากาศไทยมี F-16 อยู่หลายสิบลำ กำลังทะยอยอัปเกรดให้ทันสมัย ทัพฟ้าสหรัฐเพิ่งประกาศสัปดาห์ที่แล้ว ยืดเวลาการใช้เครื่องบินรบยอดนิยมรุ่นนี้ ออกไปอีก 20-30 ปี .. ยังครองน่านฟ้าเหนืออ่าวไทยได้อีกนาน. </b>
12
<br><FONT color=#00003>ทำลิฟเวอรี่ลายพรางวู้ดแลนด์ H145M ฮ.อเนกประสงค์ทันสมัยจากค่ายแอร์บัส จะดัดแปลงติดอาวุธเป็น ฮ.โจมตีก็ได้. </b>
13

14

15
<br><FONT color=#00003>นานเท่าไรแล้ว ที่ไม่ได้เห็นอากาศยานใดๆ บนเรือจักรีนฤเบศร.. นานทีเดียว.</b>
16

17
<br><FONT color=#00003>F-5E กำลังทะยอยจากไป JAS-39 ที่ใหม่กว่าทะยอยเข้าแทนที่ ลำใหญ่เป็น Saab 340 (AEW) เครื่องบินตรวจการณ์ติดอุปกรณ์เรดาร์ ระบบแจ้งเตือนล่วงหน้า ส่งดาตาลิงค์ไปยังหน่วยรบอื่นๆ. </b>
18
<br><FONT color=#00003>... และยังมีอีกมาก. </b>
19
<br><FONT color=#00003>นานๆ สาธารณชนจะได้เห็น ผู้บัญชาการเหล่าทัพ อยู่พร้อมหน้าพร้อมตากัน ในชุดพร้อมออกรบ. </b>
20
เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า ไทยจัดหาเรือจักรีนฤเบศรตั้งแต่ปี 2535 แต่กว่าจะแล้วเสร็จและบรรจุเข้าประจำการได้ ก็อีก 5 ปีต่อมา เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินที่ไทยมุ่งหวัง จะใช้ปฏิบัติภารกิจลาดตระเวณดูแลน่านน้ำ กับชายฝั่ง โดยมีเครื่องบินรบที่ขึ้นลงแนวดิ่งได้ แบบ AV-8 "มาทาดอร์" (Matadors) จำนวน 9 ลำ ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้เรียก รุ่นส่งออกของ AV8 แฮริเออร์ 2 (Harrier 2) ที่ผลิตในสหราชอาณาจักร และ อากาศยานปีกหมุนแบบต่างๆ อีกนับสิบลำ ที่ปฏิบัติภารกิจขนส่ง สนับสนุนได้ และ ติดระบบอาวุธปราบเรือดำน้ำได้

เรือยังออกแบบมาเพื่อติดตั้งระบบอาวุธหลากหลายชนิด เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ ทั้งในด้านการโจมตี และการป้องกันตนเอง แต่เกือบทั้งหมดยังไม่เคยได้ติดตั้ง เพราะขาดงบประมาณจากวิกฤติการทางการเงินในประเทศ

และต้องไม่ลืมว่า เรือจักรีนฤเบศรต่อในประเทศสเปน ตามแบบของเรือบรรทุกเครื่องบินปรินซิเป เด แอสทูเรียส (Príncipe de Asturias) มีระบบอาวุธ และ ระบบต่างๆ คล้ายกันมาก ภารกิจก็คล้ายกันอีกด้วย เรือลำนี้บรรจุเข้าประจำการก่อนถึง 10 ปี และ เป็นเรือธงของราชนาวีสเปน จนกระทั่งปลดระวางในเดือน ก.พ.2556

เรือปรินซิเป เด แอสทูเรียส ได้ก่อให้เกิดเป็นกองเรือบรรทุกเครื่องบิน ในประเทศนั้น ประกอบด้วยเรือฟรีเกตชั้นซานตามาเรีย (เรือชั้้นโอลิเวอร์ ฮาซาร์ด เพอร์รี ของสหรัฐที่ต่อเองในสเปนทั้งหมด) จำนวน 6 ลำ เรือคอร์แว็ต เรือบรรทุกเชื้อเพลิง กับเรือสนับสนุนอีกหลายลำ

เรือจักรีนฤเบศรไม่มีโอกาสได้เป็นเช่น "เรือพี่" เพราะว่า หลังบรรจุเข้าประจำการต้นปี 2540 ได้ไม่นาน ก็เกิด "วิกฤติต้มยำกุ้ง" ติดตามมา ซึ่งดับมอดทุกความหวัง ทำลายทุกแผนการพัฒนา นอกจากนั้นอากาศยาน ที่จัดหามาพร้อมกัน คือ AV8 ที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว เสื่อมสภาพลง เพราะขาดงบประมาณซ่อมบำรุง ราชนาวีพยายามวิ่งหา AV8 อีกลำหรือสองลำ จากอังกฤษ หวังนำมาแกะใช้ชิ้นส่วน สำหรับ"มาทาดอร์" ที่ยังบินได้ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ จนกระทั่งถูกปลดระวาง อย่างเป็นทางการทั้งฝูง ในปี 2549

เรือจักรีนฤเบศรถูกผันไปใช้ประโยชน์ในด้านการช่วยเหลือ กูภัย การสนับสนุนการค้นหาและกูภัย เมื่อเกิดภัยธรรมชาติครั้งใหญ่หลายครั้ง ปัจจุบันจอดที่ฐานทัพเรือสัตหีบเป็นหลัก จะออกแล่นสัปดาห์ หรือ เดือนละครั้ง หรือ เมื่อมีการฝึกซ้อม .. ชาวเน็ตเวียดนามเขียนถึง ความเป็นมาและเป็นไป ของเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรก และลำเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แต่การปรากฏตัวของเรือหลวงนเรศวร-ตากสิน เรือรบทันสมัยที่สุดของไทย เคียงข้างกับเรือจักรีนฤเบศร เมื่อวันที่ 2 พ.ค. ได้ทำให้เห็นภาพใหม่ แฟนข่าวกลาโหมระดับฮาร์ดคอร์จำนวนไม่น้อย อยากจะเห็นกองเรือบรรทุกเครื่องบินของไทย ห้อมล้อมด้วยเรือฟริเกตชั้นอื่นๆ เช่นเดียวกันกับเรือคอร์แว็ต ติดระบบอาวุธนำวิถีที่ไทยมีอยู่หลายลำ

ราชนาวีไทยยังได้จัดหารือ DW 3000F จากเกาหลีอีก 2 ลำ ตั้งชื่อรอเอาไว้เรียบร้อยแล้ว โดยลำแรก "รล.ท่าจีน" มีกำหนดส่งมอบปีหน้า ส่วน "เรือหลวงประแส" จะต่อเอง ที่อู่มหิดลอดุลยเดช สัตหีบ

สเป็กของเรือฟริเกต รูปทรงล่องหน ขนาด 3,700 ตันโดยกลุ่มแดวู ติดอาวุธทันสมัยเพียบ รวมทั้งระบบจรวดนำวิถียิงเรือฮาร์พูน (Harpoon) จรวด VL-ASROC ปราบเรือดำน้ำยิงจากท่อแนวตั้ง จรวดนำวิถีต่อสู้อากาศยาน RIM-162 ESSM แบบเดียวกันกับเรือนเรศวร-ตากสิน ระบบปืนยิงเร็วระยะประชิดแบบฟาลังซ์ ระบบปืนใหญ่เรือขนาด 30 มม. และ ติดตั้งตอร์ปิโด Mark 54 ที่ใหม่กว่า

ไทยจัดหารือรุ่นนี้ เพื่อใช้แทนเรือฟริเกต ขนาด 4,200 ตัน ชุดพุทธเลิศฟ้าจุฬาโลก-พุทธเลิศหล้านภาลัย (461-462) ซึ่งเป็นเรือชั้นน็อกซ์ (Knox-Class) ที่กองทัพเรือสหรัฐ "ให้ฟรี" หลังปลดระวาง และ ใช้ต่อมาตั้งปี 2542 จนกระทั่งลำหลังได้ปลดไปแล้ว

นี่คือภาพรวมที่ทำให้ กองเรือบรรทุกเครื่องบินของไทย เป็นภาพจริงขึ้นมา
.

<br><FONT color=#00003>เรือจักรีนฤเบศร เมื่อครั้งยังเป็นเรือบรรทุกเครื่องบิน และ ยังมี มาทาดอร์ อยู่บนดาดฟ้า. -- ภาพ:   Defensa de la República Argentina. </b>
21
<FONT color=#00003>เรือปรินซิเป เด แอสตูเรียส (SNS Principe de Asturias, R11) เรือลำพี่ ระหว่างฝึกซ้อม Dragon Hammer เมื่อปี 2535 ซึ่งเป็นปีที่ไทย จัดหาเรือจักรีนฤเบศร. </b>
22
<br><FONT color=#00003>AV8 มาทาดอร์ (Matador) ซึ่งก็คือ แฮริเออร์ 2 (Harrier II) ดีๆ นี่เอง ขณะลงจอดบนเรือปรินซิเป เด แอสตูเรียส แต่เรือจักรีนฤเบศรของไทย ได้ผ่านยุคปีกตรึงมานานแล้ว.. ตั้งแต่ปี 2549 เข้าสู่ยุคปีกหมุน. -- ภาพ: En.Wikipedia.Org</b>
23
<br><FONT color=#00003>เรือพิฆาตชาฟี (USS Chafee, DDG 90) กองทัพเรือสหรัฐ นำขบวนเรือรบไทย ครั้งฝึกซ้อม CARAT 2009 ในทะเลอ่าวไทย ปีนั้นบนเรือ 911 ของราชนาวี ไม่มีเครื่องบินขึ้นลงแนวดิ่ง เหลืออยู่อีกแล้ว กลายเป็นเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์เต็มตัว. -- ภาพ: US Navy Photo/Lt Ed Early. </b>
24
อย่างไรก็ตาม "เรือจักรีนฤเบศรก้าวผ่านยุคเครื่องบินปึกตรึงมาแล้ว วันนี้เราได้เห็นเครื่องบินปีกหมุน ที่สามารถปฏิบัติภารกิจคล้ายกันได้.. ในอ่าวไทย" สื่อเวียดนาม ประเทศที่มีเรือดำน้ำ 6 ลำ แต่ไม่มีเรือบรรทุกเครื่องบิน เขียนถึงเรื่องนี้ เน้นให้เห็นประโยชน์ของเรือ 911 ราชนาวีไทย

การมีเรือบรรทุกอากาศยานปีกหมุน หรือ เฮลิคอปเตอร์ของไทย ไม่ได้มีอะไรที่ด้อยไปกว่ากองทัพเรือเกาหลี ที่มีเรือบรรทุก ฮ.ชั้นด็อกโด ประจำการ หรือ กองกำลังป้องกันตนเองทางเรือของญี่ปุ่น ที่มีเรือบรรทุก ฮ.ขนาดใหญ่ ที่ต่างก็มีภารกิจคล้ายกันคือ บรรทุกกำลังพลแสดงพลังอำนาจ และ ปราบเรือดำน้ำ เพื่อรักษาเขตน่านน้ำของตนเป็นหลัก

ราชนาวีไทยได้จัดหาเฮลิคอปเตอร์ S-70B ซีฮอว์ก (Seahawk) ที่ผลิตโดยบริษัทไซกอร์สกี้ สหรัฐ จำนวน 6 ลำ เพื่อภารกิจปราบเรือดำน้ำ สำหรับเรือจักรีนฤเบศร และ ยังจัดหา ซูเปอร์ลิงซ์ (Super Lynx) Mk 110 ของอะกัสตาร์เวสต์แลนด์ แห่งสหราชอาณาจักรอีก 4 ลำ เป็น ฮ.อเนกประสงค์ที่สามารถติดตั้ง ระบบอาวุธสงครามใต้น้ำได้ รวมทั้งจัดหา H145M จากแอร์บัสเฮลิคอปเตอร์ส อีกจำนวนหนึ่งด้วย ซึ่งทั้งหมดประจำบนเรือบรรทุกเครื่องบินได้

ราชนาวียังมี เครื่องบิน P-3T โอไรออน (Orion) จากยุคสงครามเย็นอีก 3 ลำ ที่ฐานทัพอู่ตะเภา และ นี่คือเครื่องบินปราบเรือดำน้ำที่หลายประเทศในย่านนี้ รวมทั้งเวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ต่างก็ยังแสวงหา เพียงแต่ของไทย จะต้องมีการอัปเกรดระบบ ปรับปรุงระบบอาวุธ ให้ทันสมัยกว่าเดิมเท่านั้น

"การมีเรือดำน้ำ ถือเป็นการพัฒนาตนเองของไทย เพื่อให้ทัดเทียม กับประเทศเพื่อนบ้านในย่านเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือมาเลเซีย สิงคโปร์ และ ไกลลงไปถึงอินโดนีเซีย ซึ่งจะทำให้ภารกิจพิทักษ์อ่าวไทย กับกองเรือบรรทุกเครื่องบินของไทย เป็นจริงเป็นจังมากยิ่งขึ้น.." เซียนคนหนึ่ง เขียน แสดงความเห็นในบล็อกกลาโหมของมาเลเซีย

ตามรายงานที่เผยแพร่โดยกองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ ทั้งหมดนี้เป็นเหตุการณ์ที่ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ทหารเรือ และทหารอากาศ กับ ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ไปตรวจเยี่ยมการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี 2560 ผู้นำระดับสูงทั้ง 5 คน ได้ร่วมกันปรากฏตัว บนเรือจักรนฤเบศร อย่างพร้อมเพรียงกัน ซึ่งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ บนเรือธงของราชนาวีไทย

เหตุการณ์เมื่อวันที่ 2 พ.ค. เป็นการฝึกทางเรือปีที่ 2 และ เป็นครั้งใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดของกองทัพเรือ เป็นการบูรณาการการฝึกภายใน นำขีดความสามารถในการปฏิบัติการสาขาต่างๆ ทั้งการปฏิบัติ การสนับสนุน และ ในส่วนบัญชาการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบ กระบวนการวางแผนทางทหาร การอำนวยการยุทธ์และทดสอบขีดความสามารถตามสาขาปฏิบัติการของหน่วย ทำการฝึกในสถานการณ์ความขัดแย้งระดับกลางจนถึงระดับสูง

ในช่วงนี้เป็นการฝึกสนธิกำลังระหว่างหน่วย ฝึกตามขีดความสามารถการปฏิบัติการทางเรือ ทั้งในระดับยุทธการและยุทธวิธี ฝึกควบคุมบังคับบัญชาและการอำนวยการยุทธ์ของศูนย์ปฏิบัติการ การฝึกยุทธวิธีร่วมกองเรือ ฝึกปฏิบัติการร่วมระหว่างกำลังทางเรือและอากาศยาน การฝึกป้องกันพื้นที่ของทัพเรือภาค การฝึกยิงอาวุธทางยุทธวิธี ของหน่วยต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่งประจำพื้นที่ การฝึกปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบกและส่งผ่านกำลังทางบก รวมทั้ง การฝึกสนธิกำลังดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริง

การฝึกภาคสนาม/ภาคทะเล ยังจะดำเนินต่อไปในช่วงเดือน พ.ค.นี้
.

<br><FONT color=#00003>ปีหน้าเราจะมีเรือรบล่องหนลำแรกคือ เรือหลวงท่าจีน (471) ส่วนลำที่ 2 เรือหลวงประแส (472) จะต่อเอง นี่คือเรือฟริเกต  DW 3000F จากกลุ่มแดวู เกาหลี ที่จะทำให้กองเรือบรรทุกเครื่องบินพิทักษ์อ่าวไทย ของราชนาวีแข็งแกร่งอีกหลายเท่า ขณะก้าวเข้าสู่ยุคเรือดำน้ำ. </b>
25
"จากผลการฝึกแสดงให้เห็นว่า เรือดำน้ำเป็นอาวุธทางยุทธศาสตร์เชิงรุกที่ยากต่อการค้นหา ข้าศึกไม่ได้ใช้เรือดำน้ำในพื้นที่ของตน แต่ใช้แทรกซึมเข้ามาปฏิบัติการในพื้นที่ฝ่ายเรา ทำให้สามารถหาข่าว วางทุ่นระเบิดบริเวณหน้าฐานทัพท่าเรือ ลิดรอนทำลายเรือรบโจมตีเรือสินค้าที่จะผ่านเข้า-ออก ทำให้ฝ่ายตรงข้ามสามารถปิดอ่าว และ ส่งผลกระทบต่อการรักษาเส้นทางคมนาคมทางทะเล ซึ่งฝ่ายเราต้องทุ่มกำลัง และ สิ้นเปลืองทรัพยากรทั้งเรือผิวน้ำและอากาศยานจำนวนมาก ในการป้องกันค้นหาและต่อต้านเรือดำน้ำ โดยยุทโธปกรณ์ที่สามารถต่อต้านเรือดำน้ำที่ดีที่สุด ก็คือเรือดำน้ำนั่นเอง" รายงานชิ้นเดียวกันระบุ

การฝึกภาคสนามภาคทะเล เป็นการฝึกที่มีการจัดกำลังเข้าร่วมการฝึกมากที่สุดครั้งหนึ่ง ในประวัติศาสตร์การฝึกของกองทัพเรือ มีเรือรบกว่า 38 ลำ อากาศยาน 16 ลำ รถรบ/รถเรดาห์ 50 คันปืนใหญ่/ปตอ. 40 แท่นยิงกำลังพลกว่า 5,000 นาย และหน่วยสนับสนุนการฝึกอีกจำนวนมาก

กองทัพบกได้ปรับแผนการฝึก ของกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ โดยจัดกำลัง 2 กองร้อยทหารราบ รถเกราะล้อยาง 17 คัน และ รถถัง 4 คัน เข้าร่วม กองทัพอากาศ ได้ปรับแผนการทดสอบการใช้กำลังกองทัพอากาศ ประจำปี 2560 ตามแผนเฉลิมอากาศ โดยจัด JAS-39 กริพเพน (Gripen) 4 ลำ SAAB 340 (AEW) 1 ลำ F-16 อีก 8 ลำ เข้าร่วม

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้สนับสนุนเรือตรวจการณ์ 1 ลำ ของ กองบังคับการตำรวจน้ำ ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของ ศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ร่วมสาธิตการตรวจค้นเรือต้องสงสัย กระทำผิดกฎหมายในทะเลด้วย

การฝึกครั้งนี้ ยังจัดขึ้นในห้วงใกล้เคียง กับการจัดกำลังไปปฏิบัติราชการอื่น เช่น เข้าร่วมงานสวนสนามทางเรือนานาชาติ และ นิทรรศการทางเรือ IMDEX ASIA 2017 ที่สิงคโปร์ การฝึกผสม CARAT 2017 แบบพหุภาคีครั้งแรกระหว่าง กองทัพเรือไทย-สหรัฐฯ–สิงคโปร์ การฝึกผสม GUARDIAN SEA 2017 กับเรือดำน้ำสหรัฐ ในฝั่งทะเลอันดามัน และ การฝึกผสม PASSEX ระหว่าง กองทัพเรือไทย-กองทัพเรือออสเตรเลีย ในห้วงที่เรือเดินทางกลับมายังไทย เอกสารแถลงข่าวระบุ.
กำลังโหลดความคิดเห็น