xs
xsm
sm
md
lg

ผบ.กองทัพพม่าช้อปปิ้งลิสต์ยาว เล็ง บฝ.Grob+ระบบฝึกบินเยอรมันทันสมัยอีกรายการ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#00003>ภาพจากเว็บไซต์ Grob Aircraft Co เยอรมนี เป็นเครื่องบินฝึก G-120TP เครื่องบินฝึกที่นั่งคู่ ติดเครื่องยนต์โรลส์รอยซ์ ที่ผู้บัญชาการกองทัพพม่า ไปเยี่ยมชมในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ก่อนหน้านั้นได้ไปเยี่ยมชมเครื่องบินตรวจการณ์ในประเทศออสเตรเลีย ถึงโรงงานเช่นกัน พล.อ.อาวุโสมินอองหล่าย เปิดเผยตรงไปตรงมา ช้อปปิ้งลิสต์ในการไปเยือนยุโรป ครั้งนี้ยังมีอีกหลายรายการ.  </b>

เอพี - ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของพม่าเดินทางกลับประเทศหลังสิ้นสุดการเยือนเยอรมนีและออสเตรียนานหนึ่งสัปดาห์ ความเคลื่อนไหวที่สร้างความวิตกให้กับบรรดานักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน ที่กล่าวหากองกำลังทหารพม่าละเมิดสิทธิต่อกลุ่มชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์ในประเทศ

หนังสือพิมพ์โกลบอลนิวไลท์ออฟเมียนมาร์ ของทางการพม่ารายงานวานนี้ (1) ว่าพล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ได้เดินทางเยือนบริษัท GROB Aircraft Co. ของเยอรมนี ที่มิน อ่อง หล่าย และคณะ ได้รับชมการสาธิตเครื่องบินตรวจการณ์และ ระบบการฝึกบินก่อนเดินทางกลับพม่าในคืนวันเสาร์ (29)

สหภาพยุโรปยังคงมาตรการห้ามค้าอาวุธกับพม่าตั้งแต่ทศวรรษ 1990 ซึ่งข้อห้ามดังกล่าวจะหมดอายุลงในวันอาทิตย์ และยังไม่แน่ชัดว่ามาตรการนี้จะต่ออายุหรือไม่ ซึ่งก่อนที่การห้ามค้าอาวุธจะถูกกำหนดขึ้นนั้น เยอรมนีเป็นผู้จัดหาอาวุธรายใหญ่ให้กับพม่า

เรื่องราวก่อนหน้านี้ที่รายงานในสื่อของทางการพม่าและหน้าเพจเฟซบุ๊กของพล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ระบุว่า ในระหว่างการเยือนนานหนึ่งสัปดาห์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดพม่าได้หารือกับเจ้าหน้าที่ด้านกลาโหมระดับสูงของเยอรมนีและออสเตรีย และคณะที่ร่วมเดินทางยังได้เยี่ยมชมศูนย์ฝึกการต่อสู้ทางทหารของเยอรมนีด้วย

รายงานอ้างคำกล่าวผู้นำสูงสุดของกองทัพพม่าระบุว่า การเยือนยุโรปครั้งนี้มีเป้าหมายที่จะส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันมิตรและความร่วมมือระหว่างกองกำลังทหารของสองฝ่าย แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีรายงานว่า คณะเยือนของพล.อ.มิน อ่อง หล่าย ได้ลงนามข้อตกลงอย่างเป็นทางการหรือบรรลุข้อตกลงเชิงพาณิชย์ใดๆ
.

.
กระทรวงการต่างประเทศของเยอรมนียืนยันว่า มิน ออง หล่าย ได้พบหารือกับรัฐมนตรีช่วยกระทรวงการต่างประเทศในวันศุกร์ (28) ที่กรุงเบอร์ลิน แต่ปฏิเสธที่จะให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเยือนครั้งนี้

นักสิทธิมนุษยชนวิตกกังวลว่าชาติตะวันตกและบริษัทต่างๆ อาจจัดหาอาวุธให้กับกองทัพพม่าที่อาจนำไปใช้ในปฏิบัติการต่อต้านพลเรือน

ข้อกล่าวหาที่ว่ากองทัพพม่าก่อเหตุละเมิดสิทธิของชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมโรฮิงญาในรัฐยะไข่ทำให้ทั่วโลกต่างส่งเสียงประณาม ขณะที่การต่อสู้กับกลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์บางกลุ่มยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัฐกะฉิ่น
.
<br><FONT color=#00003>CEO ของ Grob Aircraft Co นำเยี่ยมชม และบรรยายสรรพคุณของ บฝ.ด้วยตนเอง. </b>
2

3
<br><FONT color=#00003>ไปเยี่ยมชมศูนย์ฝึกอำนวยการรบ ของกองทัพบกเยอรมนีในบาวาเรีย ที่นั่นมีอุปกรณ์ไฮเทคในช้อปปิ้งลิสต์ อีกรายการเช่นเดียวกัน.  </b>
4

เมื่อสัปดาห์ก่อน กลุ่มรณรงค์เกี่ยวกับพม่าในอังกฤษได้กล่าวประณามรัฐบาลเยอรมนีและออสเตรียที่เชิญพล.อ.อาวุโส มิน ออง หล่าย เยือนประเทศ

"มิน ออง หล่าย เป็นอุปสรรคใหญ่ที่สุดต่อการปรับปรุงสิทธิมนุษยชน ปฏิรูปประชาธิปไตย สันติภาพ ความทันสมัย และการปรับปรุงสาธารณสุขและการศึกษาในพม่า" กลุ่มรณรงค์ระบุในคำแถลงฉบับหนึ่ง

"แทนที่จะกดดันมิน ออง หล่าย ให้ยุติการละเมิดสิทธิมนุษยชน ออสเตรียและเยอรมนีดูเหมือนสนใจที่จะสานสัมพันธ์กับมิน ออง หล่าย เสียมากกว่า บางทีอาจมีความคิดที่จะขายอาวุธให้ในอนาคต พวกเขาไม่สามารถที่จะอ้างได้ว่าพวกเขามีส่วนกดดันด้านสิทธิมนุษยชน ในเมื่อพวกเขาพามิน ออง หล่าย เยี่ยมชมกิจการทางทหาร" คำแถลง ระบุ

มิน ออง หล่าย เคยเดินทางเยือนยุโรปในลักษณะเดียวกันนี้เมื่อปีก่อน ที่เบลเยี่ยม และอิตาลี

ผู้นำสูงสุดของกองทัพพม่าเดินทางกลับประเทศ ขณะที่นางอองซานซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐ ออกเดินทางเยือนยุโรป ที่คาดว่าจะถูกวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับนโยบายที่เลือกปฏิบัติกับชาวโรฮิงญา นอกเหนือไปจากข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิชาวโรฮิงญาของกองทัพ

ขณะที่พม่าเปลี่ยนผ่านจากการปกครองโดยทหารไปสู่การปกครองของรัฐบาลพลเรือน ชาติตะวันตกได้ยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรหลายอย่าง แต่การปฏิรูปประชาธิปไตยกลับคืบหน้าไปช้ากว่าที่คาดไว้ และยังคงมีข้อพิพาทขัดแย้งกับชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์ ที่ก่อให้เกิดคำถามเกี่ยวกับการสนับสนุนที่ซูจีควรได้รับ แม้การลงทุนและการค้าจะขยายตัวก็ตาม.
กำลังโหลดความคิดเห็น