xs
xsm
sm
md
lg

กลุ่มชาตินิยมสุดโต่งในย่างกุ้งชุมนุมกดดันรัฐให้ปิดโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>เจ้าหน้าที่ตำรวจยืนรักษาความปลอดภัยอยู่หน้าโรงเรียนสอนศาสนาของชาวมุสลิม ชานนครย่างกุ้ง วันที่ 28 เม.ย. -- Associated Press/Thein Zaw.</font></b>

เอพี - พระสงฆ์ชาตินิยมสุดโต่ง และบรรดาผู้สนับสนุนบังคับปิดโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม 2 แห่ง ในนครย่างกุ้ง เหตุการณ์ที่ตอกย้ำถึงความขัดแย้งทางศาสนาที่ยังคงคุกคามความมั่นคงของประเทศ

พระประมาณ 12 รูป และผู้สนับสนุนอีกจำนวนหนึ่งรวมตัวกันในบ่ายวันศุกร์ (28) ใกล้กับโรงเรียนสอนศาสนา 2 แห่ง ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจยืนสังเกตการณ์อยู่ใกล้ ขณะที่ผู้ชุมนุมเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นปิดอาคารเหล่านี้ หลังผ่านไป 3 ชั่วโมง การชุมนุมยุติลงเมื่อเจ้าหน้าที่ตกลงที่จะอนุญาตให้พวกเขาล่ามประตูทางเข้าอาคารทั้งสองหลัง ที่ผู้ชุมนุมประท้วงอ้างว่าก่อสร้างผิดกฎหมาย

ความตึงเครียดระหว่างชาวพุทธที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ และชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมขยายตัวขึ้นมากหลังความขัดแย้งรุนแรงปะทุขึ้นระหว่างชาวพุทธยะไข่ และชาวมุสลิมโรฮิงญาในปี 2555 ในรัฐยะไข่ ทางตะวันตกของประเทศ ที่ชาวโรฮิงญาถูกกล่าวหาว่าลอบเข้าประเทศอย่างผิดกฎหมายจากบังกลาเทศ

“สิ่งที่เกิดขึ้นวันนี้เป็นเรื่องเศร้ามาก ผมรู้สึกเหมือนพวกเขากำลังกลั่นแกล้งศาสนาของเรา โรงเรียนนี้สร้างขึ้นมานานหลายปีแล้ว และพวกเราก็ช่วยกันดูแลรักษามาตลอด” ทิน ฉ่วย แกนนำชุมชนชาวมุสลิม กล่าว

กลุ่มองค์กรสงฆ์มะบะธา เป็นหัวหอกนำประท้วงต่อต้านชาวมุสลิม ซึ่งผู้นำกลุ่มถูกกล่าวหาว่ายั่วยุปลุกปั่นการชุมนุมรุนแรงที่ทำให้ชาวมุสลิมเสียชีวิต และทรัพย์สินเสียหายไปทั่วประเทศ

กิจกรรมต่อต้านมุสลิมส่วนใหญ่เกิดขึ้นนอกนครย่างกุ้ง ที่ดูเหมือนจะเป็นความเคลื่อนไหวที่มีการประสานงานกัน เช่น เหตุการณ์ในปีก่อน นักเคลื่อนไหวต่อต้านมุสลิมได้กดดันเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นให้ประกาศว่าสิ่งปลูกสร้างทางศาสนาของชาวมุสลิมเป็นสิ่งผิดกฎหมาย และรื้อถอน ซึ่งในบางกรณีนักเคลื่อนไหวเข้ายึด หรือรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเหล่านั้นด้วยตัวเอง

สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันศุกร์ (28) กับโรงเรียนสอนศาสนานับเป็นเรื่องผิดปกติ เพราะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนครย่างกุ้ง และการบังคับปิดสถานที่เช่นนี้ก็เกิดขึ้นได้ยาก

แม้ความเคลื่อนไหวของกลุ่มมะบะธา ดูเหมือนจะลดลงใชช่วงไม่กี่ปีมานี้ แต่สถานการณ์ความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ในรัฐยะไข่ ยังคงไม่ได้รับการแก้ไข

ชาวมุสลิมโรฮิงญามากกว่า 100,000 คน อาศัยอยู่ในค่ายผู้พลัดถิ่นที่พวกเขาย้ายเข้าไปอยู่หลังเกิดเหตุความรุนแรงในปี 2555 ซึ่งรัฐบาลยังคงปฏิเสธที่จะให้สิทธิพลเมืองแก่ชาวโรฮิงญา แม้หลายคนจะอาศัยอยู่ในพม่ามาหลายชั่วอายุคนก็ตาม

ความรุนแรงยิ่งร้อนแรงขึ้นเมื่อปลายปีก่อน เมื่อกลุ่มก่อความไม่สงบชาวโรฮิงญาเปิดฉากโจมตี จนนำไปสู่การปราบปรามของทหาร และนำมาซึ่งการกล่าวหาว่ากองกำลังรักษาความมั่นคงของรัฐละเมิดสิทธิมนุษชนอย่างรุนแรง.
.
<br><FONT color=#000033>เจ้าหน้าที่ตำรวจและกลุ่มชาวพุทธชาตินิยม ยืนอยู่ใกล้โรงเรียนสอนศาสนาของชาวมุสลิม ซึ่งพระสงฆ์และกลุ่มผู้สนับสนุนชาตินิยมอ้างว่าอาคารเหล่านี้สร้างผิดกฎหมาย. -- Associated Press/Thein Zaw.</font></b>
.
<br><FONT color=#000033>เจ้าหน้าที่ตำรวจยืนเฝ้าสถานการณ์ขณะชาวพุทธชาตินิยมและเจ้าหน้าที่เข้าปิดโรงเรียนสอนศาสนาของชาวมุสลิม ชานนครย่างกุ้ง วันที่ 28 เม.ย. -- Associated Press/Thein Zaw.</font></b>
.
กำลังโหลดความคิดเห็น