xs
xsm
sm
md
lg

เลขาธิการอาเซียนชี้แนวปฏิบัติในทะเลจีนใต้กับจีนต้องมีผลผูกพันทางกฎหมาย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>เล เลือง มีง เลขาธิการอาเซียน. -- Agence France-Presse/Roslan Rahman.</font></b>

รอยเตอร์ - แนวปฏิบัติทางทะเลระหว่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจีนต้องมีผลผูกพันทางกฎหมายเพื่อยุติ “การกระทำเพียงฝ่ายเดียว” ในทะเลจีนใต้ เพราะข้อตกลงร่วมกันของกลุ่มก่อนหน้านี้ที่จะปฏิบัติอย่างยุติธรรมถูกละเลย เลขาธิการอาเซียนระบุวันนี้ (28)

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ไม่ได้รับการรับรองใดๆ จากจีน ในการหารือที่จะสร้างกรอบการทำงานของแนวทางปฏิบัติภายในปีนี้ แต่อาเซียนหวังให้กฎระเบียบชุดนี้สามารถตกลงกันได้เพื่อยับยั้งข้อพิพาท และการเสริมแสนยานุภาพทางทหาร เล เลือง มีง กล่าวต่อรอยเตอร์

“สำหรับอาเซียน กรอบการทำงานต้องมีองค์ประกอบที่เป็นรูปธรรม และแนวทางปฏิบัติต้องมีผลผูกพันทางกฎหมาย” เลขาธิการอาเซียน กล่าว

การลงนามของจีนต่อแนวทางปฏิบัติที่ต้องปฏิบัติตาม และสามารถบังคับใช้ได้ เป็นเป้าหมายยาวนานของชาติสมาชิกที่เรียกร้อง ซึ่งประกอบด้วยเวียดนาม ฟิลิปปินส์ บรูไน และมาเลเซีย ซึ่งจีนนั้นอ้างสิทธิอธิปไตยเหนือพื้นที่เกือบทั้งหมดของทะเลจีนใต้

การตัดสินใจเมื่อไม่นานนี้ของจีนที่จะทำงานร่วมกับอาเซียนในการร่างกรอบการทำงานของแนวปฏิบัติ เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ปักกิ่งเร่งพัฒนาเกาะเทียม 7 แห่ง ในหมู่เกาะสแปรตลีย์ จีนได้ติดตั้งเรดาร์ รันเวย์ โรงเก็บเครื่องบิน และจรวดบนบางส่วนของเกาะเทียมเหล่านั้น ซึ่งก่อให้เกิดความวิตกเกี่ยวกับความตั้งใจในระยะยาว

กรอบการทำงานที่ทุกฝ่ายหวังให้เสร็จสิ้นในปีนี้ พยายามที่จะให้ปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้ปี 2545 (DOC) มีความคืบหน้า ที่มุ่งมั่นจะปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศเพื่อรับประกันเสรีภาพในการเดินเรือ และไม่นำคนไปอยู่บนเกาะร้าง หรือภูมิประเทศต่างๆ ในทะเลจีนใต้

“มันเป็นสิ่งสำคัญ เพราะสถานการณ์ที่ซับซ้อนในทะเลจีนใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถมทะเล และกิจกรรมเสริมแสนยานุภาพทางทหาร และทุกการกระทำฝ่ายเดียวเหล่านั้น” มีง กล่าวถึงแนวปฏิบัติในทะเลจีนใต้

“ในบริบทดังกล่าว สิ่งจำเป็นสำหรับเครื่องมือคือ การมีผลผูกพันทางกฎหมาย ซึ่งมีความสามารถไม่เพียงแค่การป้องกัน แต่ยังสามารถจัดการเหตุการณ์เหล่านั้นได้ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก” เล เลือง มีง กล่าว

เมื่อถูกถามว่าจีนได้รับรองว่าจะยึดตามแนวปฏิบัติใดๆ ก็ตามที่เห็นชอบหรือไม่ มีงกล่าวว่า “เราไม่ได้การรับรองใดๆ เราเพียงแค่ต้องพยายามอย่างดีที่สุด”

มีง กล่าวว่า แนวปฏิบัติในทะเลจีนใต้จำเป็นต้องครอบคลุมมากกว่าปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้ (DOC) ที่เป็นเพียงการประกาศทางการเมืองเท่านั้น

“เป็นเรื่องดีหากทุกฝ่ายกำลังดำเนินการตามสิ่งที่ตกลงกันไว้ แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นสำหรับแนวปฏิบัติในทะเลจีนใต้ เราต้องการเครื่องมือที่มีผลผูกพันทางกฎหมาย” มีง กล่าว.
กำลังโหลดความคิดเห็น