MGRออนไลน์ -- ภาพชุดเรียกน้ำตามาอีกแล้ว.. คราวนี้มาพร้อมด้วยวิดีโอ และ มาจากแขวงหัวพัน ฐานที่มั่นปฏิวัติในอดีต หนูน้อยกลุ่มชาติพันธุ์ 3-4 คน นั่งขายหน่อไม้ป่า อยู่ริมทางท่ามกลางความหนาวเย็น ในเขตป่าเขาห่างไกล ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ หลังฝนหยุดตกใหม่ๆ ได้ทำให้เกิดภาพที่น่าสงสารขึ้นมา ชาวลาวออนไลน์จำนวนมากที่ได้เห็นได้ชม หลายคนสารภาพว่า กลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่ มันทำให้ต้องหวลไปนึกถึง อดีตของตนเองในเยาว์วัย ที่ตกระกำลำบากไม่แพ้กัน
หลายคนแสดงเห็นอกเห็นใจ ให้กำลังใจ ชื่นชมความมานะพยายามของเด็กๆ ที่ช่วยเหลือพ่อแม่ผู้ปกครอง ทำมาหาเลี้ยงชีพอย่างขยันขันแข็ง ไม่แพ้ผู้ใหญ่ และ หลายคนวิงวอน ให้ใครก็ได้ช่วยเหลือเด็กๆ เหล่านั้น นับเป็นอีกครั้งหนึ่งที่ภาพ "เด็กทำงาน" หรือ Working Children ในเขตชนบทของ สปป.ลาว สามารถสร้างความตื่นตัว รวมทั้งความหวั่นไหว อย่างมีพลัง ในหมู่ผู้เสพสื่อประชาสังคมชาวลาว
เมื่อต้นปีนี้ภาพเด็กหญิงหน้าตามอมแมม นั่งขายหน่อไม้ริมทางหลวงเลข 13 เหนือ ซึ่งผู้ใช้ชื่อในเฟซบุ๊กว่า Kham Kham ไปพบเห็น ถ่ายทำและนำออกเผยแพร่ สามารถเรียกน้ำตา ชาวลาวออนไลน์ได้นับพันๆ คนเลยทีเดียว
แต่หลายคนก็มองภาพเหล่านี้ ในแง่เป็นแรงบันดาลใจ ทำให้เกิดความหึกเหิมในการสู้ชีวิต..
คลิปกับภาพถ่ายล่าสุด ถ่ายทำโดยอะนุพน พมฮักสา นักเดินทางและช่างกล้องมืออาชีพ ที่นำออกเผยแพร่วันที่ 23 เม.ย.ที่ผ่านมา กำลังส่งผลกระทบในวงกว้าง ไม่แพ้กัน เจ้าตัวบอกว่าผ่านไปพบเด็กหญิงกลุ่มนี้ นั่งขายหน่อไม้ป่า หรือ "หน่อลัน" อยู่ริมทางหลวง ในแขวงหัวพัน เขตฐานที่มั่นปฏิวัตในอดีต ของขบวนการปะเทดลาวและพรรคประชาชนปฏิวัติลาว เขาได้แวะซื้อเหมาหน่อลันทั้งหมด ได้สนทนากับเด็กๆ รวมทั้ง ให้เจลลี่รสหวานยี่ห้อหนึ่ง แก่ทุกๆ คนด้วย
.
อะนุพนไม่ได้ให้รายละเอียดว่า ภาพกับคลิปชิ้นนี้ถ่ายเมื่อไร แต่ทำให้เข้าใจว่า อาจจะถ่ายในช่วงเทศกาลขึ้นปีใหม่ 13-17 เม.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งเขากับคณะเดินทางขึ้นเหนือ เพื่อเยี่ยมเยือนโรงเรียนหนึ่ง ในโครงการถ่ายภาพ Laos Children : 1,000 Faces หรือ โครงการ 10,000 รูปภาพเพื่อเด็กๆ
จนถึงวันนี้คลิปมียอดแชร์มากกว่า 2,300 ครั้ง ยอดผู้เข้าชมกว่า 209,000 ยังไม่รวมจากแหล่งอื่นๆ สื่ออื่นๆ ที่มีจำนวนผู้เขียนแสดงความคิดเห็นอีกนับพันๆ ที่มีทั้งชาวลาวในสหรัฐ และ ประเทศอื่น รวมทั้งชาวไทยรวมอยู่ด้วยเป็นจำนวนมาก
"ເປັນຕາອີ່ຕົນເນາະ. ເດັກນອ້ຍກະໝ້າຮັກ ໄຄແດ່ເຈີຄົນໃຈບຸນ.ມາຊື້ຊວ່ຍຈົນມົດ ແລ້ວຍັງແຖມປີໂປ້ໃຫ້ ນ້ອງນຳອີກ ທຳດີກະໃດ້ດີ .ໃຜຜ່ານໄປທາງນັ້ນ ແລ້ວຊື້ຊວ່ຍເດັກນອ້ຍແຖວນີ້ແດ່ເດີ" นาง ເພັດ ສີວົງສາ เอ่ยสงสารเด็กในเฟซบุ๊กหนังสือพิมพ์ปะเทดลาว ทั้งวิงวอนไปยังเพื่อนร่วมชาติ ให้ช่วยกันอุดหนุนเด็กๆ
"Thanks for helping my children in poor areas. If the government is willing to do this jobs, anything will go very well." Hue Yang ชาวม้งอพยพ เขียนจากรัฐมินเนโซตา สหรัฐฯ ขอบคุณที่ช่วยเหลือเด็กๆ ในเขตดินแดนบ้านเกิดของตน รวมทั้งโยนความรับผิดชอบ ให้ทางรัฐบาล ซึ่งเขาบอกว่า ถ้าหากรัฐบาลเต็มใจ ทำหน้าที่นี้ ทุกอย่างก็จะดีขึ้น
.
2
แต่ไรมาภาพถ่ายหรือวิดีโอคลิปของอะนุพนกับเพื่อนๆ ร่วมคณะ แสดงให้เห็นการทุ่มเทแรงกายใจ ถ่ายทอดให้เห็นความสวยงามทางธรรมชาติของบ้านเกิดเมืองนอน และ วิถีชีวิตของชาวลาวนับแสน นับล้าน ที่อาศัยอยู่ในชนบท ห่างไกล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคเหนือของประเทศ แต่ที่สามารถเรียกน้ำตา จากประชาคมออนไลน์ได้มากที่สุด เห็นจะเป็นภาพชีวิตเด็กๆ ไร้เดียงสา ในท้องถิ่นทุละกันดารมากที่สุด และ ขาดแคลนสรรพสิ่ง เด็กๆหลายคนทำงานหนักเกินวัย และ มีภาระรับผิดชอบหนักหนาสาหัส
หลายครั้งในช่วงปีใกล้ๆ นี้ อะนุพนกับเพื่อนๆ ได้ออกเดินทางมุ่งสู่โรงเรียนในถิ่นทุละกันดาร นำสิ่งของที่มีผู้สมทบทุนบริจาค รวมทั้งที่ซื้อเองเป็นจำนวนมาก ไปฝากนักเรียน ในโรงเรียนห่างไกล และขาดแคลน แม้แต่ห้องเรียนที่มีสภาพเหมือนเล้าไก่ หลายครั้งเช่นกัน ที่ตัวเขาเองกับเพื่อนๆ เรียกร้องไปยังทั้งทั้งสังคม ให้ช่วยกันดูแลลูกหลาน ที่ต้องการแทบจะทุกอย่าง ตั้งแต่สมุดดินสอ เครื่องเขียน แบบเรียน รวมทั้งเสื้อผ้า อาหารด้วย
ครั้งนี้ก็เช่นกัน อะนุพนกับเพื่อนๆ ได้กลับไปเยือนโรงเรียนหลังหนึ่ง นำของไปฝากเด็กๆ เหล่านั้นมากมาย เขากล่าวว่าเป็นครั้งแรก ที่เด็กนักเรียนน้อย ทักทายพร้อมกันด้วยคำว่า "สบายดี"
ครั้งนี้คณะของหนุ่มสาวจากนครเวียงจันทน์ ได้ทำกิจกรรมพิเศษ ถ่ายภาพให้แก่เด็กๆ ทุกคน และ พิมพ์ออกมาเป็นรูปภาพ สำหรับทุกคน ท่ามกลางรอยยิ้มแห่งความดีใจ ตื้นตัวใจ และ มีอาการตื่นเต้นอย่างสุดขีด
สำหรับเด็กๆ หลายคนที่นั่น อาจเป็นครั้งแรกที่ได้มีรูปภาพส่วนตัว เป็นของตน และ ได้เห็นตัวเองในสีสัน .. ในอิริยาบถเดียวกันกับที่คนอื่นๆ เห็น โดยที่ไม่เคยได้เห็นมาก่อน ซึ่งไม่ต่างกับชาวลาวนับแสนนับล้าน ที่อาศัยอยู่ในเขตเมือง ที่หลายคนอาจจะไม่เคยเห็นสภาพของเด็กๆ ยากไร้เช่นนี้มาก่อน.
*ภาพทั้งหมดโดยอะนุพน พมฮักสา กับคณะ*
.
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
21