xs
xsm
sm
md
lg

จีนเสนอตัวเป็นคนกลางสางปัญหาโรฮิงญาพม่า-บังกลาเทศ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาเดินเรียงแถวขนน้ำดื่มไปยังที่พักในค่ายผู้ลี้ภัยในเมืองคอกซ์บาซาร์ บังกลาเทศ เมื่อวันที่ 10 ก.พ. นับตั้งแต่เหตุความรุนแรงปะทุขึ้นในรัฐยะไข่เมื่อปีก่อน ทำให้ชาวโรฮิงญาอพยพหลบหนีความรุนแรงเข้ามาในฝั่งเขตแดนของบังกลาเทศเป็นจำนวนมาก ซึ่งทั้งสองประเทศต่างมองว่าชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมกลุ่มนี้เป็นปัญหาของอีกฝ่ายหนึ่ง. -- Reuters/Mohammad Ponir Hossain.</font></b>

รอยเตอร์ - จีนเสนอที่จะช่วยจัดการข้อพิพาททางการทูตระหว่างบังกลาเทศและพม่าเกี่ยวกับชะตากรรมของชนกลุ่มน้อยโรฮิงญา เจ้าหน้าที่ 2 คน ของกระทรวงการต่างประเทศบังกลาเทศเผย

ชาวโรฮิงญาราว 69,000 คน ได้อพยพเข้ามาในบังกลาเทศเพื่อหลบหนีความรุนแรงในพม่าตั้งแต่เดือน ต.ค. เหตุการณ์ที่บั่นทอนความสัมพันธ์ของสองประเทศเพื่อนบ้านที่ต่างฝ่ายมองว่าชนกลุ่มน้อยมุสลิมไร้สัญชาติกลุ่มนี้เป็นปัญหาของอีกประเทศหนึ่ง

ซุน กั๋วเสียง ทูตพิเศษของจีน ที่เดินทางเยือนบังกลาเทศเป็นเวลา 4 วัน ได้เรียกร้องให้กรุงธากาแก้ไขข้อขัดแย้งกับพม่า และเสริมว่า ปักกิ่งพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือในเรื่องนี้ เจ้าหน้าที่ของกระทรวงต่างประเทศบังกลาเทศกล่าวต่อรอยเตอร์ ซึ่งทูตพิเศษของจีนได้เสนอความเห็นดังกล่าวนี้ระหว่างพบหารือกับรัฐมนตรีต่างประเทศของบังกลาเทศ

“ผู้แทนจากจีนได้บอกแก่เราในที่ประชุมว่า พวกเขาพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือหากจำเป็น” เจ้าหน้าที่บังกลาเทศ กล่าว

จีนมีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับทั้งพม่า และบังกลาเทศ ที่ให้ความช่วยเหลือในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในทั้งสองประเทศ โดยความสัมพันธ์ระหว่างจีน และพม่าเริ่มอบอุ่นขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่ประธานาธิบดีถิ่นจอ บรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับท่อส่งน้ำมันระหว่างสองประเทศที่เจรจามานานเกือบ 10 ปี

ส่วนในบังกลาเทศนั้น ปักกิ่งให้การสนับสนุนทั้งโครงการสร้างถนน และโรงไฟฟ้า รวมทั้งการจัดหายุทโธปกรณ์ทางทหาร

ระหว่างการหารือในวันอังคาร (25) รัฐมนตรีต่างประเทศของบังกลาเทศได้กล่าวต่อทูตพิเศษของจีนว่า บังกลาเทศมีความยินดีต่อความพยายามของจีนที่จะจัดการปัญหาของบังกลาเทศกับพม่าอันเนื่องจากการไหลบ่าของโรฮิิงญาเข้ามาในบังกลาเทศ

กรุงธากา ยังได้เสนอว่า ซุน กั๋วเสียง เดินทางไปเมืองคอกซ์บาซาร์ ที่อยู่ใกล้พรมแดนพม่า เพื่อดูชะตากรรมของผู้คนหลายหมื่อนคนที่อาศัยอยู่ในค่ายผู้อพยพบริเวณนั้น หลังจากทูตจีนประจำบังกลาเทศได้เดินทางไปเยี่ยมค่ายโรฮิงญาในเดือน มี.ค.

พม่าเผชิญต่อการวิพากษ์วิจารณ์จากต่างชาติมากขึ้น เกี่ยวกับเหตุความรุนแรงต่อชาวโรฮิงญาที่ปะทุครั้งล่าสุด ที่รัฐบาลพม่ายอมรับว่า ทหารบางส่วนอาจก่ออาชญากรรม แต่ปฏิเสธข้อกล่าวหาพม่าดำเนินการล้างเผ่าพันธุ์โรฮิงญา.
กำลังโหลดความคิดเห็น