xs
xsm
sm
md
lg

กองทัพพม่าอวดลูกยาว "โซลตัม" ป.155/45 มม.ใหม่เอี่ยมจากอิสราเอล ซื้อเยอะกว่าไทยอีก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#00003>ภาพนี้ปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ หนังสือพิมพ์เมียะวดีของกองทัพ และ เป็นเพียงภาพเดียวที่แสดงให้เห็น ปืนใหญ่ลากจูง 155 มม.45 แคลิเบอร์ ที่ผลิตในอิสราเอล โดยโซลตัม (Soltam) เมื่อก่อน ซึ่งกลายเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเอลบิตซีสเต็มส์ (ElbitSystems) ในปัจจุบัน เป็นปืนรุ่นก่อน M-71 โซลตัม 155/39 ที่กองทัพบกไทยกำลังนำขึ้นรถ 6X6 ล้อยางเป็นอัตตาจรในขณะนี้ ของพม่าเป็นรหัส M-845P รุ่นเก่ากว่า แต่พัฒนาให้ทันสมัย ติดระบบจีพีเอสควบคุมและติดตามผลการยิง ลำกล้องยาวกว่า น้ำหนักมากกว่า และ แพงกว่าของไทยอีกด้วย. </b>

MGRออนไลน์ -- พม่านำปืนใหญ่โซลตัม M-84 ขนาด 155 มม. 45 แคลิเบอร์ ออกร่วมขบวนในงานสวนสนามครบรอบปีที่ 72 ของกองทัพ ตอนเช้าวันจันทร์ 27 มี.ค.ที่ผ่านมา นับเป็นอาวุธชนิดใหม่ล่าสุดของกองทัพบก และ เป็นการนำปืนใหญ่รุ่นใหญ่ ออกแสดงให้เห็นเป็นครั้งแรก ตั้งแต่นำ ป. SH1 อัตตาจร 155มม./L52 ที่ซื้อจากจีน เข้าร่วมขบวนพาเหรดวันครบสำคัญนี้ เมื่อ 3 ปีที่แล้ว

กองทัพพม่ายุคใหม่ ได้นำอาวุธยุทโธปกรณ์ ทั้งใหม่และเก่าออกแสดง ระหว่างการสวนสนามเนื่องในวันก่อตั้ง ที่จัดขึ้นวันที่ 27 มี.ค. เป็นประจำทุกปี ตลอดหลายปีมานี้ และ ในปีนี้สามารถกล่าวได้ว่า ป.155/45 รุ่นใหม่ ที่จัดหาจากอิสราเอล ได้กลายเป็นไฮไล้ท์สำคัญ นอกเหนือจากระบบอาวุธปล่อยนำวิถี ต่อสู้อากาศยานหลากหลายรุ่น ทั้งที่ผลิตในรัสเซีย จีนและเบลารุส รถถังและอากาศยาน อีกจำนวนหนึ่ง ทั้งที่ได้มาใหม่ และ ที่เคยเห็นกันมาก่อน

ต่างไปจาก M-71 Soltam แบบลากจูงของกองทัพบกไทย ที่จัดหามาตั้งแต่ 30 ปีที่แล้ว และ เป็นขนาด 155 มม. 39 แคลิเบอร์ ปืนใหญ่โซลตัมของพม่า เป็นแบบลากจูง รหัส M-845P ขนาด 155/45 ซึ่งเป็นรุ่นพิเศษ แตกต่างจาก M-84 มาตรฐาน ที่เป็นขนาด 155/33 ข้อมูลของบริษัทผู้ผลิต ยังบ่งชี้ว่ามีการผลิต M-845P ขนาด 155/52 ออกมาอีกด้วย แต่ไม่มีการระบุชื่อลูกค้าใช้อยู่ในปัจจุบัน

นั่นคือ M-845P มีลำกล้องยาวกว่า และ น้ำหนักมากกว่า M-84 ทั่วไป รวมทั้ง M-71 ที่กองทัพบกไทยจัดหารวม 32 ชุด/ระบบ และ กำลัง พัฒนาขึ้นเป็นปืนใหญ่อัตตาจร" ทั้งหมด โดยดำเนินการติดตั้ง บนยานล้อยาง 6X6 ในขณะนี้

เว็บไซต์ข่าวกลาโหมแห่งหนึ่งให้ข้อมูลด้านราคาว่า M-71 จำหน่ายชุด/ระบบละ 42,000 ดอลลาร์ ในขณะที่ M-845P ราคา 62,000 ดอลลาร์ คือ ระบบของพม่าแพงกว่า M-71 ของไทย 2 หมื่นดอลลาร์ ทั้งนี้่เป็นราคาตั้ง หรือ Face Price ต่อชุด/ระบบ ไม่ใช่ราคาจำหน่ายเป็นล็อต

M-845P ออกแบบและผลิตมา พร้อมแพล็ตฟอร์มล้อยาง 4X4 สำหรับเคลื่อนย้าย และ ตั้งบนพื้น ช่วยให้มีเสถียรภาพในการยิง โดยแพล็ตฟอร์มนี้ ใช้ควบคุมการก้มเงย หรือแพนลำกล้อง ทั้งด้วยกลไก และ ปรับด้วยมือ หรือ "แมนน่วล" และ สามารถแยกแพล็ตฟอร์มออกจากปืนได้

ข้อดีของ M-845P ยังรวมถึง การลดจำนวนพลควบคุมลงเหลือเพียง 4 คน เทียบกับ 6-8 คน สำหรับ M-71 และ M-84 ลากจูงทั่วไป

พม่าจัดหาปืนใหญ่โซลตัมเป็นล็อตใหญ่ รวม 72 ชุด/ระบบ การเซ็นความตกลงเกี่ยวกับเรื่องนี้ มีขึ้นหลังจากพลเอกอาวุโสมินอองหล่าย ผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพ เดินทางเยือนอิสราเอล ในเดือน ก.ย.2558 ครั้งนั้นได้ไปเยี่ยมชมอุตสาหกรรมอาวุธ ของอิสราเอล ที่เมืองท่าไฮฟา (Haifa) ด้วย และ นำมาสู่ การจัดซื้อเรือเร็วติดปืนจำนวนหนึ่ง ในเวลาต่อมา

แต่สำหรับปืนใหญ่นับเป็นเซอร์ไพรส์ เนื่องจากไม่เคยมีข่าวคราวเกี่ยวกับเรื่องนี้ อีกทั้งยังไม่มีในรายงานของ SIPRI (Stockholm Internataional Peace Research Institute) ซึ่งเป็นองค์การอิสระ ศึกษาวิจัยเพื่อสันติภาพ ในสวีเดน นอกจากนั้นก็ยังไม่เคยมีการเปิดเผย ทั้งจากฝ่ายจัดหาและฝ่ายจัดให้
.


อย่างไรก็ตาม เว็บไซต์ข่าวกลาโหม ที่มีความใกล้ชิดกลุ่มอุตสาหกรรมอาวุธอิสราเอล ระบุว่า ตั้งแต่ปลายปี 2558 เป็นต้นมา พม่าได้รับมอบ M-845P จากกลุ่มเอลบิตซิสเต็มส์ (Elbit Systems) ผู้ผลิต จำนวน 12 ชุด โดยได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงกลาโหมอิสราเอล ทั้งหมดถูกพัฒนาระบบควบคุมการยิงให้ทันสมัย ผ่านระบบจีพีเอส เช่นปืนยุคใหม่ทั่วไป

M-845P ยิงกระสุนได้หลายชนิด เช่นเดียวกันกับ M-71 สเป็กจากโรงงานระบุระยะยิงไกลสุด 23.5 กิโลเมตร เท่าๆ กันกับ M-71 และ ไกลกว่าเล็กน้อย เทียบกับ M-84 155/33 ที่ระยะยิงไกล 21 กม.

M-845P น้ำหนัก 9.5 ตัน หนักกว่า M-71 ราว 300 กิโลกรัม สามารถถอกแยกจากแพล็ตฟอร์มที่ยึดเหนี่ยวได้ เพื่อเคลื่อนย้ายทางอากาศโดยใช้เฮลิคอปเตอร์ยก ช่วยเพิ่มอำนาจการยิงระยะไกลให้แก่กองทัพ มากขึ้นอีกหลายเท่า

กองทัพบกพม่ามีปืนใหญ่สนามหลากหลายขนาดและแคลิเบอร์ ทั้งเก่าและใหม่ ทั้งที่ผลิตในอดีตสหภาพโซเวียต ชาติยุโรปตะวันออกอีกบางประเทศ และจีน รวมทั้งที่ผลิตจากโลกตะวันตก คืออังกฤษและสหรัฐ ผ่านการจัดหามาในหลายยุคหลายสมัย นอกจากนั้นยังจัดหา ป.155 มม.ลากจูงแบบ KH-179 จากเกาหลีอีกหลายสิบชุด/ระบบ เมื่อไม่กีปีมานี้

แต่จุดเปลี่ยนในเรื่องระบบปืนใหญ่ของพม่า อาจจะเริ่มจริงๆ เมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว ที่มีการจัดหา ป.155/52 แบบ SH-1 ที่ผลิตโดยกลุ่มโนรินโค (Norinco) ของจีน เป็นการเปลี่ยนรูปแปลงโฉม การยิงระยะไกลครั้งสำคัญ ทั้งนี้มิใช่เพียงแต่เป็น ป.อัตตาจร ระบบแรกของกองทัพ หากยังเป็นระบบที่ใช้กระสุนมาตรฐานนาโต้ เช่นเดียวกันกับ M-845P ที่จัดหาล่าสุด

โนรินโคผลิต SH-1 เพื่อส่งออก เจาะกลุ่มตลาดอาวุธมาตรฐานนาโต้โดยเฉพาะ พม่ากลายเป็นลูกค้ารายแรก ก่อนปากีสถานจะซื้อล็อตใหญ่ในเวลาต่อมา โดยไม่เปิดเผยจำนวนอันแท้จริง และ สำหรับพม่าได้กลายเป็นปืนใหญ่ประสิทธิภาพสูงที่สุด ยิงไกลที่สุดเท่าที่เคยจัดหา

สำนักข่าวกลาโหมของโลกตะวันตกบางแห่ง ยกย่องให้ SH-1 เป็นคู่แข่ง ที่ "ใกล้ที่สุด" ของระบบซีซาร์ (Caesar) ที่ผลิตโดยกลุ่มเน็กซ์เตอร์ (Nexter) แห่งฝรั่งเศส แบบเดียวกับที่กองทัพบกไทยมีอยู่ 6 ชุด/ระบบ ในปัจจุบัน และ อินโดนีเซียเป็นลูกค้ารายที่ 2 ในย่านนี้ โดยจัดหา 2 รอบ รวม 55 ชุด

HS-1 มีน้ำหนักรวม 22.5 ตัน สเป็กของโนรินโคระบุระยะยิงไกลสุด 30 กม.ด้วยกระสุน "ฟูลบอร์" มาตรฐานนาโต้ และ ไกลสุด 53 กม. ด้วยกระสุนนำวิถี ที่ใช้จรวดขับดัน เทียบกับซีซาร์ฝรั่งเศสที่หนัก 17.7 ตัน ระยะยิงไกล 42 กม. และ ไกลกว่า 50 กม. ด้วยกระสุนพิเศษชนิดเดียวกัน

ระบบอัตตาจรของจีนแล่นได้เร็วสุด 90 กม./ชม. ส่วนของฝรั่งเศส 100 กม./ชม. บนท้องถนน และ 50 กม./ชม. ในโหมดอ๊อฟโร้ด ทั้งสองระบบสามารถขนส่งไปไหนมาไหนได้ ด้วยเครื่องบินขนส่งขนาดกลาง เช่น C-130 ของสหรัฐ และ A400M ของค่ายแอร์บัสแห่งยุโรป
.
<br><FONT color=#00003>ขบวนปืนใหญ่ SH-1 อัตตาจร ขนาด 155/52 แล่นที่บริเวณลานมหาราช เมืองเพียงมะนา (Pyangmana) อันเป็นส่วนหนึ่่งของกรุงเนปีดอ ระหว่างพิธีสวนสนามครบรอบ 72 ปีกองทัพ 27 มี.ค. ที่ผ่านมา. -- Myawady. </b>
2
<br><FONT color=#00003>ขบวนปืนใหญ่ SH-1 อัตตาจร ขนาด 155/52 แล่นที่บริเวณลานมหาราช เมืองเพียงมะนา (Pyangmana) อันเป็นส่วนหนึ่่งของกรุงเนปีดอ ระหว่างพิธีสวนสนามครบรอบ 72 ปีกองทัพ 27 มี.ค. ที่ผ่านมา. -- Myawady. </b>
3
<br><FONT color=#00003>ขบวนปืนใหญ่ SH-1 อัตตาจร ขนาด 155/52 แล่นที่บริเวณลานมหาราช เมืองเพียงมะนา (Pyangmana) อันเป็นส่วนหนึ่่งของกรุงเนปีดอ ระหว่างพิธีสวนสนามครบรอบ 72 ปีกองทัพ 27 มี.ค. ที่ผ่านมา. -- Myawady. </b>
4
<br><FONT color=#00003>ขบวน ป.155 มม.อัตตาจร SH-1 กำลังผ่านปรัมประธานพิธี เราได้เคยเห็นปืนใหญ่รุ่นนี้เป็นครั้งแรก ในปี 2558 พม่าซื้อจากจีนทั้งหมด 78 ชุด ยังคงทะยอยส่งมอบ. -- เฟซบุ๊ก พล.อ.อาวุโสมินอองหล่าย. </b>
5
<br><FONT color=#00003>ป.155 มม. อัตตาจร SH-1 เคลื่อนอยู่เบื้องพระพักตร์ ปฐมบรมกษัตริย์ทั้ง 3 พระองค์ .. ขลัง เปี่ยมด้วยพลังอำนาจ. -- Associated Press/Aung Shine Oo. </b>
6
<FONT color=#00003>พล.อ.อาวุโสมินอองหล่าย ได้รับความเคารพยกย่องจากสาธารณชนเป็นอย่างสูง ฐานเป็นผู้นำในการพัฒนากองทัพ เข้าสู่ยุคใหม่ ทันสมัยและโปร่งใสยิ่งกว่าเดิม.  -- Associated Press/Aung Shine Oo. </b> </b>
7
  -- Associated Press/Aung Shine Oo. </b> </b>
8
<FONT color=#00003>Associated Press/Aung Shine Oo </b>
9
<FONT color=#00003>Myawady </b>
10
<FONT color=#00003>Myawady </b>
11
<br><FONT color=#00003>ตามรายงานของสื่อทางการ ปีนี้ MBT2000 จากจีน และ T-72 รัสเซีย ที่ซื้่อจากยูเครนหลายปีก่อน ออกงานอีกเช่นเคย. -- Myawady. </b>
12
<br><FONT color=#00003>หน่วย แมวน้ำ กองทัพเรือ โชว์การโรยตัว ลงจาก Mi-17 ทักษะนี้สำคัญยิ่งยวด ทั้งในการรบและในภารกิจช่วยเหลือกู้ภัยทั่วไป.  -- Myaway. </b>
13
<br><FONT color=#00003>Shaanxy Y-8 นำขบวน ฟลายบาย เคารพประธานในพิธี ปัจจุบันกองทัพอากาศมีอยู่ 6 ลำ และ เพิ่งได้รับมอบ Y-12 อีก 1 ลำเดือน ต.ค.ปีที่แล้ว เป็นลำที่สอง.  -- Associated Press/Aung Shine Oo. </b>
14
<br><FONT color=#00003>ขบวนจรวดอัตตาจร S-125 เนว่า/เปชอรา รัสเซีย นำหน้าจรวด KS-1A เมดอินไชน่า ซีรีส์เดียวกันกับของไทย ที่พัฒนามาไกลกว่า ภายใต้รหัส KS-1CM ภาพนี้จากพิธีสวนสนาม 27 มี.ค.2558. -- Reuters/Soe Zeya Tun.  </b>
15
<br><FONT color=#00003>จรวดนำวิถีต่อสู้อากาศยาน 2K12ME หรือ  ควาดรัต (Kvadrat) จากเบลารุส ออกงานเป็นปีที่ 2 แล้ว. -- Associated Press/Aung Shine Oo. </b>
16
<br><FONT color=#00003>ขบวนเรดาร์-อิเล็กทรอนิกส์ เป็นคู่แฝดกับขบวนจรวดนำวิถี เรื่องแบบนี้พม่าไม่เคยหวงไว้ดูคนเดียว. -- Myawady. </b>
17
<FONT color=#00003>Associated Press/Aung Shine Oo</b>
18
<FONT color=#00003>Associated Press/Aung Shine Oo</b>
19
การสวนสนามตอนเช้าวันจันทร์ พม่ายังนำระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยานระยะใกล้-ระยะปานกลาง ออกโชว์อีกหลายรุ่น รวมทั้งระบบจรวด KS-1A อัตตาจร ซึ่งเป็นจรวดหงฉี 12 (HQ-12) รุ่นส่งออก ที่ซื้อจากจีนเมื่อปี 2557 และ นำออกโชว์เป็นครั้งแรก เมื่อปี 2558

กองทัพไทยก็มีระบบจรวดต่ออากาศยานรุ่นเดียวกันนี้ แต่เป็นรหัส KS-1CM โดยได้นำออกตั้งโชว์ที่กองบิน 7 สุราษฎร์ธานี ต้นเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา ภาพและข่าวของระบบจรวดจีนในประเทศไหทย ได้รับความสนใจจากสื่อกลาโหมในภูมิภาคนี้เป็นอย่างมาก เพราะเป็นการปรากฎตัวครั้งแรก นับตั้งแต่ข่าวการจัดหาจำนวน 1 หน่วย แพร่สะพัดออกไปในเดือน ต.ค.ปีที่แล้ว

ไทยกลายเป็นลูกค้ารายที่ 3 ของระบบจรวด KS-1 ถัดจากพม่า และ เติร์กเมนิสถาน

ปีนี้ยังเป็นอีกปีที่พม่านำระบบจรวด S-125 "เนวา/เปชอรา" (Neva/Pechora) ออกแสดง แบบ "ขาประจำ" ในงานสวนสนาม นี่คือระบบจรวดต่อสู้อากาศยานอัตตาจรยอดนิยม ที่ผลิตจากรัสเซีย ซึ่งในปัจจุบันมีใช้ในกองทัพราว 30 ประเทศ รวมทั้งเวียดนาม ที่เป็นลูกค้ารายใหญ่ในย่านนี้ด้วย

นอกจากนั้นก็ยังเป็นปีที่สองติดต่อกัน ที่พม่านำระบบจรวดต่อสู้อากาศยานจรวด 2K12ME หรือ "ควาดรัต" (Kvadrat) ที่ซื้อจากเบลารุส ออกแสดง นี่คือระบบจรวดอัตตาจร ติดตั้งบนยานพิเศษ 4 ล้อยาง 4X4 ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดอีกรุ่นหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบรรดารัฐบริวารของสหภาพโซเวียตเมื่อก่อน

บนท้องฟ้าปีนี้ นอกจากจะมีปีกหมุน Mi-17 เจ้าประจำออกงาน ก็ยังมี Mi-35 อีกอย่างน้อย 1 ลำ แสดง "ฟลายบาย" หรือ บินผ่านเคารพประธานในพิธีให้เห็น เช่นเดียวกันกับ MiG-29 ลำเก่า รวมทั้งเครื่องบินขนส่งขนาดกลางแบบส่านซี (Shaanxi) Y-8 ที่ซื้อจากจีน โดยปัจจุบันกองทัพอากาศมีเพิ่มขึ้น เป็นทั้งหมด 6 ลำ

แต่ที่ใหม่เอี่ยมยิ่งกว่าก็คือ เครื่องบินขนส่งอเนกประสงค์ขนาดเล็ก ฮาร์บิน (Harbin) Y-12 ซึ่งปีนี้มีเพิ่มขึ้นเป็นทั้งหมด 2 ลำ โดยลำล่าสุดส่งมอบเดือน ต.ค.ปีที่แล้ว

ขาดหายไปจากท้องฟ้าในพิธีสวนสนามปีนี้ก็คือ Yak-130 เครื่องบินฝึกไอพ่น ทีใช้เป็นเครื่องบินโจมตีขนาดเบาได้ กองทัพอากาศเซ็นซื้อจากรัสเซียในเดือน มิ.ย.2558 และ สื่อของทางการรายงานในเดือน พ.ย.ปีที่แล้วว่า ยาคอฟเลฟ (Yakovlev) ผู้ผลิต จะสามารถส่งมอบ 3 ลำแรกตามกำหนดอย่างแน่นอนภายในสิ้นปี 2559

ยังไม่มีข่าวคราวเกี่ยวกับ Yak-130 ทั้งสามลำอีกเลยหลังจากนั้น แต่ก็เชื่อกันว่า 27 มี.ค.ปีหน้าจะได้เห็น เพราะกองทัพพม่าไม่เคยหวง.
กำลังโหลดความคิดเห็น