xs
xsm
sm
md
lg

พม่าติงคณะตรวจสอบสหประชาชาติเหตุละเมิดสิทธิโรฮิงญามีแต่จะทำให้ขัดแย้ง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>แฟ้มภาพเอเอฟพีเดือนธ.ค. 2559 รองประธานาธิบดีมี้น ส่วย หัวหน้าคณะกรรมการสืบสวนรัฐยะไข่ ฟังเจ้าหน้าที่บรรยายข้อมูลขณะลงพื้นที่หมู่บ้านชาวมุสลิมในเมืองหม่องดอ แต่กลุ่มสิทธิมนุษยชนและสหประชาชาติระบุว่าการสอบสวนของคณะทำงานชุดนี้ไม่มีประสิทธิภาพและไม่เพียงพอ ฝ่ายพม่าก็ปฏิเสธการสืบสวนระหว่างประเทศโดยระบุว่าจะยิ่งเพิ่มความขัดแย้งมากกว่าแก้ปัญหา. -- Agence France-Presse/State Counsellor Office/Ho .</font></b>

เอเอพฟี - พม่าปฏิเสธการตัดสินใจของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ที่จะสืบสวนข้อกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่ความมั่นคงได้ก่อเหตุสังหาร ข่มขืน และทรมานชาวมุสลิมโรฮิงญา โดยระบุว่า การสอบสวนมีแต่จะยิ่งเพิ่มความขัดแย้ง

คณะมนตรีฯ มีมติเห็นชอบเมื่อวันศุกร์ (24) ที่จะส่งคณะค้นหาความจริงอย่างเร่งด่วนไปยังพม่า โดยมุ่งเน้นที่ข้อกล่าวหาที่ว่าตำรวจ และทหารได้กระทำการปราบปรามนองเลือดต่อชาวโรฮิงญาในรัฐยะไข่

ปฏิบัติการทางทหารที่เริ่มต้นขึ้นในเดือน ต.ค. เป็นการตอบโต้กลุ่มก่อความไม่สงบที่เข้าโจมตีด่านชายแดนจนทำให้ตำรวจเสียชีวิต 9 นาย การปราบปรามดังกล่าวทำให้ชาวโรฮิงญาหลายหมื่นคนหลบหนีข้ามพรมแดนเข้าไปในฝั่งบังกลาเทศ

ผู้อพยพเหล่านั้นได้ให้ข้อมูลแก่ผู้สืบสวนของสหประชาชาติว่า เจ้าหน้าที่รักษาความมั่นคงฆ่าเด็กทารก เผาคนทั้งเป็น และรุมข่มขืนชาวโรฮิงญา

รายงานเหล่านี้ได้สร้างแรงกดดันมหาศาลต่อรัฐบาลพลเรือนอายุ 1 ปี ภายใต้การนำของนางอองซานซูจี ซึ่งฝ่ายบริหารของซูจี นั้นถูกมองว่าไม่มีอำนาจควบคุมกองกำลังทหาร

รัฐบาลพม่าปฏิเสธการเรียกร้องให้มีการสืบสวนระหว่างประเทศในเหตุนองเลือดรัฐยะไข่ ซึ่งสร้างความผิดหวังให้แก่กลุ่มสิทธิมนุษยชน และในวันเสาร์ (25) กระทรวงการต่างประเทศพม่าระบุว่า การจัดตั้งคณะค้นหาความจริงระหว่างประเทศ จะเป็นเพียงการเพิ่มความขัดแย้งมากกว่าที่จะแก้ปัญหาในเวลานี้

รัฐบาลพม่ากำลังดำเนินการสอบสวนภายในประเทศด้วยตนเองเกี่ยวกับอาชญากรรมที่อาจเกิดขึ้นในรัฐยะไข่ แต่กลุ่มสิทธิมนุษยชน และสหประชาชาติได้ปฏิเสธการสอบสวนของพม่าซึ่งนำโดยรองประธานาธิบดีมี้น ส่วย โดยระบุว่า ไม่มีประสิทธิภาพ และไม่เพียงพอ

การปราบปรามผู้ก่อความไม่สงบในรัฐยะไข่เมื่อไม่นานนี้เป็นเพียงความขัดแย้งล่าสุดที่เกิดขึ้นกับชาวมุสลิมโรฮิงญาไร้สัญชาติ ที่ถูกปฏิเสธการเป็นพลเมือง และเผชิญต่อการเลือกปฏิบัติในประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ.
กำลังโหลดความคิดเห็น