xs
xsm
sm
md
lg

ไทยขยับสร้างอีก 7.5 กม.ทางรถไฟช่วงสุดท้ายไปเวียงจันทร์ หลังเปิดใช้ช่วงใหม่คลังสินค้าท่านาแล้ง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#00003>อลังการณ์มากกว่าทางรถไฟ.. ไทยจัดให้ทั้งระบบ เพื่อส่งเสริมการไปมาหาสู่ กับความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการลงทุน ระหว่างสองประเทศบ้านพี่เมืองน้อง พิธีส่งมอบและเปิดใช้ทางรถไฟ ช่วงใหม่ระยะทางสั้นๆ กับศูนย์กองเก็บคอนเทนเนอร์ และ สิ่งปลูกสร้างอีก 3 หลัง จัดขึ้นวันพฤหัสบดี 23 ม.ค.ที่ผ่านมา ในบริเวณศูนย์คอนเทนเนอร์ใกล้กับสถานีรถไฟท่านาแล้ง. -- ภาพจากเว็บไซต์ สพพ.</b>

MGRออนไลน์ -- บริษัทรับเหมาจกาประเทศไทย กำลังจะก่อสร้างทางรถไฟช่วงสุดท้ายให้แก่ลาว ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสองประเทศ หลังจากก่อสร้างช่วงสั้นๆ อีกช่วงหนึ่งแล้วเสร็จ ทำพิธีส่งมอบและเปิดใช้การ ในวันพฤหัสบดี 23 มี.ค.ที่ผ่านมา พร้อมสถานีกองเก็บตู้สินค้า กับอาคารอีก 3 หลัง ที่อยู่ไม่ไกลจากสถานีรถไฟท่านาแล้งในปัจจุบัน

นายลัดตะนะมะนี คูนนิวง รองรัฐมนตรีกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง นายเนวิน สินสิริ ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน หรือ สพพ. (NEDA) ซึ่งเป็นองค์การมหาชนของไทย ร่วมเป็นประธานในพิธีดังกล่าว พร้อมด้วยนายนภดล เทพพิทักษ์ เอกอัครราชทูตไทย ณ เวียงจันทน์ กับแขกรับเชิญอีกจำนวนมาก

พิธีส่งมอบและเปิดใช้งาน จัดขึ้นในบริเวณศูนย์กองเก็บตู้คอนเทนเนอร์ (Container Yard) สถานีท่านาแล้ง

ตามรายงานของสื่อทางการ นายสมปอง พนเสนา อธิบดีกรมรถไฟ ของลาว เป็นผู้กล่าวรายงาน ความเป็นมาและผลความสำเร็จของโครงการ ก่อนจะมีการส่งมอบทางรถไฟกับสิ่งปลูกสร้างทั้งหมด ตามโครงการก่อสร้างทางรถไฟไทย-ลาว ระยะที่ 2 ส่วนที่ 1 ซึ่งเป็นส่วนต่อขยาย จากระยะที่ 1 ระยะทางเพียง 3.5 กิโลเมตร จากสถานีหนองคาย ไปสิ้นสุดลง ที่สถานีท่านาแล้ง ที่อยู่ไม่ไกลจากสะพานมิตรภาพ 1 ในปัจจุบัน

การก่อสร้างทางรถไฟ ศูนย์กองเก็บตู้สินค้า และ สิ่งปลูกสร้าง ฯลฯ ใช้เงินลงทุนกว่า 656 ล้านบาท ด้วยความช่วยเหลือจาก สพพ. ซึ่งในนั้นเป็นเงินช่วยเหลือให้เปล่า 30% จำนวนที่เหลือ 70% เป็นเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ระยะปลอดหนี้ 10 ปี ระยะใช้คืน 30 ปี โดยมีวัตถุประสงค์พัฒนาระบบคมนาคมขนส่งทางราง เชื่อมสองประเทศ ส่งเสริมการค้าการลงทุนสองฝ่าย

ตามรายงานของสำนักข่าวสารปะเทดลาว การก่อสร้างทางรถไฟไทย-ลาว ระยะที่ 2 ส่วนที่ 1 นี้ดำเนินมาตั้งแต่ปี 2556 แล้วเสร็จเดือน ก.ย.ปีที่แล้ว ใช้เวลาก่อสร้าง 24 เดือน โดยบริษัทเสริมสงวนก่อสร้างจากไทยเป็นผู้รับเหมา
.

<br><FONT color=#00003>นี่เป็นการส่งมอบระยะที่ 2 ส่วนที่ 1 ส่วนการก่อสร้างระยะที่ 2 ส่วนที่ 2 ซึ่งเป็นระยะสุดท้าย 7.5 กม. เข้าเมืองหลวง จะเริ่มปลายปีนี้. -- ภาพจากเว็บไซต์ สพพ.</b>
2
โครงการระยะที่ 2 ส่วนที่ 1 ประกอบด้วย 4 งานสำคัญซึ่งได้แก่ สร้างทางรถไฟระบบสับราง ที่สถานีท่านาแล้ง ขยายทางรถไฟ ไปยังศูนย์กองเก็บตู้สินค้า ยกระดับสัญญาณคมนาคมจากอะนาล็อก เป็นดิจิตอลกึ่งอัตโนมัติ ควบคุมโดยคอมพิวเตอร์ ระบบลานเก็บตู้คอนเทนเนอร์ พื้นที่กว่า 38,000 ตร.ม. ถนนเข้าสู่ศูนย์กองเก็บฯ ระยะทางกว่า 2 กม. และ ประตูใหญ่ทางเข้าที่่ชั่งน้ำหนัก ขนาด 20x30 ม.

นอกจากนั้นยังมีการก่อสร้างอาคารอีก 3 หลัง เป็นอาคารเก็บวัสดุขนาด 68x78 ม. รวมเนื้อที่กว่า 5,000 ตร.ม. อาคาร 3 ชั้น เนื้อที่ 1,620 ตร.ม เพื่อใช้เป็นสำนักงานบริการ กับอาคาร 2 ชั้นอีก 1 หลัง เนื้อที่กว่า 3,700 สำหรับเป็นสำนักงานกรมรถไฟลาว รองรับการขยายงานในอนาคต รวมทั้งการติดตั้งระบบสาธารณูปโภคต่างๆ อย่างครบถ้วนอีกด้วย ขปล.กล่าว

ส่วนการก่อสร้างระยะที่ 2 ตอนที่ 2 คาดว่า จะเริ่มในปลายปี 2560 นี้ เพื่อต่อทางรถไฟ จากศูนย์กองเก็บตู้สินค้า ท่านาแล้งเข้าเมืองหลวง ถึงสถานีสุดท้ายที่บ้านคำสะหวาด ในนครเวียงจันทน์ เป็นระยะทางประมาณ 7.5 กม. ประกอบด้วยสถานีรายทางอีกจำนวนหนึ่ง รวมมูลค่าก่อสร้างประมาณ 994.7 ล้านบาท กำหนดแล้วเสร็จสมบูรณ์ภายในปี 2563 เป็นความช่วยเหลือจาก สพพ.เช่นเดียวกัน

สถานีบ้านคำสะหวาดเป็นปลายทางสุดท้ายของทางรถไฟจีน-ลาว จากชายแดนบ่อแตน เข้านครเวียงจันทน์ ระยะทาง 417 กม. ซึ่งเริ่มการก่อสสร้างเมื่อไม่นานมานี้ มีกำหนดแล้วเสร็จในเวลา 60 เดือน

การก่อสร้างทางรถไฟไทย-ลาว ระยะที่ 1 แล้วเสร็จและเปิดใช้ตั้งแต่ปี 2551 ส่วนการก่อสร้างระยะที่ 2 ระยะทาง 9 กม.เศษ ได้ผ่านการยกเลิก เริ่มใหม่ และ ปรับแผนมาหลายครั้ง ก่อนจะเริ่มการก่อสร้าง ส่วนแรกได้ในปี 2556.
กำลังโหลดความคิดเห็น