xs
xsm
sm
md
lg

"นิก อึ๊ต" เจ้าของภาพ "หนูน้อยนาปาล์ม" อันลือเลื่องรูดม่านอำลาวงการ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#00003>ภาพเมื่อวันที่ 8 มิ.ย.2515 ช่วงปลายแห่งสงครามเวียดนาม ยังคงตามหลอกหลอนใครต่อใครมาจนทุกวันนี้ ด.ญ.ฟานถิกิมฟุก วัย 9 ขวบ ที่ต้องถอดเสื้อผ้าที่ถูกไฟไหม้ออกทั้่งหมด ขณะวิ่งหนีออกไปจากหมู่บ้านจางบ่าง  ที่อยู่ห่างจากกรุงไซ่ง่อนเมื่อก่อนราว 40 กม. กองทัพเวียดนามใต้ ทิ้งระเบิดเพลิงลงที่นั่น เพื่อขับไล่ทหารเวียดนามเหนือ ที่เข้ายึดครอง กลายเป็นผลงาน ภาพข่าวแห่งปี โดย นิก อึ๊ต ช่างภาพชาวเวียดนามของสำนักข่าวเอพี ซึ่งเตรียมตัวอำลาจากวางการในเดือนนี้ ปัจจุบันอายุ 65 ปี. -- Associated Press/Nick Ut (File).</b>

ลอสแอนเจลีส -- นิก อึ๊ต (Nick Ut) ช่างภาพชาวเวียดนาม เจ้าของรางวัลพูลิตเซอร์ ผู้ถ่ายภาพ "หนูน้อยนาปาล์ม" อันลื่อเลื่อง ในช่วงสงครามเวียดนาม กำลังจะเกษียณจากงานในเดือนนี้ หลังจากทำงานกับสำนักข่าวเอพี มาเป็นเวลา 51 ปีเต็ม ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมา นิกได้ถ่ายภาพมาแล้ว เกือบจะทุกอย่าง รวมถึงภาพของบรรดานักแสดงฮอลลีวู้ด ในเหตุการณ์ต่างๆ ทั้งดีและร้ายอิกด้วย

เขาเคยบอกเพื่อนๆ ว่า ตัวเองถ่ายภาพมา "ตั้งแต่นรกถึงฮอลลีวู้ด" (From Hell to Hollywood)

หนูน้อยนาปาล์ม.. มีส่วนทำให้สงครามเวียดนาม เปลี่ยนรูปโฉมไปพอสมควรทีเดียว เพราะหลังจากภาพที่สะท้อนถึงความโหดร้ายทารุณนี้แพร่ออกไป ได้ทำให้กระแสต่อต้านสงครามปะทุแรงขึ้น ในช่วงปลายของสงคราม ที่มีชาวเวียดนามเสียชีวิตไปแล้วกว่า 3 ล้านคน

มันเป็นภาพเกี่ยวกับเด็กหญิงคนหนึ่ง ที่กำลังวิ่งเตลิดหนีด้วยความหวาดกลัวสุดขีด ไปตามถนนหมู่บ้าน แขนและตามร่างกายของเธอถูกไฟไหม้เสียส่วนใหญ่ จากระเบิดนาปาล์มที่ทิ้งลงในหมู่บ้านของเธอ โดยเครื่องบินกองทัพอากาศเวียดนามใต้ ก่อนที่นิกอึ๊ตจะยกกล้องจับภาพนี้ได้ เพียงไม่นาน

นิกถ่ายภาพนี้ ในวันที่ 8 มิ.ย.2515 ตอนนั้นเขาเพิ่งอายุ 21 เล็งและกดชัตเตอร์เสร็จแล้ว เขาก็ปรี่เข้าหาเด็กหญิงเคราะห์ร้ายวัย 9 ขวบ - ฟานถิกิมฟุก (Phan Thi Kim Phuc) - นำเธอขึ้นรถตู้ของสำนักข่าวเอพี ไปส่งที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในไซ่ง่อน ซึ่งแพทย์ช่วยชีวิตไว้ได้

ปีเตอร์ อาร์เน็ต (Peter Arnett) อดีตผู้สื่อข่าวซีเอ็นเอ็น ที่มีชื่อเสียงในช่วงสงครามอิรัก ซึ่งเคยทำงานกับเอพีก่อนหน้านั้น เคยให้ความเห็นว่า ภาพหนูน้อยนาปาล์มได้แสดงให้เห็น อย่างหมดจด สำหรับสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำในช่วงปีโน้น นั่นคือ การทิ้งระเบิดนาปาล์มลงในหมู่บ้าน มีพลเรือนถูกสังหาร และ หวาดกลัวสงคราม เป็นภาพที่หาได้ยากเมื่อก่อนนี้

"ภาพนี้เปิดเผยให้เห็น ส่วนที่เป็นรายละเอียด เกี่ยวกับว่าสงครามเป็นเช่นไร ซึ่งทำให้ภาพมีคุณค่าอย่างยิ่ง มีความสำคัญที่จะต้องตีพิมพ์เผยแพร่" อาร์เน็ตให้สัมภาษณ์เอพี

ปีนี้ 65 ผมดำที่เคยดกหนาเปลี่ยนเป็นสีดอกเลา แต่นิกก็ยังทำงานอย่างแข็งขัน รับผิดชอบ ยิ้มเก่ง เป็นมิตรกับทุกคน
.

.
"ภาพนั้นเปลี่ยนชีวิตของผม มันเปลี่ยนชีวิตของกิมอีกด้วย" นิกกล่าวถึงโอกาสที่ทั้งสองได้พบกัน บนท้องถนนคลุกฝุ่นใกล้กับหมู่บ้านจางบ่าง (Trang Bang/ จ.เตยนีง อยู่ติดกับนครโฮจิืมิืนห์ในปัจจุบัน) ซึ่งตอนนั้นเขาเพิ่งถ่ายภาพเครื่องบิน 4 ลำ ที่บินต่ำ เพื่อไปหย่อนระเบิดนาปาล์มลง ให้หมู่บ้านของกิมฟุกลุกเป็นไฟ ก่อนที่เขาจะได้เห็นชาวบ้านชายหญิงและเด็กๆ กลุ่มหนึ่ง วิ่งหนีสุดชีวิต จากวัดแห่งหนึ่ง ที่เข้าไปหลบภัย

หลังจากถ่ายภาพเหตุการณ์นี้แล้ว เขาเหวี่ยงกล้องไปด้านข้าง ปรี่เข้าหาเด็กหญิง ให้น้ำดื่ม และ เทน้ำราดลงบนแผลไฟไหม้ นำขึ้นรถตู้ไปพาไปส่งโรงพยาบาล ซึ่งในตอนแรกหมอที่นั่นปฏิเสธที่จะรับเธอไว้ โดยอ้างว่าหนูน้อยถูกไฟไหม้มากเกินกว่า จะสามารถช่วยชีวิตไว้ได้

นิกกล่าวว่า ตอนนั้นเขาโกรธจัด ชูบัตรประจำตัวสื่อให้หมอดู แล้วพูดว่า วันพรุ่งนี้ภาพนี้จะแพร่กระจายไปทั่วโลก พร้อมกับคำอธิบายเพราะเหตุใด โรงพยาบาลแห่งนี้จึงปฏิเสธที่จะช่วยเหลือ

"ผมร้องไห้เมื่อเห็นเธอวิ่งมา" และ "ถ้าหากผมไม่เข้าไปช่วยเธอ ถ้าหากเกิดอะไรบางอย่าง และ เธอเสียชีวิต ผมคิดว่าผมคงต้องฆ่าตัวตายหลังจากนั้น" นิกเคยพูดเรื่องนี้ กับนักข่าวเอพีคนหนึ่ง

ปัจจุบัน "หนูน้อยกิมฟุก" คนนั้น อายุ 53 แล้ว เป็นคุณแม่ของลูกๆ 2 คน อาศัยอยู่ในประเทศแคนาดา และ ยังเป็นเพื่อนที่ดีกับนิกเสมอมา

แต่ถึงแม้ว่าภาพของกิมฟุกจะดูน่าสงสารแค่ไหน แต่ก็สะท้อนให้เห็นเพียงแค่กระผีกหนึ่ง ความโหดร้ายของสงครามเวียดนามเท่านั้น ตั้งแต่วันนั้นมานิกถ่ายภาพอื่นๆ อีกนับหมื่นๆ ภาพ ภาพจากเวียดนามของเขา ยังมีภาพทั้งหมู่บ้านถูกทำลาย คนตายมากมายก่ายกอง เกลื่อนไปทั่วทั้งอาณาบริเวณ ภาพแม่กำลังไห้ปานว่าจะขาดใจ ขณะกอดศพลูกน้อยในวงแขน
.
<br><FONT color=#00003>ภาพเดือน มี.ค.2555 หวี่ง กง อึ๊ต หรือ นิก อึ๊ต กลับไปเยือนบ้านเกิดของ ฟาน ถิ กิม ฟุก หนูน้อยนาปาล์ม ที่ อ.จางบ่าง จ.เตยนีง ช่างภาพรางวัลพูลิตเซอร์ คนหนึ่งของสำนักข่าวเอพี จะเกษียนในเดือนนี้. --Associated Press/Na Son Nguyen. </b>
<br><FONT color=#00003>ภาพจากเดือน ม.ค.2516 เกือบ 1 ปีหลัง ช่วยนำส่งโรงพยาบาล นิก อึ๊ต ไปเยี่ยมฟาน ถิ กิม ฟุก หนูน้อยนาปาล์ม อีกครั้งหนึ่ง ที่หมู่บ้านจางบ่าง เขาไปเยี่ยมเธอมาหลายครั้ง ขณะยังรักษาที่โรงพยาบาลในไซ่ง่อนก่อนหน้านั้น. -- Associated Press. </b>
<br><FONT color=#00003>นิก อึ๊ต ในภาพถ่ายที่ไม่ได้ระบุวันเดือนปี ขณะออกปฏิบัติหน้าที่ ในเวียดนาม. -- Associated Press. </b>
<br><FONT color=#00003>ทหารเวียดนามใต้คนนึ่ง ใช้ปากคาบสิ่งของที่ห่อในถุงพลาสติก ขณะลุยข้ามน้ำ ในเขตที่ราบปากแม่น้ำโขง ใกล้ชายแดนกัมพูชา ในภาพวันที่ 11 มี.ค.2515. -- Associated Press/Nick Ut. </b>
<br><FONT color=#00003>ภาพวันที่ 29 พ.ค.2547 ประชาชน รวมกันที่สะพานฮันทิงตันบีช แคลิฟอร์เนีย ขณะตะวันกำลังตกดิน -- นิก อึ๊ต ช่างภาพข่าวที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่ง ในยุคสงครามเวียดนามจะเกษียณในเดือนนี้ หลังทำงานกับเอพีมา 51 ปี เพื่อนร่วมยุคร่วมอาชีพหลายคน เสียชีวิตไปก่อนหน้านี้. -- Associated Press/Nick Ut. </b>
<br><FONT color=#00003>ปารีส ฮิลตัน ถูกเจ้าหน้าที่ทางการนำขึ้นรถตำรวจ จากบ้านของเธอในลอสแอนเจลีส 8 มิ.ย.2550 ผลงานหนึ่งของนิก อึ๊ต ชาวภาพสงครามเวียดนาม ที่ผันตัวเองสู่งานใหม่ในฮอลลีวูด เป็นที่มาของคำกล่าวที่ว่า เขาถ่าย (ภาพ) มาแล้วทุกอย่าง ตั้งแต่นรกจนถึงฮอลลีวู้ หรือ From Hell to Hollywood. -- Associated Press/Nick Ut. </b>
<br><FONT color=#00003>ระเบิดนาปาล์มผสมกับระเบิดฟอสฟอรัสขาวชนิดเหลว ที่กองทัพอากาศเวียดนามใต้ ทิ้งลงบนบนทางหลวงสาย 1  ที่คาคล่ำด้วยบ้านเรือราษฎร รวมทั้งวัดก๋าวดาย ในย่านรอบนอกหมู่บ้านจางบ่าง วันที่ 8 มิ.ย.2515 ที่เห็นในภาพเป็นทหารเวียดนามใต้ กับบรรดาช่างภาพข่าวสงคราม-- Associated Press/Nick Ut. </b>
<br><FONT color=#00003>นิก หมั่นไปเยี่ยมเยือน หนูน้อยนาปาล์ม เสมอๆ ขณะยังรักษาในโรงพยาบาล รวมทั้งหลังกลับไปพักรักษาต่อที่บ้าน ทั้งสองเป็นเพื่อนกันตลอดมา. -- Associated Press. </b>
8
ชื่อในสูติบัตร คือ หวี่ง กง อึ๊ต (Huynh Cong Ut) เป็นลูกคนที่ 11 ของครอบครัว จากทั้งหมด 12 คน เขาเติบโตขึ้นมา ชื่นชมพี่ชายคนหนึ่งคือ หวี่ง แทง มี (Huynh Thanh My) หนุ่มหล่อดาราภาพยนตร์ ที่ควรจะอยู่ในอาชีพนี้ต่อไปอย่างสบาย หากสงครามเวียดนามไม่เกิด และ ปิดตันหนทางไปสู่ดวงดาว

แทงมีเข้าทำงานกับสำนักข่าวเอพี และ ในปี 2508 ได้รับมอบหมายให้ติดตามทหารกลุ่มหนึ่ง ซึ่งต่อมาถูกฝ่ายเวียดกงซุ่มโจมตี และ สังหารทุกคน

ในงานศพพี่ชาย กง อึ๊ต ซึ่งในขณะนั้นอายุ 15 ปี ได้ขอฮอร์ส ฟาส (Horst Faas) หัวหน้าสำนักงานประจำไซ่ง่อนในขณะนั้น เพื่อเข้าทำงานแทนพี่ชาย แต่ฟาสซึ่งตัวเขาเอง ได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ถึง 2 ครั้ง ปฏิเสธคำขอนี้อย่างไม่มีเยื่อใย เพราะไม่อยากเห็นครอบครัวหวี่ง ต้องสูญลูกชายไปอีกคน

แต่เมื่อกง อึ๊ต ตามคะยั้นคะยอไม่หยุด วันหนึ่งฟาสก็ใจอ่อน และ รับกง อึ๊ต เข้าทำงานในวันที่ 1 ม.ค.2509 โดยวางกฎที่เข้มงวด เอาไว้ว่า จะต้องไม่ถือกล้องออกสู่เขตที่มีการสู้รบ อย่างเด็ดขาด ไม่ว่ากรณีใดๆ ซึ่งทำให้เขา ต้องอยู่แต่ในห้องล้าง-อัดรูป หรือ ออกถ่ายเฉพาะภาพสารคดี ตลอด 2-3 ปีหลังจากนั้น จนกระทั่งตอนเช้าวันหนึ่ง ในเดือน ม.ค.2511 เมื่อสงครามเข้าถึงตัวเขา

ปีเตอร์ อาร์เน็ต ซึ่งตอนนั้นทำงานกับเอพี ให้สัมภาษณ์เมื่อไม่นานมานี้ ย้อนรำลึกถึงความหลังว่า เขายังจำได้ดี ตอนสายวันนั้น "นิก อึ๊ต" เข้าออฟฟิศ ด้วยท่าทางตื่นเต้นสุดขีด พูดระล่ำระลักว่า ฝ่ายเวียดกงได้เปิดฉากยิง ที่บริเวณใกล้บ้านของเขา และ เขาได้ถ่ายภาพทหารเวียดนาม (ใต้) โจมตีพวกนั้น "เป็นภาพที่ดีมาก"

ตั้งแต่วันนั้นมา หวี่ง กง อึ๊ต วัย 17 ปี ก็ได้กลายเป็นช่างภาพสงคราม และ หลังจากนั้นได้รับบาดเจ็บ 4 ครั้ง รวมทั้งครั้งหนึ่งที่จรวดแล่นถากศรีษะ แหวกผมเขาไป แบบหวิดตาย

ทีสำนักงานประจำไซ่ง่อน กง อึ๊ต มีเพื่อนสนิทคนหนึ่ง คือ อองรี อเว (Henri Huet) เขาเสียชีวิตในปี 2514 หลังจาก อาสาออกทำงานแทน เพื่อนที่กำลังเหนื่อยจัด แต่เฮลิคอปเตอร์ของทั้งคณะถูกยิงตก
.

<FONT color=#00003>Associated Press </b>
<br><FONT color=#00003>กิม ฟุก กับ สามี และลูกชายคนแรก ที่บ้านในโตรอนโต แคนาดา เมื่อหลายปีก่อน ทั้งคู่พบกันในคิวบา ต่อมาขอลี้ภัย และ ได้สัญญาชาติเป็นแคนาดา.  -- Associated Press.</b>
<FONT color=#00003>ในโอกาสที่ได้พบกันอีกครั้งเมื่อหลายปีก่อน.-- Associated Press. </b>
<br><FONT color=#00003>โห่ วัน โบน เด็กชายอีกคนหนึ่งในภาพ หนูน้อยนาปาล์ม ถ่ายภาพร่วมกับ นิก อึ๊ต 8 มิ.ย.2558. -- Associated Press/Na Son Nguyen. </b>
<br><FONT color=#00003>นิก ได้พบกับกิม ฟุก อีกครั้งหนึ่งในงาน ที่โบสถ์ลิเบอร์ตีแบ็ปทิสต์ เมืองนิวพอร์ตบีช แคลิฟอร์เนีย 3 มิ.ย.2555 นิกกล่าวว่า ภาพนั้นเปลี่ยนชีวิตของผม เปลี่ยนชีวิตของกิม --Associated Press/Damian Dovarganes. </b>
<FONT color=#00003>ฟาน ถิ กิม ฟุก เล่นกับลูกชายวัย 3 ขวบ ที่บ้านในนครโตรอนโต เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ หนูน้อยนาปาล์ม ซึ่งเป็นเจ้าของมูลนิธิในชื่อของเธอ ได้เป็นหัวหอกสำคัญ ต่อสู้เรียกร้องเพื่อสันติภาพ เธอเคยบอกผู้ไปเยือนที่นั่นว่า ถึงแม้ว่าฉันจะเจ็บปวด ทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ แต่ฉันก็มีความสุข เพราะใช้ชีวิตอยู่อย่างปราศจากความเกลียดชังใดๆ. --  Associated Press/Nick Ut. </b>
13
กง อึ๊ตกล่าวว่า เพื่อนคนนี้แหละ ที่ตั้งชื่อ "นิก" ให้แก่ตัวเขา ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่า ชื่อภาษาเวียดนามของเขาเป็นปัญหามาก ทั้งออฟฟิศไม่มีใครเรียกได้ถูก

"นี่จึงเป็นเหตุผลว่า เหตุใดผมจึงใช้ชื่อ นิก อึ๊ต -- ก็เพื่อเป็นเกียรติแด่อเว"

เมื่อกรุงไซ่ง่อน ตกไปอยู่ในมือฝ่ายกองโจรในปี 2518 หรือ สองปีหลังจากสหรัฐถอนทหารออกไป อึ๊ตก็จำเป็นจะต้องออกจากเวียดนาม เช่นเดียวกับผู้คนอีกจำนวนนับแสนๆ

หลังต้องพำนักอยู่ในค่ายผู้อพยพแห่งหนึ่งในแคลิฟอร์เนียพักใหญ่ สำนักข่าวเอพีก็นำเขากลับเข้าทำงานอีกครั้ง ให้ไปประจำสำนักงานกรุงโตเกียว ที่ซึ่งเขาได้พบกับภรรยาคือ "ห่อม" (Hong) ชาวเวียดนามโพ้นทะเลอีกคนหนึ่ง ซึ่งแท้จริงแล้วเติบโตจากบ้านเกิดที่อยู่ไม่ไกลกัน แต่ไม่เคยได้พบกันมาก่อน

ทั้งคู่ย้ายกลับไปยังลอสแอนเจลีสปี 2520 ซึ่งเป็นปีที่นิก อึ๊ต เริ่มบทบาทใหม่ ผันผายเข้าสู่โลกฮอลลีวู้ด แต่นั้นมามีผลงานถ่ายภาพดาราชั้นนำมากหน้าหลายตา เขากับภรรยามีลูกด้วยกัน 2 คน ตอนนี้หลานอีกสอง วัย 8 และ 10 ปี เขากล่าวว่า ตั้งใจจะใช้่ชีวิตหลังเกษียนดูแลหลานๆ แต่ก็จะยังถ่ายรูปต่อไป

"ผมจะถ่ายจนผมตายโน่นแหละ " นิกกล่าว พร้อมหัวเราะ

"สำหรับผม กล้องถ่ายรูปเหมือนกับหมอ เหมือนกับยารักษาโรค"

[แปลและดัดแปลงเพิ่มเติม จากรายงานเรื่อง "Nick Ut, AP photographer behind 'Napalm Girl,' to retire" โดย John Rogers สำนักข่าวเอพี]
กำลังโหลดความคิดเห็น