xs
xsm
sm
md
lg

พม่าลงดาบจำคุกตำรวจระดับสูง 3 นาย ฐานปล่อยคนร้ายบุกโจมตีด่านชายแดนยะไข่

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ตำรวจรักษาชายแดนพม่าแบกโลงศพเพื่อนตำรวจที่ถูกฆ่าในการบุกโจมตีของผู้ก่อความไม่สงบชาวโรฮิงญา ในพิธีศพที่จัดขึ้นในเมืองหม่องดอ เมื่อวันที่ 5 พ.ย.2559 เหตุโจมตีที่เกิดขึ้นทำให้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจเสียชีวิต 9 นาย และทำให้ทางการปฏิบัติการปิดล้อมพื้นที่เพื่อค้นหาตัวผู้ก่อเหตุจนเป็นเหตุให้ชาวโรฮิงญากว่า 70,000 คน อพยพหลบหนีข้ามแดนไปบังกลาเทศ. -- Agence France-Presse/Stringer.</font></b>

รอยเตอร์/เอเอฟพี - เจ้าหน้าที่ตำรวจอาวุโส 3 นาย ถูกตัดสินจำคุกจากความละเลยปล่อยให้ผู้ก่อความไม่สงบชาวโรฮิงญาเข้าโจมตีด่านชายแดนตำรวจในเดือน ต.ค. เจ้าหน้าที่รัฐของพม่าระบุวานนี้ (24)

ชายชาวโรฮิงญาหลายร้อยคนจากชนกลุ่มน้อยมุสลิม ที่ชาวพม่าจำนวนมากระบุว่า คนเหล่านี้เป็นผู้อพยพผิดกฎหมายจากบังกลาเทศ ได้เข้าโจมตีด่านชายแดนตำรวจเมื่อวันที่ 9 ต.ค. โดยส่วนใหญ่ใช้อาวุธแค่เพียงท่อนไม้

การโจมตีนำมาซึ่งการปราบปรามของทางการต่อชนกลุ่มน้อยเหล่านี้ จนทำให้ชาวโรฮิงญามากกว่า 70,000 คน ต้องอพยพหลบหนีข้ามพรมแดนเข้าไปในฝั่งบังกลาเทศ

เย นาย เจ้าหน้าที่จากกระทรวงข้อมูลข่าวสารกล่าวต่อรอยเตอร์ว่า การสืบสวนอย่างเป็นทางการเป็นการสอบสวนว่าผู้ก่อความไม่สงบที่เกือบไม่มีอาวุธ และไม่มีความเชี่ยวชาญสามารถเข้าโจมตีสำเร็จได้อย่างไร

รัฐบาลระบุว่า กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบที่ขโมยอาวุธ และกระสุนระหว่างบุกโจมตีนั้นมีความเชื่อมโยงต่อกลุ่มอิสลามหัวรุนแรงในต่างประเทศ

“ศาลตัดสินจำคุกเจ้าหน้าที่อาวุโส 3 นาย ในเมืองหม่องดอ ระหว่าง 1-3 ปี เพราะมีความผิดฐานละเลยการรักษาความปลอดภัยในช่วงเกิดเหตุโจมตีวันที่ 9 ต.ค.” เย นาย กล่าว

ส่วนโฆษกตำรวจกล่าวต่อเอเอฟพีเช่นเดียวกันว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจอาวุโส 3 นาย ถูกตัดสินจำคุกเนื่องจากปล่อยให้การบุกโจมตีเกิดขึ้นภายใต้การดูแลของพวกเขา

“ตำรวจได้รับแจ้งจากชาวบ้านล่วงหน้าก่อนเกิดเหตุ แต่ผู้กำกับการตำรวจไม่ดำเนินการ และปฏิเสธข้อมูลที่ได้รับ โดยคิดไปว่าไม่น่าจะเป็นไปได้” โฆษกตำรวจ กล่าว

เย นาย ไม่ได้ชี้แจงถึงวันที่ตัดสินความผิด หรือรายละเอียดการสืบสวนได้ แต่ระบุว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจระดับสูงหลายนายยังคงถูกสอบสวนโดยกระทรวงมหาดไทยที่ทหารเป็นผู้กำกับควบคุม

ชาวมุสลิมโรฮิงญาราว 1.1 ล้านคน ใช้ชีวิตในสภาพถูกแบ่งแยก ในพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของพม่า ซึ่งพวกเขาเหล่านี้ถูกปฏิเสธสิทธิการเป็นพลเมือง

สหประชาชาติรายงานว่า มีการสังหารหมู่ และการข่มขืนเกิดขึ้นระหว่างการปราบปรามของกองกำลังรักษาความมั่นคง ที่ระบุว่า อาจเทียบได้กับการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ และยังไม่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือทหารอาวุโสคนใดรับผิดชอบการก่ออาชญากรรมที่ถูกกล่าวหาเหล่านี้

รัฐบาลพลเรือนภายใต้การนำของนางอองซานซูจี ปฏิเสธข้อกล่าวหาเกือบทั้งหมดที่เกี่ยวกับกองกำลังรักษาความมั่นคงของประเทศ โดยระบุว่า ปฏิบัติการปราบปรามที่เกิดขึ้นดำเนินอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งเริ่มขึ้นตั้งแต่เดือน ต.ค.
กำลังโหลดความคิดเห็น