xs
xsm
sm
md
lg

องค์การนิรโทษกรรมสากลร้องพม่าระงับโครงการเหมืองทองแดง แก้ปัญหาผลกระทบท้องถิ่น

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>แฟ้มภาพเอเอฟพีเมื่อวันที่ 6 พ.ค. 2559 ผู้ชุมนุมเข้าปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจบริเวณด้านนอกเขตเหมืองทองแดงเลตปะด่อง ที่ดำเนินการโดยบริษัท Wanbao ของจีน ในเมืองโมนยวา. -- Agence France-Presse/Stringer.</font></b>

เอพี - องค์การนิรโทษกรรมสากล เรียกร้องให้รัฐบาลพม่าระงับการดำเนินงานเหมืองทองแดง ที่กองทัพพม่า และรัฐวิสาหกิจจีนเป็นเจ้าของร่วมกัน จนกว่าผลกระทบต่อสิทธิมนุษชนและสิ่งแวดล้อมจะได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้อง

องค์การด้านสิทธิมนุษยชน ที่มีสำนักงานในกรุงลอนดอน กล่าวในรายงานที่ออกเผยแพร่เมื่อวันศุกร์ (10) ว่า การเสนอขยายเหมืองเลตปะด่อง ที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการทองแดงโมนยวา ในภาคเหนือของพม่า เป็นภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนหลายพันคน และก่อมลพิษในพื้นที่โดยรอบด้วยสารเคมีอันตรายที่อาจรั่วไหลออกมาระหว่างแผ่นดินไหว หรือน้ำท่วม

หน่วยงานยังกล่าวว่า แม้ทางการให้คำมั่นที่จะแก้ไขแต่การปรึกษาหารือกับชนชุมท้องถิ่นเกี่ยวกับโครงการนี้เกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย และผู้ชุมนุมประท้วงยังถูกฟ้องร้องดำเนินคดี

“พม่ามีความต้องการอย่างมากให้โครงการธุรกิจขนาดใหญ่ เช่น เหมืองเลตปะด่องประสบความสำเร็จ แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ควรต้องกระทบชุมชนท้องถิ่น รัฐบาลจำเป็นต้องเข้าแทรกแซง และระงับการดำเนินการจนกว่าปัญหาสิทธิมนุษยชน และสิ่งแวดล้อมได้รับการตรวจสอบและแก้ไขอย่างเหมาะสม” นักวิจัยด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนขององค์การนิรโทษกรรมสากล กล่าว

หน่วยงานต่างชาติยังเรียกร้องให้รัฐบาลรับรองว่า โครงการเหมืองจะไม่ดำเนินการขับไล่ที่ประชาชนออกจากบ้าน หรือที่ดิน จนกว่ากระบวนการปกป้องคุ้มครองทั้งหมดภายใต้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศถูกดำเนินการ

โครงการเหมืองทองแดงแห่งนี้เกิดเรื่องอื้อฉาวขึ้นในปี 2555 เมื่อตำรวจโจมตีเพิงพักผู้ชุมนุมจนทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก หลายคนเสียโฉมจากแผลไฟไหม้ เนื่องจากกองกำลังรักษาความมั่นคงยิงฟอสฟอรัสขาวเข้าใส่กลุ่มผู้ชุมนุม

ในปี 2557 ตำรวจยังยิงชาวบ้านที่เข้าร่วมการชุมนุมประท้วงบริษัทเหมืองล้อมรั้วปิดพื้นที่ทำการเกษตร

โครงการเหมืองทองแดงแห่งนี้ตั้งขึ้นโดยบริษัทเหมือง Ivanhoe ของแคนาดา แต่บริษัท Wanbao Mining ของจีน เข้้าซื้อหุ้นในปี 2553 และเวลานี้เป็นผู้ดำเนินกิจการ บริษัท Wanbao Mining เป็นบริษัทลูกของบริษัท NORINCO ที่สนใจด้านการผลิตอาวุธ และการทำเหมือง และหุ้นส่วนของบริษัท Wanbao คือ บริษัท Myanmar Economic Holding ของกองทัพพม่า และบริษัท Mining Enterprise 1 ของรัฐบาล

รายงานขององค์การนิรโทษกรรมสากลยังระบุว่า สถานการณ์ที่เหมืองยังคงไม่ดีขึ้น แม้พม่าจะเปลี่ยนรัฐบาลจากรัฐบาลที่ทหารควบคุมมาเป็นรัฐบาลภายใต้การนำของอองซานซูจี

“หนึ่งในภาคส่วนที่รัฐบาลต้องการดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติคือ การทำเหมืองแร่ พม่ามีแร่อุดมสมบูรณ์ แต่อุตสาหกรรมเหมืองยังด้อยพัฒนา การลงทุนในภาคส่วนนี้มีศักยภาพที่จะนำประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมมาสู่พม่า แต่อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การทำเหมืองขนาดใหญ่ยังมีความเสี่ยง โดยเฉพาะกับสิทธิมนุษยชน เป็นเพราะพวกเขามักเวนคืนที่ดิน และสร้างของเสียอันตรายที่จำเป็นต้องการได้รับการจัดการอย่างระมัดระวัง” รายงาน ระบุ.
กำลังโหลดความคิดเห็น