xs
xsm
sm
md
lg

พม่าเมินเสียงวิจารณ์สหประชาชาติสืบสวนละเมิดสิทธิโรฮิงญา

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ภาพแฟ้มถ่ายเมื่อวันที่ 12 ธ.ค. 2559 และเผยแพร่เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2559 โดยสำนักงานที่ปรึกษาแห่งรัฐ เผยให้เห็นเจ้าหน้าที่ทหาร (กลาง) กำลังบรรยายสรุปให้รองประธานาธิบดีมี้น ส่วย (ที่ 2 จากขวา) หัวหน้าคณะกรรมการการสืบสวนรัฐยะไข่ ระหว่างลงพื้นที่หมู่บ้านชาวมุสลิมในเมืองหม่องดอ รัฐยะไข่ ใกล้ชายแดนบังกลาเทศ. -- Agence France-Presse/State Counsellor Office/Ho.</font></b>

เอเอฟพี - คณะกรรมการของพม่าที่ตรวจสอบข้อกล่าวหาที่ระบุว่า ทหารก่อเหตุสังหาร ทรมาน และข่มขืนชาวมุสลิมโรฮิงญา ปฏิเสธข้อกล่าวหาที่ว่าคณะทำงานไม่เป็นที่น่าเชื่อถือ โดยระบุว่า คณะมุ่งเน้นไปที่การค้นหาความจริง และไม่ใช่การเอาใจสหประชาชาติ

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ กล่าวว่า ทหารพม่ามีแนวโน้มได้ก่อเหตุสังหารชาวโรฮิงญาไปจำนวนหลายร้อยคนระหว่างการปราบปรามที่ยังดำเนินอยู่ต่อเนื่อง

ชาวโรฮิงญาเกือบ 70,000 คน หลบหนีเข้าไปในบังกลาเทศ นับตั้งแต่ทหารดำเนินการการกวาดล้างเมื่อ 4 เดือนก่อน เพื่อค้นหานักรบโรฮิงญาที่ทางการพม่ากล่าวหาว่า เป็นผู้อยู่เบื้องหลังเหตุโจมตีด่านชายแดนตำรวจจนทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเสียชีวิต

รายงานของคณะทำงานของสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ระบุว่า กองกำลังรักษาความความมั่นคงเป็นผู้รับผิดชอบต่อเหตุทรมาน สังหาร และรุมข่มขืนที่รุนแรงอาจถึงขั้นเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวโรฮิงญา และในบรรดาคำให้การของพยานระบุว่า มีการสังหารเด็กด้วยมีด ขณะที่แม่ของเด็กถูกกองกำลังรักษาความมั่นคงข่มขืน

หลายเดือนที่ผ่านมา ทางการพม่าปฏิเสธคำให้การคล้ายกันนี้ที่รวบรวมโดยสื่อต่างชาตืิ และกลุ่มสิทธิมนุษยชน แต่หลังจากรายงานสหประชาชาติได้เผยแพร่ออกมาเมื่อสัปดาห์ก่อน โฆษกสำนักงานประธานาธิบดีพม่า กล่าวว่า รัฐบาลรู้สึกวิตกกังวลต่อข้อกล่าวหาร้ายแรงดังกล่าว และจะตรวจสอบข้อกล่าวหาผ่านทางคณะกรรมการรัฐยะไข่

แต่นักวิจารณ์ระบุว่า คณะกรรมการที่รัฐบาลแต่งตั้งขึ้น ที่มีรองประธานาธิบดีมี้น ส่วย เป็นผู้นำ และสมาชิกในคณะไม่มีชาวมุสลิมร่วมด้วยนี้ว่าเป็นคณะทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ และขาดความน่าเชื่อถือ

เมื่อเดือนก่อน คณะกรรมการได้ออกรายงานเบื้องต้นปฏิเสธต่อข้อกล่าวหาว่ากองกำลังทหารได้ก่อเหตุฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ต่อชาวโรฮิงญา และระบุว่า ไม่มีหลักฐานเพียงพอถึงกรณีการข่มขืน

“คณะกรรมการชุดที่มีอยู่เป็นตัวเลือกที่ไม่น่าเชื่อถือในการดำเนินการสอบสวนครั้งใหม่” เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหประชาชาติด้านการป้องกันการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ กล่าวเมื่อวันจันทร์ (6)

“ผมวิตกว่าคณะกรรมการของรัฐบาลจะระบุว่า ไม่พบข้อพิสูจน์ต่อคำกล่าวหา ขณะที่สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ พบหลักฐานพยานมากมาย” เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหประชาชาติ กล่าว

แต่อ่อง ตุน เต้ต สมาชิกในคณะกรรมการของพม่าปฏิเสธคำวิพากษ์วิจารณ์เหล่านั้น โดยกล่าวว่า คณะกรรมการมุ่งอยู่กับการได้ผลที่ยุติธรรม ไม่ได้เอาอกเอาใจประชาคมโลก

“สิ่งที่สำคัญมากไปกว่าการพยายามหาหลักฐานมาหักล้างสหประชาชาติ คือ การค้นหาความจริง แม้จะยังมีการวิพากษ์วิจารณ์ แต่สำหรับคณะกรรมการแล้ว เราต้องทำงานเพื่อค้นหาความจริงของสถานการณ์” อ่อง ตุน เต้ต กล่าว

คณะกรรมการรัฐยะไข่ เป็นคณะทำงานชุดที่ 2 ที่นางอองซานซูจี ตั้งขึ้นเพื่อพยายามที่จะบรรเทาความแตกแยกทางศาสนาในรัฐยะไข่ ที่ประสบเหตุความไม่สงบทางศาสนาที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 100 คน เมื่อปี 2555

ในเดือน ส.ค. ซูจี ได้แต่งตั้งนายโคฟี อันนัน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ เป็นหัวหน้าคณะทำงานอีกชุดหนึ่งที่มีหน้าที่ค้นหาทางแก้ไขสำหรับรัฐยะไข่.
กำลังโหลดความคิดเห็น