xs
xsm
sm
md
lg

องค์กรช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมหลายสิบกลุ่มรวมตัวร้องพม่ายุติการสู้รบในภาคเหนือ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ภาพแฟ้มเอพีเดือนพ.ย.2559 เผยให้เห็นทหารของกองกำลังกะฉิ่นอิสระ (KIA) ลาดตระเวนอยู่บนภูเขาใกล้เมืองลายซา ซึ่งเป็นที่ตั้งกองบัญชาการของ KIA ในรัฐกะฉิ่น การสู้รบระหว่างกองกำลังของรัฐบาลพม่าและกลุ่มกบฎชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์ในรัฐกะฉิ่นและรัฐชานยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่เดือนพ.ย. ส่งผลให้มีประชาชนต้องพลัดถิ่นจำนวนมาก และกลุ่มช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ด้านมนุษยธรรมได้รวมตัวเรียกร้องให้รัฐบาลยุติการสู้รบในพื้นที่เหล่านี้. -- Associated Press/Esther Htusan.</font></b>

เอพี - กลุ่มองค์กรเพื่อการพัฒนาและช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม 22 กลุ่ม ได้เรียกร้องการยุติการสู้รบระหว่างกองกำลังของรัฐบาลพม่า และกลุ่มกบฏชนกลุ่มน้อยในพื้นที่ทางภาคเหนือของประเทศ และปกป้องคุ้มครองพลเรือนที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้ง

กลุ่มต่างๆ ที่ร่วมลงนามในคำแถลงยังประกอบด้วย องค์กรคณะกรรมการช่วยเหลือนานาชาติ (IRC) องค์กรอ็อกแฟม องค์การแพลนอินเตอร์เนชันแนล และองค์กรช่วยเหลือเด็ก

“เราวิตกถึงเหตุการณ์พลเรือนถูกฆ่า ได้รับบาดเจ็บ และพลัดถิ่น เนื่องจากปฏิบัติการทางทหารที่ทวีความรุนแรงขึ้น และการใช้ปืนใหญ่ใกล้กับพื้นที่ที่มีประชากรอาศัยอยู่” กลุ่มองค์กรทั้งในประเทศ และต่างประเทศระบุในคำแถลง

นอกจากนั้น ยังมีรายงานว่า มีพลเรือนซึ่งหลบหนีเข้าไปพักอยู่ในค่ายผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ กลับพบว่าตนเองติดอยู่ท่ามกลางการสู้รบ

การสู้รบรุนแรงเกิดขึ้นในรัฐกะฉิ่น และรัฐชาน ตั้งแต่เดือน พ.ย. ด้วยรัฐบาลปฏิบัติการโจมตีทางอากาศ และโจมตีด้วยปืนใหญ่เพื่อต่อสู้กับกองกำลังจากชนกลุ่มน้อยกะฉิ่น และกลุ่มชาติพันธุ์อีก 3 กลุ่มที่เรียกร้องการปกครองตนเอง ซึ่งนักเคลื่อนไหวชาวกะฉิ่น รายหนึ่งกล่าวว่า รัฐบาลไม่อนุญาตให้กลุ่มช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ทางมนุษยธรรมเข้าถึงพลเรือนพลัดถิ่นจำนวนหลายพันคน

แต่ฝ่ายทหารได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว

“ไม่มีองค์กรใดที่รัฐบาลจะไม่อนุญาตหากพวกเขาทำงาน และมีคำขอตามกฎระเบียบ” พล.ต. อ่อง เย วิน จากสำนักงานผู้บัญชาการทหารสูงสุดพม่า กล่าว

คำแถลงของกลุ่มองค์กรช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมยังเรียกร้องให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ในการเจรจาไกล่เกลี่ยเพื่อสันติภาพ เพื่อที่จะบรรลุความสงบสุขอย่างยั่งยืนในพม่า

ยางฮี ลี ผู้แทนพิเศษสหประชาชาติด้านสิทธิมนุษยชน ได้แสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์การตอบโต้อย่างหนักของรัฐบาลต่อเหตุความขัดแย้งต่อชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์ โดยลี ระบุว่า รัฐบาลปฏิเสธคำขอเข้าถึงพื้นที่บางส่วนที่ประสบปัญหาในภาคเหนือระหว่างที่ ลี ลงพื้นที่ปฏิบัติภารกิจนาน 12 วัน ในพม่า

“มันเป็นหลักฐานว่า สถานการณ์ในรัฐกะฉิ่น และชายแดนทางเหนือกำลังย่ำแย่ ผู้ที่อยู่ในรัฐกะฉิ่น บอกต่อฉันว่า สถานการณ์ในเวลานี้เลวร้ายกว่าที่เคยเป็นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา” ลี กล่าว

ความไม่สงบในรัฐกะฉิ่น และทางเหนือของรัฐชาน เป็นเพียงหนึ่งในความขัดแย้งที่ยังคงคุกรุ่นในพม่า แม้รัฐบาลได้ตกลงหยุดยิงกับกลุ่มกบฏชาติพันธุ์กลุ่มอื่นๆ ในความพยายามที่จะบรรลุข้อตกลงสันติภาพเบ็ดเสร็จแล้วก็ตาม.
กำลังโหลดความคิดเห็น