xs
xsm
sm
md
lg

พม่าปฏิรูปขนส่งมวลชนปรับระบบรถโดยสารใหม่ ลดความแออัดในย่างกุ้ง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ผู้ช่วยคนขับโบกมือเรียกผู้โดยสารขึ้นรถโดยสารประจำทางที่ปรับเส้นทางใหม่จากเดิมที่เคยมีมากถึง 300 สาย เหลือเพียง 61 สาย ในนครย่างกุ้ง วันที่ 16 ม.ค. -- Reuters/Soe Zeya Tun.</font></b>

รอยเตอร์ - พม่าเปิดตัวระบบขนส่งมวลชนใหม่ในเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศในวันนี้ (16) นับเป็นการให้บริการรถโดยสารประจำทาง พร้อมตารางเวลาเดินรถ และเงินเดือนสำหรับคนขับรถเป็นครั้งแรก ในความเคลื่อนไหวที่อาจเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชาวย่างกุ้งกว่า 5 ล้านคน

การปฏิรูปการคมนาคมครั้งนี้ เป็นโครงการสำหรับประชาชนโครงการใหญ่ที่สุดที่ส่งผลในทันทีกับเมืองของประเทศที่มีนางอองซานซูจี เป็นผู้นำ ที่ชนะการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์ในปี 2558 และยังเป็นบททดสอบสำคัญสำหรับความสามารถของซูจีในการตอบสนองต่อความคาดหวังอันสูงลิ่วของประชาชน

ในขณะที่การเลือกตั้งซ่อมสมาชิกรัฐสภากำลังจะมีขึ้นในเดือน เม.ย. พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ของซูจี ได้ยกเครื่องเครือข่ายยานพาหนะขนส่งสาธารณะที่ไม่เป็นระเบียบกว่า 4,000 คัน ซึ่งครึ่งหนึ่งในนั้นใช้งานมานานกว่า 20 ปี

ระบบใหม่จะช่วยลดจำนวนยานพาหนะที่ใกล้จะพังเหล่านั้น และทำงานร่วมกันกับสายรถประจำทาง จากที่เคยมีถึง 300 สาย เหลือเพียง 61 สาย

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมีเป้าหมายที่จะลดปัญหาการจราจรแออัด และระยะเวลาในการเดินทางของผู้เดินทางกว่า 2 ล้านคน ที่ต่างร้องเรียนถึงปัญหารถโดยสารที่แออัด เวลาเดินรถที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ และการขับขี่ที่ไม่ปลอดภัย

นักศึกษาหญิงอายุ 20 ปี ที่เพิ่งใช้บริการรถโดยสารที่ผู้โดยสารอัดแน่นเมื่อช่วงบ่ายในย่านใจกลางนครย่างกุ้ง กำธนบัตรมูลค่า 200 จ๊าต (ประมาณ 5 บาท) เพื่อจ่ายค่าโดยสารส่วนอีกมือหนึ่งถือกล่องอาหารกลางวัน

“ฉันมักต้องติดอยู่กับกลุ่มคนที่แออัดอยู่บนรถอย่างน้อย 1 ชั่วโมง” โท โท กล่าว

เพียว มิน เต็ง มุขมนตรีนครย่างกุ้ง ระบุว่า รายการความล้มเหลวที่ยาวเหยียดของระบบขนส่งมวลชนก่อนหน้านี้ที่ขาดการจัดการอย่างมืออาชีพ เป็นผลจากการทุจริตคอร์รัปชัน นอกจากนั้น ยังมีชื่อเสียงในทางไม่ดีจากการให้บริการที่ย่ำแย่ และความประมาทของคนขับ

“เราจะเปลี่ยนระบบรถโดยสารเป็นอย่างแรก จากนั้นจะยกระดับระบบการชำระค่าบริการอิเล็กทรอนิกส์ ความปลอดภัย และดำเนินการควบคุมเพื่อให้แน่ใจว่าคนขับเคารพกฎจราจร” เพียว มิน เต็ง กล่าวต่อผู้สื่อข่าวในงานแถลงข่าวเมื่อสัปดาห์ก่อน

ในส่วนของการยกเครื่องระบบขนส่งมวลชน รัฐบาลจะจัดตั้งองค์การขนส่งเขตย่างกุ้ง (YRTA) เพื่อจัดการกลุ่มบริษัทรถโดยสารที่จะตั้งกลุ่มความร่วมมือระหว่างภาครัฐ และภาคเอกชน

YRTA ประกาศว่า มีบริษัทที่ได้รับการคัดเลือกทั้งหมด 8 ราย ที่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการระบบบริการรถโดยสารนครย่างกุ้ง

“เราเพิ่งเริ่มต้นปฏิรูป มันเป็นเพียงขั้นแรกเท่านั้น ซึ่งเราอาจเผชิญต่อการคัดค้านต่อต้าน หรือแม้แต่การประท้วง” หม่อง อ่อง เลขาธิการ YRTA กล่าว

แต่ ซาน มี้น วัย 48 ปี ที่ทำอาชีพขับรถโดยสารมานานกว่า 20 ปี ได้วิพากษ์วิจารณ์การรณรงค์ให้ข้อมูลแก่ประชาชนก่อนการเปิดตัวระบบใหม่นั้นยังไม่เพียงพอ และยังขาดคำแนะนำสำหรับคนขับรถโดยสาร รวมทั้งไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับระบบเงินเดือนใหม่

ก่อนการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ คนขับรถโดยสารในนครย่างกุ้งได้รับค่าจ้างต่อเที่ยว ทำให้คนขับเหล่านี้ขับรถเร็ว และบ่อยครั้งมักฝ่าฝืนกฎจราจร

“ผมรู้ว่าเราต้องร่วมมือกับการปฏิรูป ผมหวังแค่ว่าเงินเดือนของพวกเราจะไม่ลดลงภายใต้ระบบรถโดยสารใหม่” ซาน มี้น กล่าว.
.
<br><FONT color=#000033>ผู้โดยสารยืนอ่านป้ายแสดงเส้นทางรถโดยสาร สำหรับระบบขนส่งใหม่ ที่ป้ายรถในนครย่างกุ้ง วันที่ 16 ม.ค. -- Reuters/Soe Zeya Tun.</font></b>
.

.
กำลังโหลดความคิดเห็น