xs
xsm
sm
md
lg

บริษัทร่วมทุนเวียดนามเข้าวินสัมปทานเครือข่ายโทรศัพท์ในพม่า

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>หญิงพม่าเดินคุยโทรศัพท์บนถนนในนครย่างกุ้ง พม่าให้ใบอนุญาตดำเนินกิจการโทรคมนาคมแก่บริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัทของเวียดนามและบริษัทท้องถิ่น 2 ราย เป็นรายที่ 4 และสุดท้ายของประเทศ ในตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยบริษัทเวียดเทล ของเวียดนามนั้นวางแผนที่จะลงทุนในภาคส่วนโทรคมนาคมของพม่าที่ 1,500 ล้านดอลลาร์. -- Agence France-Presse/Soe Than Win.</font></b>

รอยเตอร์ - พม่าได้มอบใบอนุญาตดำเนินกิิจการโทรคมนาคมให้แก่บริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัทเวียดเทล (Viettel) ของเวียดนาม และบริษัทท้องถิ่น 2 ราย เป็นรายที่ 4 และรายสุดท้ายของภาคส่วนนี้ ที่การแข่งขันกำลังร้อนแรงในตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว

บริษัทเวียดเทล ที่ดำเนินกิจการโดยทหาร จะถือครองหุ้นร้อยละ 49 ในบริษัทร่วมทุนใหม่นี้ที่มีชื่อว่า “เมียนมาร์เนชันแนล เทเล แอนด์ คอมมูนิเคชั่น” (Myanmar National Tele & Communications Co. Ltd) ขณะที่หุ้นส่วนท้องถิ่นสองรายคือ บริษัทเมียนมาร์ เนชันแนล เทเลคอม โฮลดิ้ง และบริษัทสตาร์ ไฮ พับลิก จะถือหุ้นที่ร้อยละ 23 และร้อยละ 28 ตามลำดับ

การร่วมทุนครั้งนี้ถือเป็นกรณีความร่วมมือที่ไม่ปกติระหว่างกิจการที่ควบคุมโดยกองทัพพม่าและเวียดนาม ด้วยบริษัทแม่ของบริษัทสตาร์ไฮพับลิกนั้น คือ บริษัทเมียนมาร์ อีโคโนมิก โฮลดิ้ง ที่กองทัพพม่าเป็นเจ้าของ สำหรับกระบวนการคัดเลือกนั้นเกิดขึ้นก่อนสมัยรัฐบาลของนางอองซานซูจี ขณะที่การมีส่วนร่วมของบริษัทเวียดเทลก็เป็นที่ทราบกันมาระยะหนึ่ง

ตัน ซิน หม่อง รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมขนส่งและการสื่อสาร กล่าวในกรุงเนปีดอ ว่า ผู้ให้บริการรายใหม่จะช่วยทำให้การสื่อสารโทรคมนาคมก้าวหน้ายิ่งขึ้น ทั้งในเมืองที่อยู่ตามพื้นราบ และเมืองที่อยู่ตามภูเขาห่างไกล และยังนำไปสู่การปรับปรุงด้านการขนส่ง การดูแลสุขภาพ และการศึกษาที่จำเป็นต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบท

การเปิดเสรีภาคโทรคมนาคมของพม่าได้กลายเป็นตัวอย่างที่หาได้ยากของการปฏิรูปที่ประสบความสำเร็จ นับตั้งแต่กองทัพถอนตัวออกจากอำนาจในปี 2554 จากการเข้ามามีส่วนร่วมและขยายตัวอย่างรวดเร็วของผู้ให้บริการต่างชาติ คือ บริษัทเทเลนอร์ จากนอร์เวย์ และบริษัทอูรีดู จากกาตาร์

เวียดเทล ที่ให้บริการในหลายประเทศทั่วภูมิภาคเอเชีย แอฟริกา และอเมริกา ระบุเมื่อเดือน เม.ย. ว่า บริษัทวางแผนที่จะลงทุน 1,500 ล้านดอลลาร์ ในภาคโทรคมนาคมของพม่า

ใบอนุญาตสัมปทานมีอายุ 15 ปี และสามารถต่ออายุได้

บริษัทร่วมทุนรายใหม่นี้จะกลายเป็นผู้ประกอบการโทรคมนาคมที่พม่าถือหุ้นส่วนใหญ่เป็นรายที่ 2 ต่อจากบริษัทไปรษณีย์และโทรคมนาคมพม่า (MPT) ผู้ให้บริการที่รัฐเป็นเจ้าของ ซึ่งร่วมมือกับบริษัท KDDI Corp ของญี่ปุ่น ที่เข้ามามีส่วนช่วยในการปรับปรุงการให้บริการ.
กำลังโหลดความคิดเห็น