xs
xsm
sm
md
lg

ตอนนี้ลาวมีเขื่อนไฟฟ้า 40 แห่งแล้ว "เซเสด 3" เพิ่งเปิดอีกที่ อีก 3 ปีเพิ่มขึ้นเป็น 100

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>นายคำมะนี อินทิลาด รัฐมนตรีว่าการพลังงานและเหมืองแร่ ร่วมกับผู้แทนจากหลายฝ่าย ทำพิธีเปิดใช้เขื่อนเซเสด-3 อย่างเป็นทางการในแขวงสาละวัน 6 ม.ค.ที่ผ่านมา ตามตัวเลขของรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว จนถึงสิ้นปี 2559 ทั่วประเทศมีเขื่อนและโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนรวมกันทั้งหมด 42 แห่ง จะเสร็จอีก 9 แห่งในปีนี้ จำนวนจะเพิ่มเป็นเกือบ 100 แห่งในอีก 3 ปีข้างหน้า. -- ภาพ: เว็บไซต์วิทยุกระจายเสียงจีนสากล. </b>

MGRออนไลน์ -- จนถึงสิ้นปีที่ 2559 ผ่านมาในลาวมีโครงการผลิตไฟฟ้าทั้งจากพลังน้ำและพลังความร้อน ก่อสร้างแล้วเสร็จ รวมทั้งหมด 42 โครงการ และ กำลังจะแล้วเสร็จอีก 9 โครงการในปีนี้ ซึ่งจะทำให้ลาวมีเขื่อนผลิตไฟฟ้า กับโรงไฟฟ้าถ่านหินรวมกันเป็นกว่า 90 แห่งในปี 2563 สื่อของทางการรายงานในสัปดาห์นี้ อ้างตัวเลขกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่

จนถึงปัจจุบันทั้ง 42 โครงการ มีกำลังผลิตรวมกันทั้งสิ้น 6,300 เมกะวัตต์ สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 35 พันล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี และ จะเพิ่มขึ้นเป็นทั้งหมด 14,000 เมกะวัตต์ในอีก 3 ปีข้างหน้า ขณะที่การก่อสร้างเขื่อนอีกหลายแห่งกำลังดำเนินต่อไป ตามศักยภาพที่ลาวสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังน้ำได้ถึง 20,000 เมกะวัตต์ จากเขื่อนที่สร้างกั้นลำน้ำสาขาต่างๆ นับจำนวนกว่า 100 แห่ง ในแผนการเป็น "แบตเตอรีแห่งอาเซียน" คือ ผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้

รัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาวเพิ่งทำพิธีเปิดใช้เขื่อนเซเสด-3 อย่างเป็นทางการวันที่ 6 ม.ค.ที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าจะเริ่มปั่นไฟเข้าสู่ระบบ มาตั้งแต่เดือน ก.ค.ปีที่แล้วก็ตาม เขื่อนขนาด 23 เมกะวัตต์แห่งนี้อยู่ในแขวงสาละวัน เป็นแห่งที่สามที่สร้างกั้นลำน้ำสายเดียวกัน เริ่มก่อสร้างเดือน ม.ค.2557 แล้วเสร็จเดือน ก.ค.ปีที่แล้ว รวมมูลค่า 50.7 ล้านดอลลาร์ ถือหุ้นใหญ่โดยกลุ่มโนรินโค (NORINCO) จากจีน

ถึงแม้ว่าจะผลิตพลังงานได้มากมายก็ตาม ในปี 2560 สปป.ลาว ที่มีประชากรเพียง 6.8 ล้านคน อาจต้องการใช้ไฟฟ้าเพียง 1,579 เมกะวัตต์เท่านั้น และ จะเพิ่มขึ้นเป็นเพียงประมาณ 2,862 เมกะวัตต์ในปี 2563 สำนักข่าวสารปะเทดลาวรายงาน ตัวเลขคาดการของ รฟล.

ไฟฟ้าที่เหลือจากการใช้ในประเทศทั้งหมด จะส่งขายให้แก่เพื่อนบ้าน เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ โดยมีไทยเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สุด ขณะที่เวียดนามอยู่ระหว่างการเจรจา ซื้อไฟฟ้าอีกจำนวนหนึ่งจากลาว

ต้นเดือน ก.ย.2559 ระหว่างไปร่วมการประชุมผู้นำอาเซียนในนครเวียงจันทน์ พล.อ.ประยุทธ ขันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย ได้ร่วมกับนายทองลุน สีสุลิด นรม.ลาว เป็นสักขีพยาน ในพิธีเซ็นบันทึกช่วยความจำ การซื้อขายไฟฟ้าครั้งใหม่ระหว่างสองประเทศ ซึ่งเพิ่มปริมาณขึ้นเป็น 9,000 เมกะวัตต์ จาก 7,000 เมะกวัตต์ ทั้งนี้เนื่องจากความต้องการใช้่ไฟฟ้าของไทย ที่เพิ่มสูงขึ้นจนทำสถิติใหม่เมื่อปีที่แล้ว

การซื้อขายกระแสไฟฟ้าระหว่างสองประเทศเพื่อนบ้าน เป็นความร่วมมือด้านพลังงานสองฝ่าย ที่ดำเนินต่อเนื่องมาเป็นเวลา 4 ทศวรรษ ไทยได้เซ็นความตกลงซื้อไฟฟ้าจากลาวครั้งก่อนหน้านั้นเมื่อปี 2549 จาก 5,000 เพิ่มขึ้นเป็น 7,000 เมกะวัตต์.
กำลังโหลดความคิดเห็น