MGRออนไลน์ -- รัฐบาลลาวได้สั่ง.ห้หยุดการทำสวนกล้วย หลังจากพบว่านักลงทุนจากต่างประเทศ ได้สมคบกับทางการท้องถิ่น นำเข้าสารเคมีอันตรายมาใช้ในประเทศ ส่งผลกระทบต่อทุกชีวิตในระยะยาว และ ทำลายสภาพแวดล้อม สื่อของทางการรายงานในวันอาทิตย์ 6 พ.ย. โดยไม่ได้ให้รายละเอียดอื่นใดอีก
แต่ในสัปดาห์ที่ผ่านมา สวนกล้วยของ "นักลงทุนต่างชาติ" ซึ่งหมายถึงนักลงทุนจากจีน ได้กลายเป็นประเด็นสำคัญ ในการอภิปรายของ บรรดาผู้แทนราษฎร ที่แสดงความห่วงใย และ ขอทราบสถานะของปัญหา ตลอดจนผลการดำเนินการของรัฐบาล และ ต่อมาในปลายสัปดาห์ คณะกรรมการประจำสภาแห่งชาติ ได้เสนอให้รัฐบาลใช้มาตรการเด็ดขาด ปัญหาการใช้สารเคมี อย่างเกินขอบเขต ไร้การควบคุม
"ລັດຖະບານສັ່ງຢຸດຕິການປູກກ້ວຍ ພາຍຫລັງພົບວ່າມີນັກລົງທຶນຕ່າງປະເທດ ຮ່ວມມືກັບບາງອໍານາດການປົກຄອງທ້ອງຖິ່ນນໍາເອົາສານເຄມີ ອັນຕະລາຍເຂົ້າມານໍາໃຊ້ຊະຊາຍໃນ ສປປ ລາວ ເຊິ່ງຈະສົ່ງຜົນກະທົບຕໍ່ຄົນ,ສັດ ແລະ ດິນປູກຝັງໄລຍະຍາວ" สำนักข่าวสารปะเทดลาวรายงาน โดยชี้ชัดให้เห็นปัญหาที่เกิดจาก "บางอำนาจการปกครองท้องถิ่น" สมคบกับนักลงทุนต่างประเทศ
สื่อของทางการไม่ได้เจาะจงว่า เป็นอำนาจการปกครองท้องถิ่นใด แต่สังคมสามารถเข้าใจได้ว่า หมายถึง 3 แขวงภาคเหนือ ซึ่งได้แก่ บ่อแก้ว อุดมไซ และ ผ่งสาลี ที่มีนักลงทุนจากจีนเข้าไปปลูกกล้วยหอมมากที่สุด และ มีรายงานการใช้สารเคมีที่ผิดกฎหมาย มากที่สุด รวมทั้งในบางพื้นที่ของแขวงหลวงน้ำทา ลงไปจนถึงแขวงหลวงพระบาง
ตามรายงานของหนังสือพิมพ์ลาวพัดทะนา ภายหลังการอภิปรายของบรรดาผู้แทนราษฎรจำนวนหนึ่ง คณะกรรมการประจำ สภาแห่งชาติได้มีมติให้รัฐบาล ดำเนินมาตรการเด็ดขาด ต่อการใช้สารเคมีแบบไร้ขอบเขต เนื่องจากได้ก่อปัญหา และ ส่งผลกระทบหลายด้าน ต่อเศรษฐกิจ-สังคมของชาติ
คณะกรรมการประจำสภาฯ เสนอให้รัฐบาล "ກວດກາຄືນບັນດາກົດໝາຍແລະນິຕິກຳ ລຸ່ມກົດໝາຍກ່ຽວຂ້ອງກັບການຄຸ້ມຄອງສານເຄມີ ຕ່າງໆ ເຂົ້າໃນການຜະລິດ, ການປຸງແຕ່ງ ແລະ ໂຮງງານອຸດສາຫະກຳຕ່າງໆ ຖ້າເຫັນວ່ານິຕິກຳໃດບໍ່ສອດຄ່ອງກັບສະພາບຄວາມເປັນຈິງ ໃນປັດຈຸບັນແມ່ນສະເໜີໃຫ້ປັບປຸງໂດຍໄວ.." หนังสือพิมพ์ของสมาคมนักข่าวแห่งชาติรายงาน
นั่นคือ การเสนอให้รัฐบาล ต้องศึกษารายละเอียดข้อกฎหมาย และนิติกรรมที่ทำกับนักลงทุนต่างชาติ ในโครงการต่างๆ ที่ใช้สารเคมีเกินขอบเขต จนกระทั่งกลายเป็นปัญหาในขณะนี้่
สภาแห่งชาติขอให้รัฐบาลตรวจตราปัญหาต่างๆ อย่างละเอียด กำหนดอย่างชัดเจนเกี่ยวกับชนิดของสารเคมี ที่ห้ามใช้และห้ามนำเข้า ต้องเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างกว้างขวาง และ ให้ทบทวนบรรดาสัญญาที่เกี่ยวข้องกับโครงการลงทุน ทีได้เซ็นไปก่อนหน้านี้ สัญญาใดควรระงับ สัญญาใดควรยกเลิก และ เร่งแก้ไขผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม การปนเปื้อนทั้งกลิ่น น้ำและอากาศเน่าเสีย และ มีมาตรการเด็ดขาดต่อผู้ละเมิดกฎหมาย
การออกมาแสดงบทบาทของสภาแห่งชาติ ซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัตินั้น ได้แสดงให้เห็นว่า บัดนี้สวนกล้วยจีน ไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะในระดับท้องถิ่น เมืองและแขวงเท่านั้น แต่ได้กลายเป็นวาระแห่งชาติของลาวอย่างสมบูรณ์
.
2
2
สภาแห่งชาติยังเสนอต่อรัฐบาลอีกว่า โครงการลงทุนใดก็ตาม ที่มีการประเมินว่า อาจส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม สังคมและธรรมชาติ ควรผ่านการพิจารณาของสภาแห่งชาติ หรือ สภาประชาชนระดับแขวง โครงการใดที่รัฐบาลอนุมัติไปแล้ว จะต้องเพิ่มทวีการตจรวจตรา เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาล และการบังคับใช้กฎหมาย
นอกจากนั้นรัฐบาลยังจะต้องยกระดับความรู้ ความสามารถของบรรดาพนักงาน เกี่ยวกับการใช้สารเคมี เครื่องมือที่ต้องใช้ รวมทั้งการจัดซื้อเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็น ในการวิจัย วิเคราะห์การปนเปื้อนของสารเคมีในอาหาร น้ำและอากาศ เพื่อจัดการกับปัญหานี้ อย่างมีประสิทธิภาพ
ปัญหาสวนกล้วยนักลงทุนจีน กับการใช้สารเคมี ที่ทำลายสภาพแวดล้อม ผุดขึ้นมาให้เห็นเป็นครั้งแรก ในเดือน ก.ย.ปีที่แล้ว เมื่อสำนักข่าวของทางการรายงาน อ้างผลการสำรวจของกระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ ในเขตเมือง (อำเภอ) นาหม้อ กับเมืองนาน แขวงอุดมไซ ที่บริษัทจีน 4 แห่งได้รับสัมปทาน ปลูกกล้วยหอม ในพื้นที่รวมกว่า 700 เฮกตาร์
กระทรวงฯ พบว่า ที่นั่นมีการใช้สารเคมี ที่นำเข้าอย่างผิดกฎหมายหลายชนิด ทั้งยาฆ่าหญ้า ยาปราบศัตรูพืช และ ปุ๋ยเคมี ปริมาณมหาศาล
ปลายปีที่แล้วแขวงบ่อแก้วกับแขวงอุดมไซ ซึ่งเป็นเสมือน "สวนกล้วยหอมหลังบ้าน" ของจีน เป็นแหล่งที่มีการปลูกมากที่สุด มีเนื้อที่รวมกันเกือบแสนไร่ ได้ประกาศยุติการออกใบอนุญาตการลงทุนทำสวนกล้วยอีก และ ไม่อนุญาตให้ขยายโครงการลงทุนที่เซ็นสัญญาไปแล้ว
เดือน ส.ค.ที่ผ่านมา สวนกล้วยขนาดใหญ่ของจีน ในท้องที่อีก 2 เมือง แขวงอุดมไซ ซึ่งได้แก่เมืองรุนกับเมืองแบง ถูกน้ำป่าไหลหลากเข้าซัด ทำให้ถังเก็บสารเคมีสูญหายไป และ ยังไม่มีข่าวคราวเกี่ยวกับการเก็บกู้ มาตั้งแต่นั้น ขณะเจ้าหน้าที่ทางการอธิบายว่า เป็นเพียงถึงเก็บปุ๋ยเคมีที่ใช้กันทั่วไป
แต่ภาพเหตุการณ์ดังกล่าว ได้กลายเป็นเสมือนฝันร้ายที่ฝังอยู่ในความทรงจำของทั่วทั้งสังคมลาว.