xs
xsm
sm
md
lg

ชาวเขมรแห่รับ “สี จิ้นผิง” เยือน คาดเซ็นข้อตกลง “ฮุนเซน” หลายสิบฉบับ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033> ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน (กลาง) เดินทางถึงสนามบินนานาชาติกรุงพนมเปญ ในการเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการเป็นเวลา 2 วัน โดยจะพบหารือกับนายกรัฐมนตรีฮุนเซน ที่คาดว่าจะมีการลงนามข้อตกลงกันอย่างน้อย 28 ฉบับ. -- Agence France-Presse/Tang Chhin Sothy.</font></b>

รอยเตอร์ - ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน เดินทางถึงกัมพูชา ในการเยือนเป็นเวลา 2 วัน ในวันนี้ (13) พร้อมกล่าวยกย่องถึงความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดที่ทำให้ได้เห็นกัมพูชาหนุนจุดยืนของจีนเกี่ยวกับทะเลจีนใต้ และคาดว่าจะบรรลุข้อตกลงทางเศรษฐกิจกับกัมพูชาหลายสิบฉบับ

นักเรียน-นักศึกษาราว 2,000 คน โบกธงชาติ และถือรูปผู้นำจีน และกษัตริย์นโรดมสีหมุนี ของเขมร เรียงแถวตามถนนจากสนามบินกรุงพนมเปญไปยังตัวเมือง เพื่อต้อนรับผู้นำแดนมังกร ที่เยือนกรุงพนมเปญครั้งแรกนับตั้งแต่รับตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 2556

กัมพูชา เป็นเกราะกำบังให้จีนจากเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) เกี่ยวกับทะเลจีนใต้ ซึ่งเวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และบรูไน ที่เป็นชาติสมาชิกในกลุ่มอาเซียนต่างมีข้อพิพาทขัดแย้งกับจีนเกี่ยวกับการแข่งขันอ้างกรรมสิทธิ์เหนือน่านน้ำดังกล่าว

เมื่อเดือนก่อน กัมพูชาช่วยขวางการอ้างถึงคำตัดสินของศาลอนุญาโตตุลาการที่ปฏิเสธการอ้างสิทธิของจีนลงในคำแถลงของอาเซียน

“จีน และกัมพูชาเป็นเพื่อนบ้านที่ดี มิตรที่แท้จริงที่ซื่อสัตย์ต่อกัน” ข้อความของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ที่ถูกตีพิมพ์ลงในหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์รัสมีกัมปูเจีย หนังสือพิมพ์ภาษาเขมรที่ใหญ่ที่สุดของกัมพูชา

ผู้นำจีน กล่าวว่า การค้าทวิภาคีแตะ 4,400 ล้านดอลลาร์เมื่อปีก่อน และตั้งเป้าให้มีมูลค่าถึง 5,000 ล้านดอลลาร์ในปีหน้า ส่วนการลงทุนของจีนในกัมพูชาในปี 2558 มีมูลค่าทั้งสิ้น 864 ล้านดอลลาร์ ขณะที่มูลค่ารวมทั้งหมดตั้งแต่ปี 2537 อยู่ที่ 9,100 ล้านดอลลาร์ ตามการระบุของสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา และในปีนี้ จีนให้คำมั่นว่าจะมอบความช่วยเหลือแก่กัมพูชา 600 ล้านดอลลาร์ ในช่วง 3 ปีข้างหน้า

ระหว่างประธานาธิบดีสี จิ้นผิง พบหารือกับนายกรัฐมนตรีฮุนเซน ในวันนี้ (13) คาดว่าจะมีการลงนามข้อตกลงอย่างน้อย 28 ฉบับ ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวกับการส่งออกผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของกัมพูชาไปจีน

จีนกลายเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดที่สุดของกัมพูชา ขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างกัมพูชา และมหาอำนาจตะวันตก รวมทั้งสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป มักร้าวฉานจากความต่างในเรื่องสิทธิมนุษยชน

นักวิเคราะห์จากหน่วยงานวิเคราะห์เศรษฐกิจของนิตยสาร The Economist กล่าวว่า การเยือนของผู้นำจีนเป็นตัวแทนการรับรองของจีนท่ามกลางการวิพากษ์วิจารณ์ที่เพิ่มสูงขึ้นจากตะวันตกเกี่ยวกับการปราบปรามผู้วิจารณ์รัฐบาลก่อนการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2561

“การสนับสนุนกัมพูชาอย่างต่อเนื่องของจีน ทั้งด้านเศรษฐกิจ และในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ จะมีความหมายว่า การปกครองอันเข้มงวดของฮุนเซนไม่มีแนวโน้มที่จะอ่อนลงในเร็วๆ นี้” นักวิเคราะห์ กล่าว.
.

.

.
กำลังโหลดความคิดเห็น