xs
xsm
sm
md
lg

สาธารณสุขพม่ายืนยันโรคหัดระบาดภาคเหนือคร่าเด็กกว่า 30 คน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 25 ธ.ค. 2557 เผยให้เห็นผู้หญิงและเด็กชาวของชนเผ่านาการวมตัวกันที่ลานของเมืองลาฮาล ในเขตสะกาย เจ้าหน้าที่สาธารณสุขพม่าได้ยืนยันว่าโรคระบาดที่คร่าชีวิตเด็กจำนวนมากในเมืองลาฮาลและพื้นที่ใกล้เคียงคือโรคหัด. -- Agence France-Presse/Phyo Hein Kyaw.</font></b>

เอเอฟพี - เจ้าหน้าที่สาธารณสุขพม่ายืนยันว่า การระบาดของโรคหัดอยู่เบื้องหลังการเสียชีิวิตของผู้คนมากกว่า 30 คน ที่ส่วนใหญ่เป็นเด็ก ในพื้นที่ห่างไกลของประเทศ ขณะที่ทางการเร่งเข้าดูแลรักษาผู้ป่วย

การระบาดของโรคเกิดขึ้นในพื้นที่ภูเขาห่างไกลทางภาคเหนือของเขตสะกาย ติดชายแดนทางตะวันออกของอินเดีย และประชากรในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นชนเผ่านากา

การเสียชีวิตเริ่มขึ้นตั้งแต่เดือน มิ.ย. และตอกย้ำให้เห็นถึงความเสี่ยงของประชากรที่อยู่ห่างไกลในประเทศที่การดูแลสุขภาพไม่เคยเป็นสิ่งสำคัญภายใต้การปกครองของรัฐบาลเผด็จการทหาร ปัญหานี้เป็นสิ่งที่รัฐบาลของอองซานซูจี กำลังพยายามที่จะแก้ไข

ตัน ทุน อ่อง รองผู้อำนวยการกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ผลจากการทดสอบในห้องปฏิบัติการพบว่า โรคที่ระบาดอยู่ในเมืองลาฮาล คือ โรคหัด

“มันคือโรคหัด เรากำลังส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปเพิ่ม และทำงานร่วมกันกับแพทย์ของกองทัพ” ตัน ทุน อ่อง กล่าว

ก่อนหน้านี้ ตัวแทนชาวนากาในพื้นที่กล่าวหาว่า รัฐบาลกลางดำเนินการเชื่องช้า

พื้นที่ที่เกิดโรคหัดระบาดเป็นพื้นที่ยากจน และห่างไกลมาก ติดชายแดนที่เป็นภูเขา ซึ่งถนน และไฟฟ้ายังคงขาดแคลน

“ทีมแพทย์ชุดแรกต้องใช้เวลาราว 6 วัน กว่าจะเข้าถึงหมู่บ้าน และการสื่อสารที่นั่นก็เป็นเรื่องยาก” ตัน ทุน อ่อง กล่าว

รองผู้อำนวยการควบคุมโรคยืนยันว่า มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 31 คน ในเขตลาฮาล โดยครึ่งหนึ่งของผู้เสียชีวิตมีอายุต่ำกว่า 15 ปี แต่คณะกรรมการกิจการชาวนากาให้ยอดผู้เสียชีวิตมากถึง 39 คน จาก 9 หมู่บ้าน โดยผู้เสียชีวิตเป็นเด็กทั้งหมด

อย่างไรก็ตาม งบประมาณด้านสุขภาพในพม่าได้ปรับเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่พม่าก็ยังคงเป็นประเทศที่ใช้จ่ายเกี่ยวกับสุขภาพที่ต่ำที่สุดแห่งหนึ่งของโลก แต่ในปี 2558 พม่าได้เริ่มโครงการฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนด้วยความช่วยเหลือขององค์การอนามัยโลก และสหประชาชาติ ในเป้าหมายที่จะกำจัดโรคหัด และโรคหัดเยอรมัน ภายในปี 2563.
กำลังโหลดความคิดเห็น