xs
xsm
sm
md
lg

นักศึกษาพม่าเดินขบวนมัณฑะเลย์-ย่างกุ้ง ประท้วงกฎหมายควบคุมเสรีภาพทางวิชาการ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>นักศึกษาพม่าเดินขบวนในเมืองมัณฑะเลย์ เมืองใหญ่อันดับสองของพม่า ในวันที่ 20 ม.ค. นักศึกษาชาวพม่าหลายสิบคนเริ่มต้นเดินขบวนประท้วงโดยไม่ได้รับอนุญาตในเมืองมัณฑะเลย์ โดยระบุว่าการรณรงค์ต่อต้านกฎหมายการศึกษามีขึ้นเรื่องจากพวกเขามองว่ากฎหมายดังกล่าวไม่เป็นประชาธิปไตย.-- Agence France-Presse.</font></b>

เอเอฟพี - นักศึกษาชาวพม่าหลายสิบคนเริ่มเดินขบวนประท้วงในเมืองมัณฑะเลย์ วานนี้ (20) โดยให้คำมั่นว่าจะชุมนุมประท้วงต่อต้านกฎหมายการศึกษาฉบับใหม่ที่พวกเขาเห็นว่าไม่เป็นประชาธิปไตย หลังรัฐบาลล้มเหลวที่จะทำตามข้อเรียกร้อง

การเดินขบวนครั้งนี้เป็นการประท้วงล่าสุดต่อกฎหมายการศึกษาที่บรรดาผู้คัดค้านระบุว่า จะควบคุมเสรีภาพทางวิชาการ

นักรณรงค์หนุ่มสาวเดินขบวนในเมืองมัณฑะเลย์ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากทางการ เรียกร้องการปฏิรูปการศึกษา นับเป็นการท้าทายครั้งใหม่ต่อแผนของรัฐบาล หลังการชุมนุมประท้วงครั้งก่อนหน้าในเดือน พ.ย. ได้ยุติลงเพื่อเปิดเจรจาหารือ แต่แกนนำนักศึกษาระบุว่าพวกเขาจำต้องชุมนุมประท้วงอีกครั้งเนื่องจากรัฐบาลไม่ทำตามข้อเรียกร้อง

“เราให้เวลารัฐบาล 60 วัน แต่พวกเขาไม่พยายามที่จะหารือใดๆ เราบอกพวกเขาว่าเราจะประท้วงอย่างหนักหากพวกเขาไม่เจรจา เรารู้สึกว่ารัฐบาลบังคับให้เราต้องเลือกที่จะตอบโต้เช่นนี้” มิน ถเว ธิต นักศึกษา กล่าว

เส้นทางการเดินขบวนประท้วงของนักศึกษาเริ่มจากเมืองมัณฑะเลย์ ไปยังนครย่างกุ้ง ระยะทาง 580 กม. โดยจะหยุดพักตามมหาวิทยาลัยในจังหวัดต่างๆ ตามทางที่ผ่าน

การชุมนุมประท้วงที่ไม่ได้รับอนุญาตเช่นนี้ ผู้ชุมนุมสามารถถูกเจ้าหน้าที่เข้าจับกุมตัวได้

“เราไม่ได้กลัวการปราบปราม เราไม่มีอาวุธ แม้แต่เข็มก็ไม่มี หากมีการปราบปรามเกิดขึ้น เราแค่ก้มหัว และเผชิญหน้ากับมัน” มิน ถเว ธิต กล่าว

นักศึกษามีพลังทางการเมืองอย่างมากในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของพม่า และเป็นแนวหน้าในการลุกฮือหลายต่อหลายครั้ง รวมทั้งการชุมนุมประท้วงในปี 2531 ที่สิ้นสุดลงด้วยการปราบปรามนองเลือดของทหาร

ทางการยังลังเลที่จะหยุดการชุมนุมของนักศึกษาเมื่อเดือน พ.ย. แม้นักศึกษาจะไม่ได้รับอนุญาตให้จัดชุมนุม

นักศึกษาวางแผนที่จะใช้เวลาราว 2 สัปดาห์ ในการเดินขบวน และตั้งค่ายประท้วงในนครย่างกุ้ง โดยในการเดินขบวนของนักศึกษาครั้งนี้ ยังรวมถึงการรณรงค์การเปลี่ยนแปลงประเด็นสำคัญอื่นๆ เช่น การยกเลิกห้ามสหภาพนักศึกษา และการเพิ่มงบประมาณการศึกษา

นักวิจารณ์ด้านกฎหมายระบุว่า เจ้าหน้าที่ส่วนกลางควบคุมการดำเนินการของมหาวิทยาลัยต่างๆ มากเกินไป เช่น หลักสูตรและนโยบาย และการจำกัดเสรีภาพทางวิชาการ.
กำลังโหลดความคิดเห็น