xs
xsm
sm
md
lg

ยอดเขาหิมะในอินโดนีเซียทำนักวิทยาศาสตร์ทึ่ง อยู่เส้นศูนย์สูตรแต่น้ำแข็งคลุมตลอด

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#00003>ยอดสูงปันจักจายา (Puncak Jaya) ในกูเกิ้ลเอิร์ธ น้ำแข็งอาจจะอยู่บนยอดนี้มาหลายร้อย หลายพันปีหรือหลายหมื่นปี ไม่มีผู้ใดทราบและวันนี้ก็ยังอยู่ ผิดไปจากที่นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันกลุ่มหนึ่ง ที่ขึ้นไปสำรวจและคาดเอาไว้เมื่อ 4-5 ปีที่แล้วว่า สภาวะโลกร้อนจะทำให้หิมะที่นี่ละลายหายไปในอีกไม่นาน นักวิทยาศาสตร์อเมริกันอีกคนหนึ่ง เปิดเผยผลการศึกษาวิจัยในเดือนนี้ อธิบายสาเหตุที่ยอดสูงในปากีสถานมีหิมะปกคลุมทั้งปีเช่นกัน ในขณะที่ส่วนอื่นๆ ของหิมาลัยนั้น หิมะเริ่มหายไปเช่นเดียวกันกับธารน้ำแข็ง แต่ยอดสูงในอินโดนีเซียแห่งนี้ยังไม่มีคำตอบ.  . </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - บางทีทฤษฎีโลกร้อนอย่างเดียวอาจไม่สามารถใช้อธิบายการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศที่สลับซ้อนเช่นในปัจจุบันได้ นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องนี้กล่าวว่า ในขณะที่ธารน้ำแข็งทั่วไปในโลกนี้ค่อยๆ ละลายไป หรือเสื่อมสภาพลงไปเรื่อยๆ แต่สถานการณ์แบบนี้กลับไม่เกิดขึ้นในแถบเทือกเขาคาราคอรัม (Karakoram) แหล่งที่ตั้งของง K2 ซึ่งเป็นยอดสูงสุดอันดับที่ 2 ของโลกที่ชายแดนปากีสถาน-จีน และไกลออกไปทางทิศใต้ ยอดสูงปันจักจายา (Puncak Jaya) ในจังหวัดปาปัว (Papua) ของอินโดนีเซีย ก็เป็นส่วนหนึ่งในความน่าฉงนนี้

เป็นที่ทราบกันดีว่า ในภาคเหนือพม่า มียอดเขาก๋ากะบอราซี (Hkakabo Razi) เป็นยอดสูงที่สุดในแผ่นดินใหญ่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยความสูง 5,900 เมตร และที่นั่นมีน้ำแข็งปกคลุมตลอดทั้งปี แต่บนเกาะนิวกินี ยอดปันจักจายา ที่สูง 4,800 เมตรเศษ กลับน่าทึ่งยิ่งกว่า เพราะว่าเป็นยอดเขาในแถบเส้นศูนย์สูตรของทวีปเอเชีย คณะนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโอไฮโอ สหรัฐฯ ได้ขึ้นไปสำรวจเมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว และเชื่อว่าน้ำแข็งจะละลายหายไปในไม่ช้านี้ ซึ่งเรื่องนี้ยังไม่เกิดขึ้น และยังไม่มีวี่แวว

ตามข้อมูลทางภูมิศาสตร์ ยอดเขาปันจักจายา เป็นยอดสูงที่สุดในย่าน “โอเชียเนีย” (Oceania) หมายถึงดินแดนทวีปใหญ่ออสเตรเลีย กับนิวซีแลนด์ที่อยู่ทางทิศตะวันออก และหมู่เกาะใกล้เคียงที่อยู่ถัดขึ้นไปทางทิศเหนือ ซึ่งรวมทั้งดินแดนบางส่วนของอินโดนีเซีย กับอีกหลายประเทศเกาะในย่านเดียวกันด้วย และยอดปันจักจายา ก็ยังครองแชมป์ยอดสูงที่สุดในโลก ที่อยู่บนเกาะอีกด้วย นอกจากนั้น ก็ยังเป็นยอดเขาสูงที่สุดระหว่างเทือกเขาหิมาลัย ที่พาดผ่านดินแดนของหลายประเทศในย่านเอเชีย กับเทือกเขาแอนดีส (Andes) ในอเมริกาใต้ ที่อยู่ไกลออกไป ในอีกฟากหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิก

กรณีทีเทือกเขาคาราคอรัม ซึ่งพาดผ่านชายแดนอินเดีย ปากีสถาน กับจีนนั้น แตกต่างไปจากย่านอื่นๆ ของทิวเขาหิมาลัยทั้งมวลที่มีขนาดกว้างใหญ่ไพศาลยิ่งกว่า เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมักจะไม่ค่อยมีฝนตกในฤดูร้อน และน้ำแข็งปกคลุมหนาแน่นตลอดเวลา จึงมีโอกาสละลายน้อยกว่า ทั้งนี้ เป็นผลการศึกษาวิจัยของ ดร.ซาราห์ แคปนิก (Sarah Capnick) แห่งมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน โดยรวบรวมข้อมูลพยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาของปากีสถาน และข้อมูลจากดาวเทียม เพื่อศึกษารูปแบบการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ในบริเวณเทือกเขาหิมาลัยระหว่างปี 1861-2100

“นี่ได้ให้คำตอบว่า เพราะเหตุใดคุณจึงได้เห็นหิมะตกมากขึ้นในอาณาบริเวณนี้ และมีธารน้ำแข็งมากขึ้น หรือมีธารน้ำแข็งที่มั่นคงมากขึ้นในเขตร้อน” ดร.แค็ปนิก เปิดเผยนี้ต่อ LiveScience เว็บไซต์ข่าวสารทางวิทยาศาสตร์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งได้เผยแพร่รายละเอียดเกี่ยวกับผลการศึกษาวิจัยเรื่องนี้อีกมาก

เธอกล่าวว่า รูปแบบที่ศึกษากันเมื่อก่อนนี้ ประเมินอุณหภูมิในแถบคาราคอรัม “สูงเกินไป” และยังประเมินปริมาณหิมะที่ตกในบริเวณนี้ “ต่ำเกินไป” อีกด้วย ซึ่งได้ทำให้เกิดสิ่งที่ไม่ปกติขึ้นในอาณาบริเวณดังกล่าวของเทือกเขาหิมาลัย

ถ้าหากเป็นเช่นนั้นจริง เทือกก๋ากะบอราซีในพม่า ซึ่งอยู่ปลายสุดทางทิศตะวันออกของคาราคอรัม ก็คงจะได้อานิสงส์จากสภาพการณ์เดียวกันนี้
.

.
อย่างไรก็ตาม ใต้ลงไปในจังหวัดเกาะที่ครึ่งหนึ่งเป็น จ.ปาปัว ของอินโดนีเซีย หรือ จ.อิเรียนจายา ในอดีต อีกครึ่งของเกาะเดียวกันเป็นประเทศปาปัวนิวกินี สำหรับเรื่องนี้กลับยังไม่มีคำตอบ ยอดเขาปันจักจายาอยู่ในแนวเส้นศูนย์สูตร ซึ่งก็คือบริเวณที่พื้นผิวโลกอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด และการศึกษาของทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโอไฮโอ เมื่อปี 2552-2553 ได้พบว่า หิมะอาจจะอยู่ที่นั่นมาตั้งนานแล้ว อาจจะนานตั้งแต่มียอดเขาลูกนี้ขึ้นมา คณะได้ขุดเจาะลงไปจนถึงแก่นชั้นล่างของน้ำแข็ง นำตัวอย่างไปตรวจสอบและศึกษา ซึ่งอาจจะทำให้ทราบว่า ภูมิอากาศของโลกในยุคต่างๆ ในบริเวณนั้นเปลี่ยนแปลงมาอย่างไรบ้าง ในช่วงหลายร้อยปี หลายพันปี หรืออาจจะนับหมื่นๆ ปีที่ผ่านมา

พวกเขากล่าวในปีนั้นว่า ทุกคนต้องทำงานแข่งเวลาก่อนจะสายเกินไป ซึ่งหมายถึงว่าปีข้างหน้าอาจจะไม่มีน้ำแข็งลงเหลือให้ศึกษาอีก ซึ่งคาดผิดไปถนัด

คนทั่วไปรู้จักอินโดนีเซียดีในฐานะเป็นประเทศหมู่เกาะใหญ่ในกลุ่มอาเซียน และมีภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่นอยู่หลายลูก พ่นลาวาออกมาให้เป็นข่าวประจำเกือบจะทุกปี แต่ยอดสูงปันจักจายาที่อยู่ไกลออกไปทางทิศตะวันออกของเกาะชวา ถูกพูดถึงน้อยกว่า ยิ่งไปกว่านั้นก็คือคนจำนวนมากไม่รู้ว่า ยอดเขาแห่งนี้มีหิมะปกคลุมตลอดปี และยังมีธารน้ำแข็ง (Glacier) เกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อนอีกด้วย

นี่คือ เรื่องที่นักวิทยาศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมของโลกให้ความสนใจ

ตามข้อมูลทางภูมิศาสตร์ ปันจักจายา สูง 4,884 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล เป็นยอดสูงอันดับ 2 ในอาเซียนเมื่อเทียบกับยอดสูงในภาคเหนือพม่า เป็นเขาสูงที่สุดในอินโดนีเซีย ในเทือกเดียวกันยังมียอดสูง ที่มีความสูงลดหลั่นกันลงไปอีกหลายยอด คือ ตั้งแต่ 4,870 ลงไปจนถึง 4,808 เมตร แต่ก็มีเพียงยอดปันจักจายา ที่มีหิมะคลุมอยู่ตลอดเวลา หรืออย่างน้อยที่สุดก็ในขณะนี้.
.
<bR><FONT color=#000033>อยู่ใน จ.นิวกินี ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกสุดของหมู่เกาะอินโดนีเซีย ยังมีคนอีกมากยังไม่ทราบว่า ที่นี่เป็นหลังคาสูงเป็นอันดับสองของกลุ่มอาเซียน รองจากพม่า. </b>
2
ยอดสูงแห่งปริศนา Ohio State University

3

4

5

6

7

8

9
กำลังโหลดความคิดเห็น