xs
xsm
sm
md
lg

ส.ส.เขมรลงมติเป็นเอกฉันท์ปฏิรูปเลือกตั้งโปร่งใส

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033> ภาพจากรัฐสภากัมพูชาเผยแพร่เมื่อวันที่ 1 ต.ค.  เผยให้เห็นบรรยากาศการประชุมรัฐสภาในกรุงพนมเปญ โดยสมาชิกรัฐสภาลงมติเป็นเอกฉันท์แก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับคณะกรรมการการเลือกตั้งแห่งชาติให้มีความเป็นอิสระ เพื่อแก้ไขข้อกังขาและรับประกันการเลือกตั้งในอนาคตว่าจะมีความบริสุทธิ์ยุติธรรม.-- Agence France-Presse/Cambodia National Assembly.</font></b>

เอเอฟพี - สมาชิกสภานิติบัญญัติกัมพูชา ทั้งหมด 120 คน รวมทั้งนายกรัฐมนตรีฮุนเซน และสม รังสี ได้ประชุมลงมติที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ความเป็นอิสระต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งวานนี้ (1) ในความเคลื่อนไหวที่จะแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่มักด่างพร้อยจากข้อกล่าวหาว่ามีการทุจริต

คณะกรรมการการเลือกตั้งแห่งชาติ (NEC) ได้รับรองผลการเลือกตั้งครั้งล่าสุดในเดือน ก.ค. 2556 ให้นายกรัฐมนตรีฮุนเซน กลับเข้าทำหน้าที่เป็นรัฐบาลต่อ ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะชะงักงันทางการเมืองนานหลายเดือน ท่ามกลางข้อกล่าวหาการโกงเลือกตั้งอย่างกว้างขวาง

ผลการเลือกตั้งครั้งนั้น ทำให้ฝ่ายค้านคว่ำบาตรรัฐสภานานเกือบปี โดยกล่าวหาคณะกรรมการการเลือกตั้งแห่งชาติว่ามีความลำเอียงทางการเมือง และปล่อยให้ฮุนเซนขโมยชัยชนะการเลือกตั้ง

วิกฤตทางตันทางการเมืองถูกปลดล็อกหลังพรรคกู้ชาติกัมพูชา (CNRP) ที่เป็นฝ่ายค้านได้รับการรับรองว่าจะมีการปฏิรูปการเลือกตั้ง รวมทั้งความเป็นอิสระของคณะกรรมการการเลือกตั้งแห่งชาติ

คะแนนเสียงที่เป็นเอกฉันท์ในวันพุธ (1) ทำให้คณะกรรมการการเลือกตั้งแห่งชาติถูกบรรจุเข้าในรัฐธรรมนูญ โดยสมาชิก 9 คน ของคณะกรรมการการเลือกตั้งแห่งชาติในรูปโฉมใหม่ จะมาจากสมาชิกของพรรครัฐบาล และฝ่ายค้านข้างละ 4 คน และสมาชิกอิสระที่มาจากความเห็นชอบของทั้ง 2 ฝ่ายอีก 1 คน โดยคณะกรรมการการเลือกตั้งแห่งชาติจะทำงานอย่างเป็นกลาง และเป็นอิสระ

“คณะกรรมการการเลือกตั้งแห่งชาติโฉมใหม่จะรับประกันความเป็นประชาธิปไตย และการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรมในครั้งหน้า เวลานี้คณะกรรมการการเลือกตั้งอยู่ในรัฐธรรมนูญ เราทุกคนต้องให้ความเคารพ” สม รังสี หัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน กล่าวต่อผู้สื่อข่าว

พรรคกู้ชาติกัมพูชากลับเข้าทำหน้าที่ในรัฐสภาเมื่อเดือนก.ค. ที่ผ่านมา ตามสัญญาที่ระบุว่าจะมีการปฏิรูปการเลือกตั้ง

เอ็ง ชาย เอียง สมาชิกรัฐสภาฝ่ายค้าน กล่าวต่อรัฐสภาว่า การนำคณะกรรมการการเลือกตั้งแห่งชาติบรรจุลงในรัฐธรรมนูญของประเทศจะช่วยป้องกันวิกฤตทางการเมืองหลังการเลือกตั้งในแต่ละครั้ง.
กำลังโหลดความคิดเห็น