xs
xsm
sm
md
lg

เวียดนามผวาอีโบล่าแอบเข้าประเทศพร้อมงาช้าง-นอแรดลอบขนจากแอฟริกา

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>ภาพแฟ้มวันที่ 10 พ.ค.2549 เจ้าหน้าที่ศุลกากรฮ่องกง กำลังตรวจงาช้างรวมน้ำหนัก 4 ตัน มูลค่าราว 1 ล้านดอลลาร์ที่จับยึดได้ในตู้คอนเทนเนอร์สินค้าบรรจุไม้ท่อนจากประเทศคาเมรูน ปัจจุบันทางผ่านใหญ่ที่สุดของขบวนลักลอบค้าสัตว์ป่าจากแอฟริกา กลับเป็นประเทสไทย จีนและเวียดนาม ซึ่งล่าสุดวันพุธ 20 ส.ค.ที่ผ่านมาจับยึดงาช้างได้อีกราว 1 ตันที่เมืองท่าหายฝ่อง โดยมีต้นทางจากไนจีเรียที่เป็นแหล่งแพร่ระบาดของไวรัสอีโบลา. --  AFP Photo/FILES.  </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- ทางการเวียดนาม ได้สั่งกำชับให้ด่านศุลกากรแห่งต่างๆ เพิ่มความเข้มงวดกวดขันในการตรวจสินค้าลักลอบนำเข้าจากแอฟริกาอยู่บ่อยๆ คือ ชิ้นส่วนสัตว์ป่าที่มีการจับยึดได้เป็นระยะๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ นอแรด กับงาช้าง ทั้งนี้ ด้วยวิตกเชื้อไวรัสอีโบล่าอาจจะติดมาพร้อมกับสินค้าผิดกฎหมายเหล่านั้น ในขณะที่ประเทศต้นทางเป็นแหล่งที่มีการระบาดของเชื้อโรคร้าย

เสียงเรียกร้องนี้ไปจากหน่วยงานของเวียดนามประจำองค์การไซเตส (CITES) หรือภาคีการประชุมเกี่ยวกับการค้าพืชและสัตว์ป่าที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ในนครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ ในขณะที่ไวรัสอีโบล่า คร่าชีวิตคนไปแล้ว 1,229 คน อีกเกือบ 2,000 คนติดเชื้อ ใน 4 ประเทศแอฟริกันตะวันตก ซึ่งได้แก่ ไนจีเรีย ไลบีเรีย เซียร์รา ลีโอน และประเทศกินี

หลายปีมานี้ เวียดนามได้เป็นทางผ่านสำคัญของขบวนการลักลอบขนสินค้าต้องห้ามเหล่านี้ เช่นเดียวกันกับประเทศไทย และลาว เพื่อนำไปป้อนตลาดเอเชียตะวันออกที่เชื่อว่า ชิ้นส่วนของสัตว์ป่าเป็นยาอายุวัฒนะ ใช้รักษาโรคได้สารพัด ถึงแม้ว่าในประเทศเหล่านี้ล้วนมีกฎหมายห้ามก็ตาม

ตามรายงานของสื่อทางการ เจ้าหน้าที่ศุลกากรที่นครหายฝ่อง ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศได้ตรวจพบงาช้างแอฟริกาอีก 1 ตัน ในวันอังคาร 20 ส.ค.ที่ผ่านมา โดยซุกซ่อนปะปนไว้กับกระสอบถั่วลิสง ในตู้คอนเทนเนอร์ที่มีต้นทางจากประเทศไนจีเรีย ซึ่งทำให้เกิดความวิกตกันไปทั่วอาจจะมีไวรัสอีโบล่าปนเปื้อนไปด้วยก็ได้

ไซเตส เวียดนาม ได้เรียกร้องให้ทางการท้องถิ่นร่วมมือกับสัตวแพทย์ หรือหน่วยงานทางด้านนี้ ให้เฝ้าจับตาการแพร่ระบาดของโรคตามฟาร์มเลี้ยงสัตว์ต่างๆ ในช่วงนี้ รวมทั้งบรรดาสัตว์ป่า หลังจากได้พบว่า ไวรัสอีโบล่าแพร่เชื้อผ่านสัตว์ต่างๆ ได้ หนังสือพิมพ์เตื่อยแจ๋รายงานในเว็บไซต์ข่าวภาษาเวียดนาม

สัตว์ป่าชนิดต่างๆ ที่ล้มตายลงด้วยสาเหตุที่ไม่ทราบแน่ชัด จะต้องถูกทำลายทิ้งในทันที ส่วนสัตว์เลี้ยงทั่วไปจะต้องแยกออกควบคุม และให้อยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชดของเจ้าหน้าที่อนามัยหรือสัตวแพทย์ และรายงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบในทันที เตื่อยแจ๋กล่าว.
กำลังโหลดความคิดเห็น