xs
xsm
sm
md
lg

พม่ารวยอู้ฟู่ขายก๊าซ 12 เดือนรายได้ทะลุ $3,200 ล้าน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

 <bR><FONT color=#000033>คนงานเร่งมือสร้างท่อก๊าซช่วงที่อยู่ในดินแดนจีนเมื่อปีที่แล้ว ท่อก๊าซยาว 2,520 กิโลเมตรซึ่งรวมกับส่วนที่อยู่ในดินแดนพม่า 793 กม.ด้วยมีมูลค่าก่อสร้างกว่า 2,500 ล้านดอลลาร์ ส่งก๊าซได้ 12,000 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปีจะทำให้พม่ามีรายได้ปีละ 1,500 ล้านดอลลาร์ นับแต่เริ่มส่งขายในปลายเดือน ต.ค.2556 เพียงไม่กี่เดือนจนถึงสิ้น มี.ค.ที่ผ่านมา รายได้จากการขายก๊าซให้ไทยและจีนพุ่งขึ้นกว่า 50% เป็นกว่า 3,200 ล้านดอลลาร์ทั้งนี้เป็นตัวเลขของกระทรวงพาณิชย์. -- ภาพ: Global Times.</b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - รายได้จากการส่งออกก๊าซธรรมชาติของพม่าเพิ่มขึ้นกว่า 50% ในปีงบประมาณ 2556-2557 ที่ผ่านมา รวมเป็นมูลค่ากว่า 3,200 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นตัวเลขล่าสุดเกี่ยวกับรายได้จากอุตสาหกรรมพลังงานที่เผยแพร่โดยกระทรวงพาณิชย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากได้เริ่มขายก๊าซให้แก่จีนโดยส่งผ่านระบบท่อในปลายเดือน ต.ค.2556 เป็นต้นมา

รายได้จากก๊าซนำหน้าสินค้าส่งออกอีก 5 ประเภท ซึ่งได้แก่ ผลผลิตการเกษตร ผลผลิตอาหารทะเล สินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป ผลผลิตจากสัตว์ ผลผลิตจากป่าไม้และสินค้ากลุ่มแร่ธาตุต่างๆ โดยหมวดสินค้าการเกษตรซึ่งได้แก่ ข้าว ข้าวผสมเมล็ดหัก ถั่วและงา ข้าวโพด ยางพารา น้ำมันละหุ่ง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ฯลฯ มาเป็นอันดับ 2 รวมมูลค่ากว่า 2,000 ล้านดอลลาร์ กระทรวงเดียวกันระบุในรายงานที่เผยแพร่สัปดาห์นี้

ยังไม่มีการแจกแจงในรายละเอียดขณะนี้ว่าระหว่างเดือน เม.ย.2556 จนถึงสิ้นปีงบประมาณวันที่ 31 มี.ค.2557 พม่าจำหน่ายก๊าซให้แก่ประเทศไทย และจีนเป็นจำนวนเงินเท่าไหร แต่ตามรายงานของสื่อทางการทุกปีที่ผ่านมา มูลค่าส่งออกก๊าซผ่านระบบท่อจากอ่าวเมาะตะมะไปยัง จ.ราชบุรีของไทย มีมูลค่าระหว่าง 2,000-2,200 ล้านบาท

พม่าเริ่มส่งก๊าซจากแหล่งชายฝั่งทะเลเบงกอล รัฐยะไข่ จำหน่ายก๊าซให้แก่จีนผ่านระบบท่อตั้งแต่วันที่ 20 ต.ค.2556 โดยไม่ทราบราคาซื้อขายอย่างเป็นทางการ แต่หนังสือพิมพ์โกบอลไทมส์ของทางการจีนกล่าวว่า ระบบท่อที่ออกมาเพื่อขนถ่ายก๊าซในปริมาณ 12,000 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปีนั้น จะทำให้พม่ามีรายได้ปีละ 1,500 ล้านดอลลาร์

ระบบท่อก๊าซและน้ำมันดิบพม่า-จีน ช่วงเมืองจ๊อกพยู (Kyaukpyu) ฝั่งอ่าวเบงกอล ถึงชายแดนมณฑลหยุนหนัน มีความยาวประมาณ 793 กิโลเมตร เป็นส่วนหนึ่งของระบบท่อส่งก๊าซและน้ำมันดิบยาว 2,520 กม.มูลค่าก่อสร้างกว่า 2,500 ล้านดอลลาร์ที่ต่อเข้าไปจนถึงมณฑลกุ้ยโจว ในภาคกลางของจีน เพื่อนำพลังงานเข้าสู่ดินแดนซึ่งก่อนหน้านั้นขาดแคลนอย่างหนัก และมีราคาแพงมาก สื่อของทางการจีนกล่าว

การสำรวจและผลิตพลังงานยังเป็นแขนงการลงทุนนำหน้าของนักลงทุนต่างชาติในพม่า จนถึงสิ้นเดือน มี.ค.ปีนี้รวมเป็นมูลค่ากว่า 14,000 ล้านดอลลาร์ คิดเป็น 31.09% ของมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด ทั้งนี้ เป็นตัวเลขของสำนักงานบริหารการลงทุนและบริษัทซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งในสังกัดกระทรวงพาณิชย์

เมื่อเดือนที่แล้ว รัฐบาลพม่าได้อนุมัติให้บริษัทต่างชาติอีกหลายแห่งเข้าสำรวจก๊าซและน้ำมันแหล่งนอกชายฝั่งเพิ่มอีกจำนวน 20 แปลง ผู้ชนะการประกวดราคา ได้แก่ บริษัทเชลล์ เชฟรอน โคโนโคฟิลิปินส์ โตตาลสำรวจและผลิต บีจี วู้ดไซด์เอ็นเนอร์ยี และบริษัทชั้นนำอื่นๆ จากสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย และอินเดีย รายงานของกระทรวงพาณิชย์ระบุ.
.
 <bR><FONT color=#000033>ภาพแฟ้มโดย Shwe.Org เอ็นจีนโอที่ตั้งขึ้นมาเพื่อต่อต้าน โครงการฉ่วย ซึ่งหมายถึงโครงการผลิตก๊าซในทะเลเบงกอล แสดงให้เห็นการก่อสร้างระบบท่อส่งก๊าซและน้ำมันดิบช่วงที่อยู่ในดินแดนพม่า การก่อสร้างแล้วเสร็จเดือน ก.ค.2556 และเริ่มส่งก๊าซขายให้จีนวันที่ 20 ต.ค. กล่าวได้ว่าก๊าซที่ส่งออกผ่านท่อนี้ทำให้มูลค่าส่งออกพลังงานของพม่าทั้งหมดเพิ่มขึ้นกว่า 50% ในปีงบประมาณที่ผ่านมา.</b>
2
<bR><FONT color=#000033>แผนภูมิแสดงแนวท่อส่งก๊าซความยาว 2,520 กิโลเมตรจากนิตยสาร โกบอลไทมส์ ของจีน.</b>
3
<bR><FONT color=#000033>องค์การ Shwe.Org พยายามอย่างยิ่งในการต่อต้านการก่อสร้างท่อส่งก๊าซและน้ำมันดิบของจีนในดินแดนพม่า รวมทั้งการลงทุนของต่างชาติในการสำรวจและผลิตก๊าซในทะเลเบงกอล โดยระบุว่าเป็นแหล่งรายได้อุ้มชูระบอบปกครองทหารในยุคโน้น วันนี้ก๊าซกลายเป็นแหล่งรายได้มหาศาลของประเทศซึ่งฝ่ายจีนกล่าวว่าก๊าซที่ขายผ่านระบบท่อนี้จะทำให้พม่ารวยอีก 1,500 ดอลลาร์ต่อปี.  </b>
4
<bR><FONT color=#000033>แผนภูมิโดยองค์การ Shwe.Org แสดงแนวก่อสร้างท่อส่งก๊าซและน้ำมันดิบจากเมืองจ๊อกพยู (Kyaukpyu) ริมฝั่งทะเลเบงกอลในรัฐระไคไปจนถึงนครหนานหนิง (Nanning) ของจีนและแสดงให้เห็นการระดมทหารกองทัพพม่าคุ้มกันให้พ้นการโจมตีของกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ การก่อสร้างใช้เวลา 3 ปี พม่าเริ่มขายก๊าซผ่านระบบท่อนี้ในเดือน ต.ค.2556 เพียง 5 เดือนเท่านั้นทำให้ยอดส่งออกก๊าซเพิ่มขึ้นกว่า 50%. </b>
5
กำลังโหลดความคิดเห็น