xs
xsm
sm
md
lg

กรมพระรณฤทธิ์ประกาศลุยการเมืองเขมรอีกรอบ ตั้งพรรคหนุนสถาบันกษัตริย์

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ภาพแฟ้มเอเอฟพี วันที่ 3 มิ.ย. 2555 สมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ ทรงหย่อนบัตรเลือกตั้งลงในหีบที่คูหาเลือกตั้งแห่งหนึ่งในกรุงพนมเปญ หลังจากพระองค์ทรงตัดสินพระทัยลาออกจากการเมืองรอบสองไปเมื่อเดือนส.ค. 2555 เนื่องจากปัญหาความแตกแยกภายในพรรค พระองค์ทรงตัดสินพระทัยกลับเข้าการเมืองอีกครั้ง พร้อมตั้งพรรคการเมืองใหม่ที่สนับสนุนกษัตริย์ ด้วยเห็นว่าสองพรรคการเมืองใหญ่ของประเทศคือพรรค CPP และพรรค CNRP ไม่สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้.-- Agence France-Presse/Tang Chhin Sothy.</font></b>

ซินหวา - สมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ พระราชโอรสพระองค์ที่สอง ในพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ อดีตกษัตริย์แห่งกัมพูชา ตัดสินพระทัยกลับเข้าสู่การเมืองของประเทศอีกครั้ง และจะตั้งพรรคสนับสนุนกษัตริย์พรรคใหม่ เพื่อร่วมลงสู้ศึกเลือกตั้งในปี 2561

“พระองค์ทรงมีแผนที่จะตั้งพรรคการเมืองใหม่ในปีนี้ ในชื่อพรรคชุมชนประชาชนนิยมกษัตริย์” หัวหน้าคณะทำงานของสมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ กล่าว

สื่อของกัมพูชารายงานวานนี้ (25) ว่า สมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ ที่มีพระชันษา 70 ปี ระบุว่า พระองค์ตัดสินพระทัยด้วยเหตุว่า ประเทศต้องการพรรคการเมืองใหม่ เพราะ 2 พรรคหลัก คือ พรรคประชาชนกัมพูชา (CPP) และพรรคกู้ชาติกัมพูชา (CNRP) ไม่สามารถแก้ไขความแตกต่างทางการเมืองได้ และพระองค์ต้องการที่จะตามรอยพระบิดา และให้ชีวิตใหม่แก่บรรดาผู้สนับสนุนกษัตริย์

“เราต้องการที่จะรวบรวมผู้รักชาติ และรักพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ตั้งพรรคการเมืองของเรา และฟื้นฟูราชวงศ์” สมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ ระบุ

ปัจจุบัน สมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ ทรงดำรงตำแหน่งเป็นประธานองคมนตรีของพระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี โดยก่อนหน้านี้ พระองค์เคยทรงเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีร่วมของประเทศ และอดีตประธานรัฐสภา และทรงประกาศลาออกจากการเมืองครั้งแรกในเดือน ต.ค. 2551 หลังจากได้รับพระราชทานอภัยโทษจากข้อหายักยอกเงิน และตัดสินพระทัยกลับเข้าสู่การเมืองอีกครั้ง เมื่อเดือน ธ.ค.2553 หลังจากนั้น ทรงลาออกจากการเมืองอีกครั้งในเดือน ส.ค. 2555 เนื่องจากปัญหาความแตกแยกภายในพรรคของพระองค์

โสก ตุช รองผู้อำนวยการสถาบันความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ของราชบัณฑิตยสถานกัมพูชา แสดงความคิดเห็นว่า ชื่อเสียงทางการเมืองในทางลบของพระองค์ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ดูเหมือนเป็นความยากลำบากสำหรับพระองค์ที่จะฟื้นฟูความนิยมผ่านการตั้งพรรคการเมืองใหม่

กัมพูชา ยังคงติดอยู่ในข้อขัดแย้งทางการเมือง หลังผลการเลือกตั้งเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา ระบุว่า พรรค CPP ของนายกรัฐมนตรีฮุนเซน ชนะการเลือกตั้งได้ที่นั่งสภา 68 ที่นั่ง ขณะที่พรรค CNRP ของนายสม รังสี ได้ 55 ที่นั่ง

พรรค CNRP ปฏิเสธที่จะยอมรับผลการเลือกตั้งดังกล่าว โดยอ้างว่ามีการโกงเลือกตั้งร้ายแรง และได้คว่ำบาตรรัฐสภา พร้อมทั้งจัดการชุมนุมเรียกร้องให้ฮุนเซนลาออกจากตำแหน่ง และจัดการเลือกตั้งใหม่ แต่ฮุนเซน ระบุย้ำว่าจะไม่ลาออก หรือจัดการเลือกตั้งใหม่.
กำลังโหลดความคิดเห็น