xs
xsm
sm
md
lg

หม่องเสริมเขี้ยวซื้อจรวดยิงเครื่องบินรุ่นใหม่ “หงฉี-12” เมดอินไชน่า

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>เป็นจรวดยิงระยะปานกลางคือหวังผลไม่เกิน 50 กิโลเมตรถึงแม้จะติดระบบเรดาร์ที่ส่องไกลกว่า 100 กม.ก็ตาม จีนพัฒนาเพื่อจะใช้แทน หงฉี-2 ที่ล้าสมัย แต่ยังไม่เคยได้เข้าประจำการ ขายก็ขายไม่ออก จนกระทั่งปี 2550 จึงพัฒนาอีกขั้นจนกระทั่งเป็น KS-1A หรือ หงฉี-12 แต่ละชุดประกอบด้วยจรวด 8 ลูก ระบบเรดาร์แบบเฟสอาเรย์ (Phased Array) สำหรับตรวจจับเป้าหมายและนำวิถีกับระบบควบคุมการยิง ยังไม่ทราบจะออกหมู่หรือจ่าแต่พม่ากลายเป็นลูกค้ารายแรก สื่อของอินเดียรายงานอ้างการเปิดเผยของแหล่งขาวในกองทัพ. -- ภาพ: ChineseMilitaryReview. </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - เป็นประเทศกึ่งประชาธิปไตยแล้ว แต่ฝ่ายทหารของพม่าก็ยังคงทำอะไรลับๆ ล่อๆ ชวนให้สาธารณชนสงสัยไม่ต่างจากเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องอาวุธยุทโธปกรณ์ในการป้องกันประเทศ ความลี้ลับได้ทำให้หน่วยสืบราชการลับของบรรดาประเทศเพื่อนบ้านต้องทำงานหนัก เรื่องจรวดต่อสู้อากาศยานของพม่าเป็นข่าวเล่าลือกันมาข้ามปีแล้ว จนกระทั่งในที่สุดแหล่งข่าวในอินเดียได้ให้ความกระจ่างสัปดาห์นี้

กองทัพพม่า ได้กลายเป็นลูกค้ารายแรกของระบบจรวดต่อสู้อากาศยาน “หงฉี-12” (HQ-12) ของจีนซึ่งพยายามส่งออกมาตั้งแต่ล่วงเข้าสู่ศตวรรษใหม่ นี่คือระบบจรวดที่ใกล้เคียงกับ S-75 “Dvina” ของสหภาพโซเวียตเมื่อก่อนนี้ ซึ่งพม่าเองก็มีประจำการพร้อมอยู่แล้วจำนวนหนึ่ง

จรวดหงฉี-12 ถูกนำออกอวดโฉมครั้งแรกในงานจูไห่แอร์โชว์ เมื่อปี 2541 ซึ่งรายงานในเว็บบล็อกไชนีสมิลิตารีรีวิว (ChineseMilitaryReview) กล่าวว่า กองทัพประชาชนไม่มีโอกาสได้ใช้และไม่เคยมีการนำเข้าประจำการในหน่วยใด เนื่องจากเวลาไล่เลี่ยกันนั้นมีการผลิตจรวดหงฉีรุ่นใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพเหนือกว่าออกมาอีกหลายรุ่น จีนก็จึงเปลี่ยนชื่อ Hong Qi-12 เป็น KS-1 เพื่อส่งออกโดยเฉพาะ ซึ่งปรากฏว่า ยังไม่เคยประสบความสำเร็จทางการตลาดอย่างน้อยที่สุดก็ตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา

ในพิธีสวนสนามเนื่องในงานวันก่อตั้งกองทัพเดือน มี.ค.ปีที่แล้ว พม่าได้นำจรวดต่อสู้อากาศยานหลายชนิดออกมวดโฉม ซึ่งรวมทั้ง “ดวินา” และ “เปชอรา” รุ่นเดียวกับที่เวียดนามเคยใช้ยิงบี-52 ของสหรัฐฯ ตกถึง 34 ลำ ด้วย

พม่าอาจจะยังแอบซ่อนอะไรต่อมิอะไรเอาไว้อีกจำนวนหนึ่งก็เป็นได้ คนวงในในอุตสาหกรรมนี้กล่าวว่า ในปัจจุบันพม่าเป็นประเทศที่เก็บอาวุธต่อสู้อากาศยานไว้มากมาย ในบรรดาประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน จะเป็นรองก็เพียงแค่เวียดนามเท่านั้น

ตามรายงานของแหล่งข่าวในกองทัพอินเดีย พม่าเซ็นสัญญาซื้อขายจรวด KS-1A ซึ่งเป็นรุ่นปรับปรุงจากจีนในเดือน ม.ค.2556 และฝ่ายจีนจะเริ่มส่งมอบให้ในเดือน ม.ย.ปีนี้ โดยยังไม่ทราบจำนวน และราคาซื้อขาย ซึ่งจะต้องจับตาดูกันต่อไป.
.
<bR><FONT color=#000033>แต่ละชุดต้องใช้รถบรรทุกถึง 4 คัน ยังไม่รวมรถติดตั้งระบบเรดาร์กับระบบควบคุมการยิงและยังไม่นับรวมยานยนต์สนับสนุนกับยานยนต์หน่วยซ่อมบำรุง. -- ภาพ: ChineseMilitaryReview. </b>
2
<bR><FONT color=#000033>ระบบประกอบด้วยจรวดยาว 5.6 เมตร เส้นรอบวงกว้างสุด 40 ซม. ปีกกว้าง รวมน้ำหนัก 886 กก. บรรจุหัวรบหนัก 100 กก. ใช้เชื้อเพลิงแข็งในการขับดัน. -- ภาพ: ChineseMilitaryReview. </b>
3
<bR><FONT color=#000033>เรื่องหนึ่งที่วิจารณ์กันมากแม้ในบรรดาสื่อของจีนเองก็คือ จรวดวางแนวเอียงบนรางยิงแบบเดิม แทนที่จะตั้งตรงซึ่งทำให้ยุ่งยากในการยิง. -- ภาพ: ChineseMilitaryReview. </b>
4
<bR><FONT color=#000033>อีกข้อหนึ่งที่วิจารณ์กันมากและกลายเป็นจุดอ่อนก็คือ หลังจากยิงจรวดออกไปแล้ว การ โหลดใหม่ นั้นยุ่งยากทีเดียว ไม่ทราบด้วยเหตุใดสถาบันวิจัยอาวุธของกระทรวงกลาโหมจีนจึงออกแบบมาเช่นนี้. -- ภาพ: ChineseMilitaryReview. </b>
5
กำลังโหลดความคิดเห็น