ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ดินแดนแห่งนี้ช่างรุ่มรวยด้วยทรัพยากรล้ำค่าราวบกกับว่าขุดขึ้นมาเท่าไรๆ ก็ไม่มีวันหมดลงง่ายๆ ถึงแม้ว่าทองในเหมืองใหญ่ในภาคกลางของประเทศจะร่อยหรอลงแล้วก็ตาม แต่เหมืองที่ใหญ่กว่าทางตอนเหนือของประเทศก็กำลังเร่งลิตทางอออกมาใช้ในเชิงพาณิชย์อีกปีละนับสิบตัน ในขณะที่บริษัทต่างชาติอีกหลายบริษัทกำลังสำรวจค้นหาอย่างรีบเร่ง
ใกล้เข้ามา เหมืองทองที่เล็กกว่าอีกแห่งหนึ่งในแถบชานเมืองหลวงก็กำลังขุดอย่างเงียบๆ เช่นกัน
เหมืองทองของบริษัทสะไกมายนิ่ง (Sakai Mining) จากเวียดนามโผล่ออกมาเป็นข่าวอีกครั้งหนึ่งในสัปดาห์นี้ เมื่อกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่กับทางการเมืองหลวง ได้ประชุมแบ่งงานกันกำกับดูแลการดำเนินงานของเหมืองทองในเขตเมือง (อำเภอ) สังทอง ซึ่งเป็นเขตรอบนอกสุดของนครเวียงจันทน์
ความเคลื่อนไหวนี้แสดงให้เห็นว่าเมืองทองแห่งนี้ได้เริ่มผลิตสินแร่ล้ำค่าออย่างจริงจังแล้ว ซึ่งในขณะเดียวกันได้ช่วยจุดประกายความหวังให้แก่ชุมชนในท้องถิ่น ในเขตเมืองที่ได้ชื่อว่าประชาชนยากจนมากที่สุดของเมืองหลวง
ตามรายงานในเว็บไซต์ของบริษัทเหมืองจากเวียดนามเป็นผู้ได้รับสัมปทานการสำรวจขุดค้นและผลิตโลหะล้ำตาในย่านนี้ ครอบคลุมพื้นที่ 385 เฮกตาร์ (ราว 2,400 ไร่) ซึ่งการ สำรวจโดยบริษัทนิวมอนต์มายนิ่งคอร์ป (Newmont Mining Corporation) จากสหรัฐก่อนหน้านี้พบว่ามีสายแร่ในปริมาณที่อาจจะสามารถผลิตทองได้ถึง 6 ตัน เงินอีก 30 ตัน และยังมีแร่สังกะสีกับทองแดงปะปนอยู่อีกจำนวนหนึ่งด้วย
อย่างไรก็ตามโรงงานมูลค่า 30.9 ล้านดอลลาร์ที่เปิดเมื่อปีที่แล้วมีกำลังจากสินแร่เพียง 500 ตันต่อวันเท่านั้น ซึ่งสามารถสกัดทองได้ราว 1.6 กิโลกรัมต่อวันและเงินอีก 8.4 กก.ต่อวัน
ทองที่ผลิตได้ระยะที่ผ่านมาส่งจำหน่ายตลาดในประเทศซึ่งช่วยลดการนำเข้าทองคำจากต่างประทศลงได้มหาศาล และการผลิตจะดำเนินต่อไปตลอดอายุสัมปทานที่เหลืออยู่อีก 9 ปีข้างหน้า โดยสามารถต่ออายุได้ตามความเห็นร่วมกันของสองฝ่าย
การประชุมร่วมระหว่างกระทรวงพลังงานฯ กับทางการนครเวียงจันทน์ในวันที่ 21 ม.ค.นับเป็นความคืบหน้าล่าสุดเกี่ยวกับการดำเนินงานของเมืองสะกายและเป็นครั้งแรกที่มีการกล่าวถึงความเคลื่อนไหวผ่านสื่อของทางการนับตั้งแต่พิธีเปิดโรงงานผลิตในเดือน ก.ค.2555
.
.
ความเคลื่อนไหวนี้ยังมีขึ้นในระยะเวลาไล่เลี่ยกันกับที่บริษัท MMG Lane Xang Mining Ltd เจ้าของสัมปทานเมืองเซโปนในแขวงสะหวันนะเขตประกาศว่า ได้หยุดการผลิตทองคำแล้วในเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมาเนื่องจากสายแร่ได้ร่อยหรอลง
ในช่วงเดียวกันนี้กลุ่มแพนออสต์ (PanAust) แห่งออสเตรเลียได้ประกาศผลประกอบการที่เมืองภูคำกับเหมืองบ้านห้วยทราย ในแขวง (จังหวัด) ไซสมบูนในภาคเหนือของประเทศ โดยปีนี้จะผลิตทองคำจากเหมืองทั้ง 2 แห่งราว 160,000 ออนซ์ หรือประมาณ 4.976.55 กิโลกรัม (1 ทรอยเอาซ์ = 31.1034768 กรัม) ซึ่งเป็นความคืบหน้าแบบก้าวกระโดด ในแผนการจะผลิตทองปีละ 200,000 ออนซ์ตลอดอายุสัมปทาน 10 ปีข้างหน้า
การเริ่มผลิตที่เหมืองบ้านห้วยทายเมื่อปีที่แล้วทำให้บริษัทเหมืองภูเบี้ยสามารถตั้งเป้าหมายที่ใหญ่โตเช่นนี้ได้
.
บ่อทองเวียงจันทน์ SakaiMining
2
3
2
4
กลุ่มแพนออสต์ซึ่งถือหุ้นใหญ่ 90% ในบริษัทเหมืองภูเบี้ย (Phu Bia Mining Co Ltd) เจ้าของสัมปทานเนื้อที่กว่า 2,600 ตารางกิโลเมตรในภาคเหนือลาวกำลังสำรวจและผลิตในเหมืองทอง-ทองแดง จำนวน 4 แห่งคือ เหมืองภูเบี้ย ภูคำกับบ้านห้วยทราบในแขวงไซสมบูน และเหมืองโพนสะหวันในแขวงเชียงขวาง
บริษัทเหมืองภูเบี้ยประกาศยังเมื่อปีที่แล้วเกี่ยวกับการค้าพบสินแร่ล้ำค่าระหว่าง 5-6 ล้านตันในเขตสัมปทานโพนสะหวันซึ่งกำลังจะต้องสร้างเหมืองขึ้นที่นั่นอีก 1 แห่ง
อย่างไรก็ตามในภาคเหนือของลาวยังมีบริษัทต่างชาติอีกจำนวนหนึ่งกำลังสำรวจหาแร่ล้ำค่าอยู่เช่นกัน ซึ่งแสดงให้เห็นความอุดมสมบูรณ์ใต้ผืนดินของประเทศคอมมิวนิสต์แห่งนี้
ตามรายงานของเว็บไซต์ข่าวนิวส์ไวร์ (NewsWire) ในเดือน พ.ย.2552 บริษัทโซจิตซ์คอร์ป (Sojitz Corp) กับบริษัทเหมืองแร่นิตเต็ตสึ (Nittetsu) ได้ร่วมกันแถลงในกรุงกรุงโตเกียวประเทศญี่ปุ่นเกี่ยวกับการได้รับอนุญาตเข้าสำรวจและผลิตแร่ทองคำ-ทองแดงในแขวงเวียงจันทน์ โดยทางการลาวให้ใบอนุญาตตั้งแต่เดือน ก.ย.ปีเดียวกัน
ในเดือน ก.พ.2551 ลาวยังอนุญาตให้อมันตารีซอร์สเซสจำกัด (Amanta Resources Ltd) ซึ่งเป็นบริษัทเหมืองสัญชาติแคนาดาเข้าสำรวจแหล่งแร่ทองแดง-ทองคำแห่งใหม่ครอบคลุมพื้นที่กว่า 200 ตารางกิโลเมตรในแขวงอุดมไซกับหลวงน้ำทา ที่อยู่ตอนบนสุดของประเทศ หลังจากการสำรวจพบสินแร่ที่มีประมาณความคุ้มค่าในการผลิตเชิงพาณิชย์
ตามรายงานของสื่อทางการก่อนห้านี้ ยังมีบริษัทเหมืองจากรัสเซีย จีนและอินเดียอีกจำหนึ่งกำลังสำรวจหาแหล่งทองคำในภาคเหนือของลาวเช่นกัน.
.