xs
xsm
sm
md
lg

พม่าลั่นไม่หวั่นจีนกดดัน ประธานอาเซียนเดินหน้าแก้ปัญหาทะเลจีนใต้

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033> ภาพถ่ายวันที่ 25 เม.ย. 2556 (จากซ้ายไปขวา) นายกรัฐมนตรีเหวียน เติ๋น ยวุ๋ง ของเวียดนาม สุลต่านฮัสซานัล โบลเกียห์ แห่งบรูไน และประธานาธิบดีเต็งเส่ง ของพม่า ประสานมือกันเพื่อร่วมถ่ายภาพในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ที่กรุงบันดาร์ เสรี เบกาวัน พม่ารับไม้ต่อจากบรูไนในการนั่งทำหน้าที่เป็นประธานอาเซียนในปี 2557 โดยพม่าระบุว่าจะพยายามพัฒนาปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอ้างสิทธิเหนือน่านน้ำพิพาทในทะเลจีนใต้ แม้จะมีความวิตกกันว่าจีนอาจใช้อิทธิพลกดดันเช่นครั้งเมื่อกัมพูชาเป็นประธานอาเซียน.--Agence France-Presse/ Brunei Information Department .</font></b>

ASTVผู้จัดการ - พม่าจะใช้ตำแหน่งประธานของกลุ่มชาติสมาชิกอาเซียน พยายามพัฒนาปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างจีน ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ ในประเด็นเกี่ยวกับการอ้างสิทธิอธิปไตยในทะเลจีนใต้

อ่อง ตู๋ (Aung Htoo) รองผู้อำนวยการกรมกิจการอาเซียนของพม่า ได้แสดงความคิดเห็นในระหว่างการหารืออาเซียนครั้งที่ 2 ที่เป็นงานที่จัดขึ้นร่วมกันระหว่างกระทรวงการต่างประเทศพม่าและมูลนิธิฮานส์ซีเดล ของเยอรมนี ในนครย่างกุ้ง วันที่ 22-23 พ.ย. ระบุว่า หากจีนกดดันพม่า พม่าจะทำตามอย่างบรูไน โดยพม่าจะหารือกับ 4 ประเทศที่มีปัญหาพิพาทน่านน้ำ และจะพยายามปรับปรุงความสัมพันธ์กับจีน และทุกประเทศที่เกี่ยวข้องรวมทั้งสหรัฐฯ ซึ่งพม่าจะปฏิบัติตามนโยบายนี้เพื่อจัดการปัญหาอย่างเหมาะสม

อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความวิตกกังวลว่าจีนจะใช้อิทธิพลกดดันพันธมิตรยาวนานอย่างพม่า เพื่อพยายามระดมการสนับสนุนจากภูมิภาคต่อการอ้างสิทธิ

“เพราะการกดดันของจีน ทำให้รัฐมนตรีอาเซียนไม่สามารถออกคำแถลงเกี่ยวกับทะเลจีนใต้ได้ในขณะที่กัมพูชาทำหน้าที่เป็นประธานอาเซียน จากเหตุนั้นจึงมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการกดดันจากจีนว่ามีแนวโน้มจะปรากฏขึ้นอีกครั้ง” ยี มี้นต์ สมาชิกจากสถาบันยุทธศาสตร์และต่างประเทศศึกษาของพม่า กล่าว

เมื่อสหรัฐฯ เริ่มเข้าลงทุนในพม่าหลังยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ไปเมื่อปีก่อน หลายคนมองว่า เป็นความพยายามของสหรัฐฯ ที่จะแข่งขันการครอบงำทางการเมืองและเศรษฐกิจของจีนในภูมิภาคนี้

“มาตรการคว่ำบาตรบางอย่างของสหรัฐฯ ที่มีต่อพม่า และจีน ยังคงมีอยู่ แต่สหรัฐฯ ได้เริ่มเข้าลงทุนในพม่า ทำให้มีแนวโน้มว่าจะเกิดการแข่งขัน 3 ฝ่าย และจากนโยบายไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด พม่ามีแนวโน้มที่จะเอาชนะอุปสรรคเหล่านี้” วิน อ่อง จากสหภาพสมาพันธ์หอการค้าและอุตสาหกรรมพม่า กล่าว

ยี มี้นต์ กล่าวว่า ยังมีความวิตกอย่างกว้างขวางว่าอาเซียนจะตกอยู่ท่ามกลางการแข่งขันของจีนและสหรัฐฯ ถ้าหากก้าวผิดพลาด ความเป็นหนึ่งเดียวของอาเซียนอาจจะถูกทำลาย

พม่าจะทำหน้าที่ประธานอาเซียนในช่วงเวลาที่ความตึงเครียดทางเศรษฐกิจ และการเมืองของภูมิภาคอยู่ในระดับสูง โดยประเด็นการสร้างประชาคมอาเซียน ประชาคมการเมือง และความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ความร่วมมือในการวางหลักการสำหรับภาคเอกชน ติมอร์ตะวันออก ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และจีน ทะเลจีนใต้ ข้อพิพาทคาบสมุทรเกาหลี และปัญหารัฐยะไข่ สิ่งเหล่านี้จะรวมอยู่ในวาระการประชุม.
กำลังโหลดความคิดเห็น