xs
xsm
sm
md
lg

ชาวลาวแห่ขอบคุณ “ไทยมิตรแท้” ความรู้สึกดีๆ จากฝั่งซ้ายในโศกนาฏกรรมเมืองปากเซ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

 <bR><FONT color=#000033>ชิ้นงานที่นำขึ้นเผยแพร่ในประชาคมออนไลน์ของชาวลาซึ่งสะท้อนความคิดความรู้สึกจากน้ำใสใจจริงของผู้จัดทำ มีชาวลาวเข้าไปอ่านและร่วมแชร์ความรู้สึกดีๆ แบบนี้กว่า 1,200 ครั้งในช่วงข้ามวันที่ผ่านมาซึ่งถือเป็นกระทู้ยอดนิยมสำหรับประชาคมออนไลน์เล็กๆ ในนครเวียงจันทน์และส่วนใหญ่ลงความเห็นว่าในยามตกทุกข์ได้ยากจึงทำให้ลาวได้รู้ใครคือ เพื่อนแท้ ความช่วยเหลือจากไทยยังสะท้อนให้เห็นความเป็น พี่น้องกัน อันตัดไม่ขาด ซึ่งคำหลังนี้ในภาษาลาวหมายถึงการเป็นเครือญาติ. </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - บรรยากาศอันเศร้าสลดยังคงปกคลุมทั่วเมืองปากเซ แต่เหตุการณ์อันเป็นโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การบินของประเทศก็ได้ช่วยปลุกสำนึกใหม่ๆ ในหมู่ชาวลาวจำนวนหนึ่ง ซึ่งสะท้อนเรื่องนี้ผ่านการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเฟซบุ๊ก รวมทั้งผ่านเว็บบล็อกของชาวลาวหลายแห่งเมื่อไม่กี่วันมานี้

คำถามง่ายๆ ก็คือ ต่อเหตุการณ์เช่นนี้.. ใครคือมิตรแท้ เพื่อนตายที่พึ่งพาได้ของชาวลาว?

คำถามในทำนองนี้ถามกันมามาก และถามกันมานาน แต่ครั้งนี้ประชาคมออนไลน์ในนครเวียงจันทน์ได้ถามกันอีกครั้งหนึ่ง หลังจากได้พบว่าในอุบัติเหตุทางอากาศครั้งใหญ่นี้ มีประเทศเพื่อนบ้านเพียงชาติเดียวเท่านั้นที่ทุ่มเทความช่วยเหลือให้แก่ลาว ทั้งด้านบุคลากร อุปกรณ์เครื่องมือทันสมัย .. แม้แต่ถุงพลาสติกบรรจุศพ โลงศพ .. กระทั่งผ้าห่อศพ รวมทั้งขั้นตอนต่อไปที่ยุ่งยากที่สุดก็คือ การตรวจพิสูจน์อัตลักษณ์ของผู้เสียชีวิตที่ไทยมีประสบการณ์มากที่สุดจากเหตุการณ์คลื่นสึนามิซัดกระหน่ำหลายจังหวัดในภาคใต้ปลายปี 2547

"ພວົກເຈົ້າເຫັນຫຼືຫຍັງວ່າ ຫມູ່ເເທ້ຂອງເຈົ້າຄືໄຜ ໃນຍາມເຈົ້າມີພັຍ ເເລ້ວ ອ້າຍເເທ້ເເທ້ຂອງເຈົ້າຫາຍຫົວໄປໄສລ່ະ ບໍມາສອຍນ້ອງເເນ່ ມີເເຕ່ປະເທດ ເພື່ອນບ້ານຢ່າງປະເທດໄທເເທ້ມາຊອຍນ່ະປານນັ້ນນ່ະວ່າເເຕ່ໄທບໍດີ ເຫັນ ໄປ໋ ບານນີ້ ເພື່ອນລາວເອີຍ" [พวกเจ้าเห็นหรือยังว่าเพื่อนแท้ของเจ้าคือใครในยามที่เจ้ามีภัย แล้วอ้าย (พี่) แท้ๆ ของเจ้าหายหัวไปไหนล่ะไม่มาช่วยน้อง มีแต่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศไทยแท้ๆ ที่มาช่วย ป่านนั้นก็ยังว่าไทยนั้นไม่ดี เห็นหรือยังตอนนี้เพื่อนลาวเอ๋ย]

ย่อหน้าข้างบนเป็นคำถามหนึ่งที่มีเนื้อความกินใจมากที่สุดในกระทู้ที่มีผู้เข้าคลิกอ่านกว่า 1,200 ครั้ง ร่วมแสดงความคิดเห็นอีกหลายสิบครั้ง ซึ่งถือว่าคับคั่งเอาการสำหรับประชาคมออนไลน์เล็กๆ ในเวียงจันทน์

"ຈາກຕາມຂ່າວເຫດການເຄື່ອງບິນລາວໄດ້ປະສົບອຸບັດຕິເຫດທີ່ປາກເຊນັ້ນ,ສັງເກດເຫັນວ່າມີແຕ່ພີ່ນ້ອງທາງຝັ້ງໄທທີ່ໄດ້ສົ່ງຄວາມຊ່ວຍເຫຼືອຢ່າງເຕັມທີ່ໃນການຄົ້ນຫາຜູ້ປະສົບເຄາະຮ້າຍດັ່ງກ່າວ,ຂ້າພະເຈົ້າຂໍຂອບໃຈຢ່າງຍິ່ງທາງພີ່ນ້ອງຝັ່ງໄທທີ່ໃຫ້ການຊ່ວຍໃນຄັ້ງນີ້,ແຕ່ກົງກັນຂ້າມຄືບໍເຫັນ (xxxxxxx) ສົ່ງຫນ່ວຍກູ້ໄພ ຫຼື ສິ່ງໃດໆມາຊ່ວຍເລີຍ ປານນັ້ນວ່າສາຍສຳພັນ ແບບພິເສດ!!!!!!" อีกคนหนึ่งออกความเห็นด้วยความรู้สึกง่ายๆ ภาษาง่ายๆ แม้จะไม่แตกฉานในภาษาลาวผู้อ่านชาวไทยทั่วไปก็สามารถจับความได้ไม่ยาก

"ປຽບດັ່ງອ້າຍນ້ອງ ເກີດຮ່ວມທ້ອງ ພໍ່ແມ່ດຽວກັນທຸກ ກໍ່ທຸກດ້ວຍກັນ ສຸກ ກໍ່ສຸກດ້ວຍກັນ ...ມັນບໍ່ກ່ຽວກັບລາວບໍ່ຄ່ອຍເກີດເຫດການ ຮ້າຍເຮງດອກ ສະຫາຍ ຢ່າພະຍາຍາມເສຍຫຍ້າປົກຂີ້ໝາເລີຍ. ຍົກເອົາຄວາມຈິງອອກມາ ເວົ້າໂລດວ່າ ທຸກຢ່າງລາວເຮົາຍັງຫລ້າຫລັງ ແລະບໍທຽບທັນກັບປະເທດ ອື່ນໆ ໃນອາຊີອາຄະເນນີ້ມັນຈະເປັນຫຍັງເພາະຄວາມຈິງກໍເປັນເຊັ່ນນີ້ແທ້. ບໍ່ອາຍປະເທດອື່ນເຂົາແດ່ບໍ່?" อีกคนหนึ่งเขียนโต้แย้งความเห็นที่อ้างว่า สาเหตุที่จะต้องพึ่งพาประเทศเพื่อนบ้านก็เนื่องจากความไม่พร้อม เพราะว่าไม่เคยเกิดเหตุร้ายแรงเช่นนี้ในลาว
.


.
" ໃນເມືອເຫັນວ່າລາວແລະໄທ ເປັນພີ່ນ້ອງກັນ ເປັນຫຍັງລາວຈຶ່ງມັກເວົ້າ ສຽດສີຈັງຊັ້ນຈັງຊີ້ໃຫ້ໄທຄັນເຮົາເຫັນຄວາມເປັນພີ່ນ້ອງ ແທ້ເຮົາກໍ່ຄວນ ເຄົາລົບແລະໃຫ້ຄວາມສໍາຄັນໃນຄວາມສໍາພັນບໍ່ແມ່ນບໍ່ຫຼືວ່າຖືກວຽດລ້າງສະໝອງຈົນໝົດເລີຍບໍ່ເຂົ້າໃຈວ່າອັນໃດ ຄືພີ່ນ້ອງແລະອັນໃດຄືເພື່ອນ ການທີ່ໄທມາຊ່ວຍເຫຼືອຕ້ອງສະແດງຄວາມຂອບໃຈເປັນຢ່າງສູງທີ່ໃນເມືອພີ່ນ້ອງຕົກທຸກໄດ້ຢາກແລ້ວ ຍື່ນມືມາຊ່ວຍເຫຼືອທັນທີ" [ในเมื่อเห็นว่าและไทยเป็นพี่น้อง (ญาติ) กัน เหตุใดลาวจึงมักพูดอย่างนั้นอย่างนี้ให้ไทย คนเราเห็นความเป็นพี่น้องกันจริงเราก็ควรเคารพ และให้ความสำคัญในความสัมพันธ์ใช่มั้ย หรือว่าถูก (XXXX) ล้างสมองจนหมดเลย ไม่เข้าใจว่าคนไหนคือพี่น้องและคนไหนเป็นเพื่อน การที่ไทยมาช่วยเหลือต้องแสดงความขอบใจเป็นอย่างสูงที่ในเมื่อพี่น้องตกทุกข์ได้ยากแล้วยื่นมือมาช่วยเหลือทันที

ข้างบนนี้เป็นเพียงตัวอย่างการถกเถียงกันในกระทู้ที่สะท้อนถึงความรู้สึกดีๆ ในขณะเจ้าหน้าที่ไทยหลายสิบคน รวมทั้งนักประดาน้ำกำลังปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับฝ่ายลาวอย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อยและเสี่ยงชีวิตทุกนาที ในแม่น้ำโขงทางตอนเหนือของเมืองปากเซที่กระแสน้ำไหลเชี่ยวกราก ขณะที่อีกหลายฝ่ายยังคงเร่งจัดหา จัดส่งวัสดุ อุปกรณ์ที่จำเป็นต่างๆ เข้าสู่แขวงภาคใต้ของลาว ชาวลาวอีกจำนวนหนึ่งได้เขียนชื่นชม และขอบคุณสื่อในประเทศไทยที่รายงานฉับไวมีรายละเอียดทำให้พวกตนทราบข่าวเหตุการณ์ที่เป็นปัจจุบันมากที่สุด ขณะที่สำนักข่าว และสื่อของทางการลาวนั้นรายงานล่าช้าเป็นเวลาข้ามวัน

จนถึงวันเสาร์ 19 ต.ค.นี้ทีมร่วมค้นหา เก็บกู้ผู้ประสบเคราะห์ขึ้นจากน้ำได้แล้วกว่า 30 ศพ ทั้งจากจุดที่เกิดเหตุที่อยู่ห่างจากสนามบินไปทางเหนือ 2-3 กิโลเมตร อีกจำนวนหนึ่งถูกน้ำซัดไกล 20-40 กม.

และงานที่ยากพอๆ กันคือ การตรวจพิสูจน์ดีเอ็นเอเพื่อระบุตัวตนของผู้เสียชีวิตกำลังจะเริ่มขึ้น แต่เรื่องนี้ไทยมีผู้เชี่ยวชาญที่มีความสามารถอยู่ในระดับแนวหน้าของโลก.
กำลังโหลดความคิดเห็น