xs
xsm
sm
md
lg

ขุดมา 30 ปีลาวยังต้องช่วยเมกาฯ ตามหาคนหายอีกกว่า 300

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR ><FONT color=#000033>เจ้าหน้าที่ทหารจากศูนย์ร่วมค้นหาฯ มลรัฐฮาวายสองนายนี้ปฏิบัติงานร่วมอยู่ในทีมที่ประกอบด้วยสมาชิก 14 คน ลงไซต์งานแขวงสาละวันในภาพวันที่ 25 ต.ค.2555 ในฤดูแล้ง 2555-2556 สหรัฐส่งเจ้าหน้าที่เข้ากว่า 100 นายเข้าขุดค้นหลายแหล่งในดินแดนลาวทั้งแต่เหนือจรดใต้สำนักข่าวของทางการลาวรายงานในสัปดาห์นี้ว่า ร่วมกันค้นหามา 30 ปีแต่ยังเหลือถึง 310 รายที่หายังไม่พบจาก คนหาย ทั้งหมด 575 คน ฝนช่วงปลายปี 2556 ต้นปี 2557 จะร่วมกันหาต่อไป. -- JPAC Joint Base Pearl Harbor-Hickam </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ลาว และสหรัฐอเมริกา ยังจะต้องร่วมกันค้นหาทหารอเมริกันที่สูญหาย หรือเสียชีวิตในดินแดนลาวตั้งแต่ครั้งสงครามต่อไป หลังจากค้นหาติดต่อกันมา 30 ปี ขณะนี้ยังเหลืออีก 310 รายที่ยังไม่พบ สองฝ่ายได้ประชุมหารือเรื่องนี้วันศุกร์ (16 ส.ค.) ที่กระทรวงการต่างประเทศ นครเวียงจันทน์

ตามรายงานของสำพนักข่าวสารปะเทดลาว ฝ่ายสหรัฐฯ ได้ตกลงจะให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ประชาชนลาวท้องถิ่นต่างๆ ที่มีโครงการค้นหาทหารที่สูญหายต่อไปเช่นกัน ขณะที่ฝ่ายลาวเองได้ให้คำมั่นจะร่วมมือช่วยเหลือสหรัฐฯ บนพื้นฐานเพื่อมนุษยธรรมตามนโยบายรัฐบาล ขปล.กล่าว

ฝ่ายสหรัฐฯ ได้ขอบคุณ และแสดงความความพึงพอใจต่อความช่วยเหลือจากรัฐบาลลาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากทางการกับประชาชนในท้องถิ่น สำนักข่าวของทางการรายงานอ้างคำแถลงฉบับหนึ่งที่ออกโดยกระทรวงการต่างประเทศในนครเวียงจันทน์

“ฝ่ายสหรัฐฯ ได้ตกลงที่จะให้การสนับสนุนด้านมนุษยธรรมแก่ประชาชนลาวในท้องถิ่น เพื่อประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองฝ่าย ซึ่งจะช่วยกระชับความสัมพันธ์ร่วมมือระหว่างลาว และสหรัฐฯ” คำแถลงระบุ

ระหว่างการประชุมหารือเมื่อวันศุกร์ สองฝ่ายได้ทบทวนผลการปฏิบัติตามกรอบความร่วมมือในการค้นหาในช่วง 6 เดือนที่แล้ว และแผนงานค้นหาต่อในปีงบประมาณ 2556-2557 ทางการลาวได้ส่งมอบอัฐิที่ค้นพบให้แก่ฝ่ายสหรัฐฯ เป็นจำนวนมาก ขปล.รายงานเรื่องนี้โดยไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนที่ส่งมอบครั้งล่าสุด

ตามตัวเลขของฝ่ายสหรัฐฯ มีทหารอเมริกันสูญหาย หรือเสียชีวิตในดินแดนลาวรวมทั้งสิ้น 575 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักบิน กับลูกเรือที่หายตัวไปในเหตุการณ์เครื่องบิน หรือเฮลิคอปเตอร์ที่ประสบเหตุตก ทั้งที่ถูกยิงขณะบินจากประเทศไทยไปปฏิบัติการในสงครามเวียดนาม หรือถูกยิงตกขณะบินบินกลับฐานทัพในประเทศไทย หรือถูกยิงขณะบินจากฐานทัพในเวียดนามใต้ในอดีต หรือจากเรือบรรทุกเครื่องบิน ไปทิ้งระเบิดในลาว และด้วยสาเหตุอื่นๆ

สองฝ่ายได้เริ่มการค้นหา “คนหาย” มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2526 การค้นหาดำเนินมาอย่างต่อเนื่องในช่วงหน้าแล้งของทุกปี และจะหยุดการค้นหาในช่วงฤดูฝน

อย่างไรก็ตาม ศูนย์ร่วมค้นหาเชลยศึกและบุคคลที่สูญหายระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ (JPAC) ในนครโฮโนลูลู ออกคำแถลงในเดือน พ.ค.ปีที่แล้วว่า จะมีการส่งทีมงานจำนวน 4 ทีมที่ประกอบด้วยสมาคมชิกราว 50 คน เข้าปฏิบัติงานในแขวงสะหวันนะเขต เป็นเวลาประมาณ 45 วัน เพื่อขุดค้นหาทหารอเมริกัน 10 คน ที่ยังไม่พบตัวตั้งแต่ครั้งสงครามเวียดนาม ทั้งหมดเริ่มงานในปลายปีที่แล้ว

ช่วงต้นปี 2513 อีกราว 50 คน เข้าปฏิบัติงานในแขวงหัวพัน กับแขวงเชียงขวาง อีกประมาณ 30 คนถูกส่งเข้าแขวงสาละวัน ในภาคกลาง กับแขวงเซกอง ทางภาคใต้ แต่ JPAC ยังไม่เคยแถลงความคืบหน้าใดๆ เกี่ยวกับการค้นหาอีกตั้งแต่นั้น

ไม่เพียงแต่ทหารอเมริกันเท่านั้นที่สูญหายไปในดินแดนลาว ยังมีทหารเวียดนามอีกหลายพัน หรือนับหมื่นคนที่ยังไม่ได้กลับประเทศ แม้ว่าสงครามจะยุติไปแล้วเป็นเวลา 38 ปี.
.
<bR ><FONT color=#000033>พันจ่าอากาศเอกแกรนท์ เบียร์ลี กับจ่าสิบเอกอีเลน เจมิเนซ จากศูนย์ร่วมค้นหาฯ มลรัฐฮาวาย ช่วยกันกำหนดอาณาบริเวณก่อนลงมือขุดค้นที่ไซต์งานแขวงสะหวันนะเขต ในภาพวันที่ 19 พ.ย.2555 JPAC แถลงก่อนหน้านั้นว่าจะส่งทีมถึง 4 ทีม ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ราว 50 คน เข้าค้นหา คนหาย จำนวน 10 คนในแขวงภาคกลางของลาวแห่งนี้. – DoD Photo/Army Sergeant Michael Carter. </b>
<br><FONT color=#000033>จ่าสิบเอกปีเตอร์ ชโรเดอร์ กับทหารช่างกองทัพบกสหรัฐคนหนึ่งและจ่าสิบเอกดาร์เรล เมนดิโอลา แห่งศูนย์ร่วมค้นหาฯ ในมลรัฐฮาวาย ช่วยคนงานชาวลาวขนอุปกรณ์สิ่งของต่างๆ ขึ้นเขาเมื่อวันที่ 8 มี.ค.2556 เตรียมการขุดค้นในหลายจุดที่เชื่อว่าเป็นแหล่งเครื่องบินตกในแขวงเชียงขวางตั้งแต่ช่วงสงครามเวียดนาม สื่อของทางการลาวรายงานว่าปีนี้ได้ส่งมอบอัฐิที่ขุดค้นพบให้ฝ่ายสหรัฐ จำนวนมาก แต่ยังไม่เคยมีการเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานร่วมกันครั้งล่าสุด. -- DoD Photo/US Army Spc Crystal Madriz.</b>
กำลังโหลดความคิดเห็น