xs
xsm
sm
md
lg

ถึงคิว “มังคุด” พายุชื่อไทย ทายาท “ทุเรียน” สุดแสบ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR ><FONT color=#000033>ภาพนี้มีคำตอบ -- ท้องฟ้ากรุงเทพฯ เต็มไปด้วยเมฆทำให้มืดคลื้มตลอดบ่ายวันอังคาร 6 ส.ค.2556 ที่ผ่านมา ช่วงดังกล่าว.. ไกลออกไปหลายร้อยกิโลเมตรในทะเลจีนใต้ ดีเปรสชั่นลูกหนึ่งกำลังแปรสภาพ ปั่นเอาไอน้ำจากสารทิศ ทำให้ท้องทะเลป่วนจนถึงบริเวณอ่าวไทย มังคุด ก่อเกิดเป็นพายุโซนร้อนอย่างสมบูรณ์แล้วในตอนบ่ายเมื่อวาน เป็นพายุใหญ่อีกลูกหนึ่งที่กำเนิดขึ้นใกล้ชายฝั่งมากที่สุด และกำลังมุ่งหน้าเข้าภาคเหนือเวียดนามในอีกไม่เกิน 24 ชั่วโมงข้างหน้า คราวนี้อาจจะเดือดร้อนไปจนถึงภาคเหนือลาว.</b>
.

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ดีเปรสชันลูกใหญ่ในทะเลจีนใต้ได้ทวีความเร็วขึ้นเป็นพายุโซนร้อนอย่างสมบูรณ์ในบ่ายวันอังคาร 6 ส.ค.นี้ และกำลังมุ่งหน้าขึ้นฝั่งในบริเวณภาคกลางตอนบน กับภาคเหนือเวียดนามในอีกไม่ถึง 48 ชั่วโมงข้างหน้า ซึ่งตลอด 24 ชั่งโมงที่ผ่านมา ทุกอย่างเป็นไปตามคาด คือ ออกตัวเร็ว เคลื่อนที่เร็ว และยังคงทวีความเร็วขึ้นได้อีก

ศูนย์ร่วมเตือนภัยไต้ฝุ่น (Joint Typhoon Warning Center) ของกองทัพเรือสหรัฐฯ ออกเตือนในค่ำวันอังคารนี้ว่า “มังคุด” พายุชื่อไทยลูกนี้ กำลังจะเป็นพายุโซนร้อนที่มีขนาดใหญ่โต (Significant tropical storm) อีกลูกหนึ่ง

“มังคุด” (Mangkhut) เป็นชื่อที่ถูกเลือกใช้แทน หลังจากชื่อ “ทุเรียน” (Durian) ถูกถอดออกจากบัญชีรายชื่อพายุในย่านแปซิฟิกตะวันตกในปลายปี 2549 หลังจากอาละวาดสร้างความเสียหายหนักหนาสาหัส รวมทั้งคร่าชีวิตผู้คนไปเกือบ 1,500 คน ใน 2 ประเทศ ขณะเดินทางหลายพันกิโลเมตรจากตะวันออกหมู่เกาะฟิลิปปินส์ เข้าสู่ทะเลจีนใต้ อ่าวไทย และตัดข้ามด้ามขวานทองสู่ทะเลอันดามัน ไปสิ้นฤทธิ์ในมหาสมุทรอินเดีย

ตามบันทึกขององค์การอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (Japan's Meteorological Agency) ที่ติดตามเก็บข้อมูลสถิติเกี่ยวกับพายุรุนแรงในย่านแปซิฟิกตะวันตก ไต้ฝุ่นทุเรียนถูก “ลงโทษ” ระหว่างการประชุมประจำปีครั้งที่ 39 ของคณะกรรมการไต้ฝุ่น ในสังกัดคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic and Social Commission for Asia and the Pacific) ที่จัดขึ้นในนครมะนิลา เดือน ธ.ค.2549

ทุเรียนเป็น 1 ใน 5 ชื่อที่ถูกถอดออกจากบัญชีคราวเดียวกัน หลังจากที่มีผลงานสร้างความเสียหายแก่ชีวิต และทรัพย์สินของผู้คนในย่านนี้แบบสุดคณานับ และในการประชุมเดือน ธ.ค.ปีถัดมา ชื่อ “มังคุด” ก็ได้ถูกเลือกไปใช้แทน และบรรจุเข้าบัญชีประจำปี 2551

ย้อนหลังไปเมื่อปี 2549 ราว 7 ปีก่อนหน้านี้ “ทุเรียน” ได้ชื่อเป็นไต้ฝุ่นโหดร้ายที่สุดอีกลูกหนึ่งในรอบ 10 ปี เป็นไต้ฝุ่นระดับ 4 สมบูรณ์แบบขณะพัดเข้าหมู่เกาะฟิลิปปินส์ในช่วงปลาย พ.ย.-ต้น ธ.ค. โดยมีคุณสมบัติในการทำลายล้างอย่างครบถ้วน “ทุเรียน” ทำให้ภูเขาไฟมายอน (Mayon) ปล่อยดินเลื่อนลงทับชาวฟิลิปปินส์สิ้นชีพไปนับพัน

ความอึด กับความสามารถปั่นตัวเองเป็นไต้ฝุ่นได้ถึง 2 ครั้ง ทั้งๆ ที่ใกล้วายขณะพัดเข้าสู่ทะเลจีนใต้ ก่อนเข้าอาละวาดในเขตที่ราบปากแม่น้ำโขงเวียดนาม วกลงปากอ่าวไทยกลายเป็นดีเปรสชัน แต่ยังเคลื่อนต่อไปสู่ทะเลอันดามัน ก่อนไปสลายตัวในย่านทะเลเบงกอลของพม่า จึงทำให้ “ทุเรียน” ถูกยกย่องเป็น “เพอร์เฟกต์ สตอร์ม” (Perfect Storm) อีกลูกหนึ่ง

สถิติชี้ว่า ไต้ฝุ่น “ทุเรียน” ทำให้มีคนเสียชีวิตทั้งหมด 1,497 คน อีกเกือบ 200 คน สูญหายไร้ร่องรอยมาจนถึงบัดนี้ กลายเป็นเพชฌฆาตมือวางอันดับ 1 ในปีที่ได้ชื่อว่าพายุดุดันที่สุด “ทุเรียน” ยังสร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สินรวมมูลค่าราว 508 ล้านดอลลาร์ (เท่ากับ 560 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน)

วันนี้มาถึงคิวของทายาท .. พายุโซนร้อน “มังคุด”
.
<bR ><FONT color=#000033>ทุเรียน ในภาพวันที่ 3 ธ.ค.2549 ขณะพัดเข้าหมู่เกาะฟิลิปปินส์ เป็นไต้ฝุ่นระดับ 4 เป็นอีกหนึ่งอัศจรรย์แห่งธรรมชาติ เป็นพายุใหญ่ที่มีคุณสมบัติการทำลายล้างครบครัน ทำหลายสิ่งที่ไต้ฝุ่นระดับ 5 ก็มิอาจทำได้ ด้วยน้ำอดน้ำทน บึกบึน บากบั่นและเข้มแข็ง ทุเรียนเดินทางได้ไกลหลายพันกิโลเมตรจากทะเลแปซิฟิกถึงทะเลเบงกอลในพม่าในเวลาเพียงข้ามสัปดาห์ คร่าชีวิตคนไปเกือบ 1,500 อีกกว่า 200 คนสูญหายมาจนถึงวันนี้ จึงได้ชื่อเป็น เพอร์เฟ็กต์ สตอร์ม แต่การเป็นเพชฌฆาตมือวางอันดับ 1 ทำให้ถูกถอดชื่อออกจากระบบ และ มังคุด สืบทอดเป็นทายาทแห่งการทำลาย.</b>
.
กลางดึกวันอังคารที่ผ่านมา พายุชื่อไทยอยู่ห่างจากชายฝั่งเวียดนามราว 220 กิโลเมตร ในช่วง จ.กว๋างหงาย (Quang Ngai) กับ จ.เถือะเทียนเหว (Thua Thien Hue)

ตามรายงานของศูนย์อุตุนิยมวิทยาและอุทกศาสตร์กลางในกรุงฮานอย เมื่อเวลา 23.30 น. พายุยังคงเคลื่อนตัวไปในแนวตะวันตกเฉียงเหนือด้วยความเร็ว 20-25 กม./ชม. และจะอยู่ในทิศนี้กับความเร็วระดับนี้ตลอด 24 ชั่วโมงข้างหน้า

“มังคุด” กำลังทำให้ทะเลน่านน้ำเวียดนามปั่นป่วนหนัก และคาดว่าจะเข้าถึงฝั่งตอนค่ำวันพุธ 7 ส.ค.นี้ ก่อนอ่อนกำลังลงเป็นดีเปรสชัน ทำให้เกิดฝนตกหนักอีกระลอก และเคลื่อนตัวในแนวตะวันเฉียงเหนือ ไปสลายตัวในเขตรอยต่อภาคเหนือลาว

พายุ “มังคุด” กำลังเข้าซ้ำเติมความเสียหายที่เจบิ (Jebi) พายุชื่อเกาหลีทิ้งเอาไว้ในภาคเหนือเวียดนามวันเสาร์ที่ผ่านมา รวมทั้งทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 6 คน ศูนย์อุตุนิยมวิทยาฯ แห่งนี้ ยังออกคำเตือนให้หลายท้องถิ่นระวังเหตุน้ำท่วมฉับพลัน อันเป็นผลพวงจากพายุลูกเดิมอีกด้วย.
.
<bR ><FONT color=#000033>ศูนย์อุตุนิยมวิทยาและอุทกศาสตร์กลางในกรุงฮานอยออกแผนภูมิพยากรณ์นี้ในคืนวันอังคารที่ผ่านมาหลังจากพายุโซนร้อนมังคุดก่อเกิดอย่างสมบูรณ์ และมุ่งหน้าขึ้นเหนือ สำนักนี้เป็นแห่งแรกที่บรรจุ มังคุด ลงในแผนภูมิตั้งแต่กลางดึกวันจันทร์ พร้อมฟันธง มันมาแน่ ซึ่ง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ทุกอย่างเป็นไปตามนั้น.</b>
<bR ><FONT color=#000033>ศูนย์ร่วมเตือนภัยไต้ฝุ่น JTWC ของกองทัพเรือสหรัฐ เป็นแห่งที่ 2 ที่ติดตามและออกแผนภูมิพยากรณ์มาเป็นระยะๆ ตลอดวันอังคารที่ผ่านมา จนกระทั่งพายุมังคุดก่อเกิดอย่างสมบูรณ์ในตอนบ่ายวันเดียวกัน.</b>
<br><FONT color=#000033>เว็บไซต์สำนักพยากรณ์อากาศแห่งฟิลิปปินส์เป็นอีกแห่งหนึ่งที่เฝ้าจับตาการก่อเกิดของพายุโซนร้อนมังคุดตลอดวันอังคารที่ผ่านมา และหลายสำนักออกพยากรณ์ตรงกันในวันนี้ มังคุดกำลังมุ่งหน้าขึ้นเหนือ-ตะวันตกเฉียงเหนือ มีนัดที่ชายฝั่งภาคกลางตอนบนกับภาคเหนือเวียดนามในอีกไม่เกิน 48 ชั่วโมงข้างหน้า.</b>
กำลังโหลดความคิดเห็น