xs
xsm
sm
md
lg

จากดอยไตแลงถึงเนปีดอ .. “เจ้ายอดศึก” พบ “เต็งเส่ง” จันทร์นี้

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR ><FONT color=#000033>เจ้ายอดศึกเป็นประธานในพิธีสวนสนามของกองเกียรติยศวันที่ 7 ก.พ.2555 เนื่องในโอกาสครบรอบปีที่ 65  วันชาติรัฐชาน พิธีจัดขึ้นในฐานที่มั่นดอยไตแลงใกล้กับชายแดนไทย กองทัพรัฐชาน (Shan State Army) เป็นกองกำลังติดอาวุธใหญ่ที่สุดอีกกลุ่มหนึ่งของชนชาติส่วนน้อยในพม่า เชื่อกันว่ามีกำลังพลกว่า 10,000 นาย เจ้ายอดศึกบอกกับ ASTVผู้จัดการออนไลน์ ตอนสายวันอาทิตย์นี้ว่า ปัจจุบันกองกำลังทุกส่วนได้ผนึกเข้าเป็นหนึ่งเดียวไม่มีชานเหนือ-ชานใต้อีกต่อไป เพื่อเจรจาสันติภาพกับฝ่ายรัฐบาล. -- REUTERS/Chaiwat Subprasom. </b>
.

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - เจ้ายอดศึก ผู้นำกองทัพแห่งรัฐชาน (Shan State Army) เดินทางเข้ากรุงเนปีดอในวันอาทิตย์ (9 มิ.ย.) นี้ เพื่อเข้าเยี่ยม และหารือกับประธานาธิบดีเต็งเส่ง กรุยทางสำหรับการเจรจาสันติภาพที่จะมีขึ้นในวันข้างหน้า คณะจากรัฐชาน ยังมีกำหนดเดินทางสู่นครย่างกุ้งเพื่อพบหารือกับผู้นำพรรคการเมืองต่างๆ เกี่ยวกับอนาคตของประเทศอีกด้วย

รัฐชานกำลังจะส่งจดหมายถึงรัฐบาลไทย อังกฤษ และสหรัฐฯ ปลายเดือน มิ.ย.นี้ เพื่อเชิญเป็นสักขีพยานในการเจรจากับฝ่ายรัฐบาลที่จะมีขึ้น เจ้ายอดศึกกล่าว

นับเป็นครั้งแรกที่ผู้บัญชาการกองทัพแห่งรัฐชาน เดินทางเข้าเมืองหลวง และเป็นครั้งแรกในรอบหลายสิบปีที่จะได้กลับไปยังนครย่างกุ้งอีกครั้งหนึ่ง สิ่งนี้ยังมีขึ้นในปีที่ 66 การก่อตั้งกองทัพ SSA และปีที่ 55 การต่อสู้เพื่อเอกราชของชาวไทยใหญ่

“ผมจะเข้าพบหารือกับท่านเต็งเส่งในวันที่ 10 มิถุนายนนี้ เพื่อเยี่ยมเยือนเป็นการกรุยทางเพื่อการเจรจาซึ่งจะนัดหมายกำหนดการกันอีกครั้งหนึ่ง” ผู้นำกองทัพของชนกลุ่มน้อยที่มีขนาดใหญ่อันดับต้นๆ ในพม่ากล่าวกับ “ASTVผู้จัดการออนไลน์” ทางโทรศัพท์ขณะเดินทางมุ่งสู่สนามบินท่าขี้เหล็กตอนสายวันอาทิตย์ พร้อมกับผู้นำระดับสูงร่วมคณะรวม 23 คน

สภาเพื่อสันติภาพแห่งรัฐชาน (Shan State Peace Council) ซึ่งเป็นองค์กรทางการเมืองของชาวไทยใหญ่ ได้ตอบรับคำเชิญของรัฐบาลกึ่งพลเรือนของพม่า และเข้าเจรจาและทำข้อตกลงหยุดยิงอย่างหลวมๆ ในเดือน พ.ย.2554 แต่การปะทะระหว่างกองกำลังสองฝ่ายยังคงเกิดขึ้นเป็นระยะๆ แม้ว่าจะเป็นการปะทะขนาดย่อมๆ ก็ตาม ซึ่งเจ้ายอดศึกกล่าวว่า มักจะเกิดจาก “ความเข้าใจไม่ตรงกัน” และความระวังกันในระดับปฏิบัติการ

“เมื่อเร็วๆ นี้ก็ยังมีการปะทะกัน และอยู่ใกล้ (เขตฐานที่มั่นดอนไตแลง) ด้วย เรื่องข้อตกลงหยุดยิงยังขัดข้องอยู่หลายประการที่จะต้องเจรจากันอีก” ผู้บัญชาการ SSA กล่าว

การเดินทางเข้าเมืองหลวงครั้งแรกนี้ ผู้บัญชาการสูงสุดกองทัพแห่งรัฐชานกำลังจะพบกันแบบซึ่งหน้ากับผู้นำสูงสุดของประเทศที่เคยเป็นคู่อริสำคัญ เมื่อครั้งที่มีตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารเขตสามเหลี่ยมทองคำ ในช่วงปีที่พม่ายังอยู่ภายใต้ระบอบของคณะปกครองทหารในกรุงย่างกุ้ง

เจ้ายอดศึกกล่าวว่า หลังจากพบหารือกับ ปธน.เต็งเส่งแล้ว คณะจะเดินทางต่อไปยังนครย่างกุ้ง เพื่อพบหารือกับพรรคการเมืองหลายพรรค ซึ่งรวมทั้งพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยของนางอองซานซูจีด้วย
.
มุ่งสู่สันติภาพ AFP/Reuters
<bR ><FONT color=#000033>พลตรีกวมมอ (Guam Maw) รองผู้บัญชาการกองทัพกะฉิ่นอิสระ (Kachin Independence Army) สัมผัสมือนายทหารระดับสูงของฝ่ายรัฐบาลในการเจรจาที่เมืองมี๊ตจีนา ( Myitkyina) เมืองเอกของรัฐทางตอนเหนือของประเทศ วันที่ 28 พ.ค.2556 หรือเมื่อสัปดาห์ที่แล้วโดยมีผู้แทนขององค์การสหประชาชาติเข้าร่วมสังเกตการณ์ด้วย สองฝ่ายตกลงหยุดยิงกันอย่างจริงจังอีกครั้งหนึ่งโดยมีข้อปฏิบัติร่วมหลายประการ. -- AFP Photo. </b>
2
<bR ><FONT color=#000033>ผู้แทนสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (Karen National Union) นายซอจอนิ จอห์นนี่ (ซ้าย) กับเจ้าหน้าที่ตัวแทนฝ่ายรัฐบาลแลกเปลี่ยนเอกสารกันหลังการเจรจาหยุดยิงที่เมืองปาอัน (Hpa-an) ในรัฐกะเหรี่ยงวันที่ 12 ม.ค.2555 ฝ่ายรัฐบาลได้ตกลงหยุดยิงกับกองกำลังติดอาวุธใหญ่ที่สุดอีกกลุ่มหนึ่ง และถือเป็นการสิ้นสุดความขัดแย้งอันยาวที่สุดกรณีหนึ่งของโลก ขณะที่พม่ายุคใหม่เข้าสู่การปฏิรูปอย่างรอบด้าน แต่การเจรจาเพื่อสันติภาพอันถาวรและแก้ไขปัญหาทางการเมืองอย่างยั่งยืนยังไม่เกิดขึ้น. --  AFP Photo/Soe Than Win. </b>
3
<bR ><FONT color=#000033>นายซอเท้มอง (Saw Htay Maung) ประธานสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) และประธานสภาเพื่อสันติภาพแห่งชาติ ร่วมแถลงข่าวที่บ้านพักของนางอองซานซูจีในนครย่างกุ้ง หลังการพบหารือกันในวันที่ 10 ก.พ.2555 เป็นการพบปะครั้งแรกระหว่างสองฝ่าย ซึ่งในปีก่อนหน้านั้นนางซูจีได้เสนอต่อรัฐบาลขอเป็นตัวกลางเจรจาสงบศึกกับชนชาติส่วนน้อยกลุ่มนี้ แต่ฝ่ายรัฐบาลปฏิเสธ. -- REUTERS/Soe Zeya Tun. </b>
4
 <br><FONT color=#000033>สตรีชาวกะเหรี่ยงสวมกอดนางอองซานซูจี ในโอกาสติดตามคณะของประธานสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) ไปยังนครย่างกุ้ง ขณะที่กำลังมีการเจรจาหยุดยิงระหว่างกองกำลังของ กะเหรี่ยงคริสต์ กลุ่มนี้กับฝ่ายทหารรัฐบาลที่เมืองปา-อันในรัฐกะเหรี่ยง วันนี้เสียงปืนเริ่มสงบลงหรือมีน้อยลง และสันติภาพได้เข้าแทนที่ แต่ปัญหาทางการเมือง-การทหารยังรอการแก้ไขอยู่ข้างหน้า. -- Reuters/Soe Zeya Tun. </b>
5
.

“เราได้ติดต่อพบกันในย่างกุ้ง แต่ยังไม่ทราบในขณะนี้ว่าจะได้พบกับพรรคใดบ้าง ผมพร้อมที่จะพบนางซูจี ถ้าหากนางพร้อม” เจ้ายอดศึกกล่าวถึงผู้นำฝ่ายค้านใหญ่ที่สุดในพม่า ซึ่งสัปดาห์ที่แล้ว ได้ประกาศจะลงสมัครรับเลือกตั้งในตำแหน่งประธานาธิบดีในอีกไม่ถึง 3 ปีข้างหน้า เมื่อ ปธน.เต็งเส่งครบเทอม

เจ้ายอดศึกเปิดเผยว่า การเจรจากับรัฐบาลที่จะมีขึ้นนั้น ฝ่ายรัฐชานจะเสนอเนื้อหาสำคัญ 3 ประการ คือ ให้มีการจัดการบริหารประเทศในระบบสหภาพ (Union) อย่างแท้จริง การปฏิรูปการเมืองเพื่อให้เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง และปฏิรูปกองทัพที่จะมีการรวมกองกำลังของฝ่ายต่างๆ

สภาเพื่อสันติภาพแห่งรัฐชาน กับกองทัพแห่งรัฐชาน จะส่งหนังสือเชิญถึงรัฐบาลไทย รัฐบาลอังกฤษ และรัฐบาลสหรัฐฯ ระหว่างวันที่ 25-26 มิ.ย.นี้ เพื่อขอให้เข้าร่วมเป็นสักขีพยานในการเจรจาสันติภาพที่จะมีขึ้น แบบเดียวกับที่สหประชาชาติส่งผู้แทนเข้าร่วมการเจรจาระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับกองกำลังจากรัฐกะฉิ่นสัปดาห์ที่แล้ว

เจ้ายอดศึกกล่าวว่า ไทยเป็นประเทศเพื่อนบ้านใกล้ชิดที่สุด ได้รับรู้ปัญหา และได้รับผลกระทบจากปัญหามากที่สุด ขณะที่อังกฤษ เคยปกครองดินแดนพม่ามายาวนาน และผูกพันกับประวัติศาสตร์ของประเทศ ส่วนสหรัฐฯ นั้นเป็นประเทศที่มีบทบาทอย่างสูงต่อพม่าในปัจจุบัน จึงสมควรที่ทั้ง 3 ฝ่ายจะได้เข้าร่วม

การเจรจาดังกล่าวจะมีผู้แทนจากองค์การสหประชาชาติเข้าร่วมด้วยเช่นกัน เจ้ายอดศึกกล่าว

ผู้นำกองทัพชานกล่าวว่า เคยไปกรุงเก่าย่างกุ้งครั้งแรกเมื่อเป็นทหารในกองทัพรัฐบาล การไปครั้งนี้ คณะทีกำหนดจะไปทำบุญที่วัดมหาเจดีย์ชเวดากองด้วย ก่อนจะเริ่มการพบหารือกับฝ่ายต่างๆ หลังจากนั้นจะเดินทางกลับผ่านเมืองตองกี (Thaung Kyi) ในรัฐชานในช่วงปลายเดือน

เจ้ายอดศึกได้กล่าวขอบคุณรัฐบาลไทย และประชาชนไทยที่ให้การช่วยเหลือแก่ชาวไทยใหญ่ และชาวพม่ากลุ่มต่างๆ ที่เข้าไปอาศัยทำกินในดินแดนไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการหนีร้อนไปพึ่งเย็น และเป็นภาระของไทยอย่างมาก แต่เชื่อว่าทุกอย่างจะดีขึ้นในระยะเวลาอันไม่นานนี้.
.

สงครามและสันติภาพ
สำนักข่าว AFP
กองทัพรัฐชาน (Shan State Army) จัดพิธีสวนสนามวันที่ 7 ก.พ.2555 ฉลองวันชาติปีที่ 65 และในปีนี้เป็นปีที่ 66 และยังครบรอบปีที่ 55 สำหรับการลุกฮือขึ้นต่อสู้กับรัฐบาลพม่าเพื่อประชาธิปไตย และสิทธิในการปกครองตนเอง เจ้ายอดศึกผู้นำของกองทัพทันสมัยอาวุธครบมือที่มีกำลังพลกว่า 10,000 นาย ออกเดินทางในวันอาทิตย์ 9 พ.ค.2556 นี้เพื่อพบกับประธนาธิบดีเต็งเส่งในกรุงเนปีดอ ซึ่งเป็นการเดินทางสู่เมืองหลวงครั้งแรก เพื่อหารือกรุยทางไปสู่การเจรจาสันติภาพที่ยั่งยืน รัฐชานยังมุ่งมั่นให้พม่าเป็นระบบสหภาพ (Union) อย่างจริง ต้องปฏิรูปประชาธิปไตย และปฏิรูปกองทัพ. [ภาพประกอบทั้งหมดโดยสำนักข่าวรอยเตอร์].


6

7

8

9

10
กำลังโหลดความคิดเห็น