xs
xsm
sm
md
lg

“ซูจี” หนุนโครงการเหมืองจีนต้องเดินหน้าต่อเพื่อเศรษฐกิจประเทศ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033> ผู้ชุมนุมประท้วงเดินอยู่ใกล้เพิงพักที่ตั้งใกล้โครงการเหมืองทองแดงที่จีนสนับสนุน ในเมืองมอญยอ ทางเหนือของพม่า วันที่ 13 มี.ค. นางอองซานซูจีได้เรียกร้องให้ผู้ชุมนุมประท้วงยอมรับเหมืองดังกล่าว หรือเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจประเทศ. --  AFP PHOTO/Soe Than Win. </font></b>

เอเอฟพี - นางอองซานซูจี แกนนำฝ่ายค้านพม่าเรียกร้องให้บรรดาผู้ชุมนุมประท้วงยอมรับเหมืองทองแดงที่เป็นสถานที่เกิดเหตุปราบปรามการชุมนุมอย่างรุนแรงเมื่อปีก่อน หรือเสี่ยงที่จะให้กระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ

นางอองซานซูจี เจ้าของรางวัลโนเบลได้เดินทางเยือนหมู่บ้านที่อยู่ใกล้กับเหมืองในเมืองมอญยอ ทางเหนือของประเทศ กล่าวว่า ประชาชนในท้องถิ่น และเศรษฐกิจในภาพรวมจะได้รับผลกระทบหากโครงการเหมืองแห่งนี้ยุติลง แม้ว่าจะมีความวิตกเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และการยึดที่ดินก็ตาม

รายงานของรัฐสภาที่นางอองซานซูจีเป็นผู้ควบคุมซึ่งออกเผยแพร่วานนี้ (12) ระบุว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้ฟอสฟอรัสกับกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงที่เหมืองเมื่อปีก่อนในการปราบปรามที่นับว่ารุนแรงที่สุดตั้งแต่สิ้นสุดการปกครองโดยทหาร

อย่างไรก็ตาม การสอบสวนหาข้อเท็จจริงในเหตุการสลายการชุมนุมในเดือน พ.ย. ที่ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บหลายสิบคน รวมทั้งพระสงฆ์ ยังได้ระบุข้อแนะนำให้โครงการเหมืองดำเนินการต่อ แม้จะยอมรับว่าเหมืองดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อประเทศเพียงเล็กน้อยก็ตาม

“หากเราหยุดโครงการเหมืองจะไม่เป็นประโยชน์ต่อทั้งประชาชนในพื้นที่ หรือแม้แต่ประเทศ” นางซูจีกล่าวกับชาวบ้านประมาณ 200-300 คน ในวันนี้ (13)

“อีกประเทศ (จีน) อาจคิดว่าประเทศของเราไม่สามารถไว้วางใจได้ในด้านเศรษฐกิจ เราต้องเดินไปพร้อมกับประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ก็ตาม” ซูจีกล่าว

นับตั้งแต่การปกครองโดยรัฐบาลทหารสิ้นสุดลงเมื่อ 2 ปีก่อน การประท้วงต่อต้านการยึดที่ดินเกิดขึ้นบ่อยครั้ง เนื่องจากประชาชนเริ่มทดสอบขอบเขตเสรีภาพของตัวเองภายใต้รัฐบาลหัวปฏิรูปชุดใหม่

โครงการที่จีนสนับสนุนซึ่งเกี่ยวข้องกับทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมากมายของประเทศได้จุดชนวนความไม่พอใจให้แก่ประชาชน และเหตุพิพาทที่เหมืองมอญยอสะท้อนการต่อต้านเขื่อนยักษ์ของจีนก่อนหน้านี้ ซึ่งถูกระงับไปในเดือน ก.ย.2554 หลังประชาชนคัดค้านอย่างหนัก

ประชาชนในท้องถิ่นต้องการให้เหมืองที่เป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัทของจีน และกิจการของทหารปิดตัวลง

“เราไม่สามารถยอมรับการทำลายหมู่บ้านของพวกเราได้ เราจะประท้วงกันต่อไปจนกว่าพวกเขาจะปิดโครงการ” โซ ตินต์ เกษตรกรอายุ 43 ปี จากหมู่บ้านที่อยู่ใกล้กับเหมืองกล่าว

ส่วนในการพูดคุยกับหมู่บ้านแห่งที่ 2 ที่มีผู้คนกว่า 500 คนเข้าร่วมฟังนั้น ซูจีเรียกร้องให้ผู้ที่ไม่พอใจรายงานของนาง ไปประท้วงที่บ้านของนาง.
กำลังโหลดความคิดเห็น