xs
xsm
sm
md
lg

ภาพเศร้าแห่งปี .. ตูบน้อยคอยแม่ นั่งเฝ้าซากศพข้างกองเพลิงจลาจลพม่า

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

 <bR ><FONT color=#000033>คงจะไม่รู้ว่าอะไรเกิดขึ้นกับแม่ แต่หากดูจากสีหน้าดูเหมือนว่าเจ้าตัวน้อยจะเข้าใจได้ว่าทุกอย่างไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว ราษฎรในย่านนั้นบอกว่าเจ้าหนูไปนั่งเฝ้าแม่ของมันที่เสียชีวิตในกองเพลิงจากเหตุความรุนแรงที่เมืองจ๊อกพะยู (Khaukpyu) รัฐระไค (Rakhine หรือ ยะไข่) ภาพถ่ายวันที่ 6 พ.ย.2555 และกลายเป็นหนึ่งในภาพแห่งปีรประจำปี 2555 ของสำนักข่าวรอยเตอร์.</b>
.

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ภาพลูกสุนัขตัวหนึ่งนั่งเฝ้าร่างไร้วิญญาณของแม่ที่เหลือเป็นซากในกองเพลิงในเหตุจลาจลรัฐระไค (Rakhine หรือ ยะไข่) ของพม่าครั้งล่าสุด ได้รับเลือกเป็นหนึ่งในบรรดา “ภาพแห่งปี” (Pictures of the Year 2012) ที่บอกเล่าเหตุการณ์สำคัญในประเทศนี้ โดยสำนักข่าวรอยเตอร์

สำนักข่าวดังกล่าวไม่ได้ให้รายละเอียดอื่นใดอีกเกี่ยวกับลูกสุนัขในภาพถ่ายวันที่ 6 พ.ย.2555 แต่ได้ยืนยันตามคำบอกเล่าของราษฎรในท้องถิ่นเมืองจ๊อกพะยู (Kyaukpyu) ว่า สุนัขตัวโตที่นอนเป็นซากในภาพ เป็นแม่ของเจ้าตัวน้อยที่นั่งหน้าละห้อยแววตาไร้จุดหมาย

ไม่เพียงแต่แม่ของสุนัขน้อยเท่านั้นที่เสียชีวิตในเหตุจลาจลใหญ่ แต่ยังมีชาวพุทธพม่า กับชาวมุสลิมโรฮิงญาเสียชีวิตรวมกันเป็นจำนวนกว่า 200 คน นับตั้งแต่ความรุนแรงที่เกี่ยวกับเชื้อชาติ และศาสนาปะทุขึ้นตอนต้นปี และครั้งรุนแรงที่สุดเกิดขึ้นในเดือน มิ.ย.ปีนี้ ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 80 คนในเหตุการณ์.
.
แทนคำพูดร้อยคำพันคำ Reuters/AFP
 <bR ><FONT color=#000033>หนูน้อยกลิ้งๆ นอนๆ เล่นอยู่โดยลำพังบนท้องถนน ใกล้ฝั่งแม่น้ำย่างกุ้งวันที่ 18 มี.ค.2555. --  REUTERS/Staff.   </b>
2
 <bR><FONT color=#000033>นางอองซานซูจี ผู้นำฝ่ายค้านเดินทางออกจากเขตกอหมุ (Kawhmu) กรุงย่างกุ้งหลังปราศรัยหาเสียงเลือกตั้งซ่อม วันที่ 22 มี.ค.2555. </b>
3
<bR><FONT color=#000033>นางซูจีโบกมือให้ผู้สนับสนุนที่ไปต้อนรับเนืองแน่น ระหว่างปราศรัยหาเสียงเลือกตั้งที่เมืองปะเต็ง (Pathein หรือเมืองพะสิม) ในเขตที่ราบปากแม่น้ำอิรวดี ราว 200 กม.ทางตะวันตกกรุงย่างกุ้ง ในภาพวันที่ 7 ก.พ.2555 เป็นหนึ่งในภาพ ท็อปชอต ประจำปีของสำนักข่าวเอเอฟพี. -- AFP Photo/Christophe Archambault. </b>
4
 <bR><FONT color=#000033>หนุ่มพั๊งค์กับภาพนางอองซานซูจีที่ด้านหลังเสื้อยืด ไปร่วมการโชว์ของชาวพั๊งค์ในบาร์แห่งหนึ่งของกรุงย่างกุ้ง ในภาพวันที่ 11 เม.ย.2555 ซึ่งเป็นช่วงเทศกาลตีงกาน (สงกรานต์). --  REUTERS/Soe Zeya Tun.</b>
5
<bR><FONT color=#000033>ผู้ชมยิ้มแย้มขณะชมภาพยนตร์ 3 มิติ (3D) ในโรงภาพยนตร์มิงกะลา (Mingalar) กรุงย่างกุ้ง ในภาพวันที่ 19 เม.ย.2555 ซึ่งเป็นสิ่งใหม่สำหรับสังคมประเทศนี้. -- REUTERS/Soe Zeya Tun. </b>
6
<bR><FONT color=#000033>ผู้ป่วยเอชไอวีเอดส์ขั้นสุดท้ายที่ศูนย์พักฟื้นรักษาชานกรุงย่างกุ้งที่ก่อตั้งโดยสันนิบาติเพื่อประชาธิปไตยแห่งชาติของนางซูจีในภาพวันที่ 26 พ.ค.2555 ถึงแม้รัฐบาลกึ่งพลเรือนจะประกาศปฏิรูปกระทรวงสาธารณสุขและระบบการดูแลสุขภาพแห่งชาติก็ตามทุกอย่างเป็นไปอย่างล่าช้าเกินกว่าจะนำความหวังไปมอบให้แก่ผู้ป่วยเหล่านี้. -- REUTERS/Damir Sagolj.  </b>
7
<bR><FONT color=#000033>ชนพื้นเมืองชาวระไค (Rakhine หรือ ยะไข่) ถืออาวุธที่หาได้ในท้องถิ่นในหมู่บ้านที่ถูกเผาวายวอดระห่างเหตุรุนแรงระหว่างชาวพุทธยะไข่กับชาวมุสลิมโรฮิงญา ในเขตเมืองสิตตเว (Sittwe) เมืองเอกของรัฐ ในภาพวันที่ 10 มิ.ย.2555. -- REUTERS/Staff. </b>
8
<bR><FONT color=#000033>สตรีกับเด็กๆ มุสลิมโรฮิงญาบนเรือที่พยายามหลบหนีข้ามแม่น้ำเข้าสู่ดินแดนบังกลาเทศ ในภาพวันที่ 13 มิ.ย.2555 แต่ทางการประเทศนี้ไม่ให้เข้าเขตน่านน้ำ ถึงแม้องค์การสหประชาชาติจะเรียกร้องขอให้เปิดประตูรับคนพลัดถิ่นที่หลบหนีเหตุรุนแรงจากดินแดนพม่าก็ตาม. -- REUTERS/Andrew Biraj.  </b>
9
<bR><FONT color=#000033>สตรีมุสลิมโรฮิงญาที่หลบหนีเหตุรุนแรงในเมืองจ๊อกพะยู (Kyaukphyu) น้ำตานองเมื่อเดินทางถึงศูนย์พักพิงแห่งหนึ่งที่เมืองสิตตเว (Sittwe) เมืองเอกของรัฐระไค (Rakhine หรือ ยะไข่) ในภาพวันที่ 28 ต.ค.2555. -- REUTERS/Soe Zeya Tun.</b>
10
 <bR><FONT color=#000033>สตรีกับเด็กๆ ชาวมุสลิมโรฮิงญาพยายามข้ามแม่น้ำน๊าฟ (Naf) หนีความรุนแรงบนเรือในภาพวันที่ 13 มิ.ย.2555 แต่บังกลาเทศไม่ยอมให้เข้าน่านน้ำ  เป็น ท็อปชอต อีกภาพหนึ่งของ AFP ในช่วงดังกล่าวบังกลาเทศให้ชาวโรฮิงญากว่า 600 คน บนเรือ 16 ลำหันหัวกลับพม่า ถึงแม้ประชาคมระหว่างประเทศจะเรียกร้องให้เปิดประตูรับคนพลัดถิ่นเหล่านี้. -- AFP Photo/Munir uz Zaman.</b>
11
<bR><FONT color=#000033>ชาสมุสลิมโรฮีงญาที่หลบหนีความรุนแรงในพม่าเข้าบังกลาเทศร้องไห้อยู่ใกล้ๆ กับสมาชิกรอบครัวคนอื่นๆ ที่สถานีตรวจการณ์ชายฝั่งบังกลาเทศเมืองเท็คน๊าฟ (Teknaf) ในภาพวันที่ 19 มิ.ย.2555 ก่อนทุกคนจะถูกส่งกลับเข้าดินแดนพม่าอีกครั้ง. --  AFP Photo/Munir uz Zaman.</b>
12
กำลังโหลดความคิดเห็น