xs
xsm
sm
md
lg

มาเลเซียส่งเรือ OPV ชุดล่องหน เยือนสีหนุวิลล์

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>เรือปะหัง (KD Pahang) ของกองทัพเรือมาเลเซีย จอดเทียบท่าเรือสีหนุวิลล์กลางสัปดาห์นี้ เป็นเรือโอพีวีหรือเรือลาดตระเวนนอกชายฝั่ง<i> (Offshore Patrol Vessel)</i> 1 ใน 6 ลำที่ได้ต้นแบบจากเรือตระกูลเมโค (MEKO) รูปทรงหลบเลี่ยงการตรวจจับของเรดาร์ เป็นเรือชุดใหม่สุดของกองทัพเรือประเทศนี้ ปัจจุบันมาเลเซียกำลังอยู่ระหว่างเจรจาขอซื้อเรือฟริเกตชั้นเพอร์รี (Oliver Hazard Perry-Class) ที่กองทัพเรือสหรัฐ ทะยอยปลดประจำการ. -- ภาพ: สำนักข่าวกัมพูชา/Ngo Somony.</b>
.

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - เรือเคดี ปะหัง (KD Pahang) ของกองทัพเรือมาเลเซีย พร้อมลูกเรือ 90 คน เข้าจอดเทียบท่าเรือสีหนุวิลล์ในวันพุธที่ผ่านมาเพื่อเยือนสันถวไมตรีกัมพูชาระหว่างวันที่ 21-24 พ.ย.ศกนี้

พล.ร.ต.รส วาสนา (Ros Veasana) รองผู้บัญชาการฐานทัพเรือเรียม (ราม) ที่อยู่ถัดไปจากท่าเรือพาณิชย์แห่งนี้ และเป็นฐานทัพเรือเพียงแห่งเดียวในทะเลอ่าวไทยของกัมพูชา ได้ต้อนรับเรือปะหัง กับคณะจากมาเลเซีย สำนักข่าวกัมพูชารายงานโดยไม่ได้ให้รายละเอียดอื่นใดอีก

เรือ Pahang เป็นเรือลาดตระเวนนอกชายฝั่ง (Offshore Petrol Vessel) ขนาด 1,850 ตัน ต่อที่อู่ของบริษัท HDW (Howaldtswerke-Deutsche Werft GmbH แห่งเมืองคีล (Keil) เยอรมนี ตามต้นแบบเรือเมโก-100 (MEKO-100 Class) ที่มีชื่อเสียง ซึ่งมีใช้ในกองทัพเรือของหลายประเทศทั่วโลก

เรือฟรีเกตของ MEKO เป็นอีกตระกูลหนึ่งที่อยู่ในสายตาของราชนาวีไทย ในโครงการจัดหาเรือรบชุดใหม่ที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ เพื่อนำเข้าประจำการแทนเรือชุดเก่าที่จะเกษียณ

เรือปะหัง (รหัส F172) เป็น 1 ใน 6 ลำของเรือ OPV ชั้นเดียวกัน เป็นเรือรบรุ่นใหม่ออกแบบรูปทรงให้ช่วยหลบเลี่ยงการตรวจจับของเรดาร์ได้ดี โดยมีเรือเคดะ (KD Kedah F171) เป็นเรือนำของชุด ทั้งสองลำในต่อจากเยอรมนี และนำไปประกอบอุปกรณ์ต่างๆ ที่อู่ต่อเรื่องร่วมทุนเยอรมัน-มาเลย์ในรัฐปีนัง

เรือชั้นเดียวกันอีก 4 ลำที่เหลือคือ เรือเปรัก (KD Perak) เรือเตรงกานู (KD Terengganu) เรือกลันตัน (KD Kelantan) และเซลังงอร์ (KD Selangor) ซึ่งหมายเลขรหัสไปตามลำดับ ทั้งหมดต่อ และประกอบชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ ในปีนัง และเข้าประจำการระหว่างปี 2549-2552

ความยาวตลอดลำ 91.1 เมตร ติดปืนใหญ่เรือขนาด 76 มม. โอโตเมลารา (OTO Melara) 1 กระบอก ปืนใหญ่ 30 มม.โอโตเมลารา-เมาเซอร์ กับปืนกล 12.7 เอ็มจี ขนาด 12.7 มม. อีก 1 กระบอก สามารถดัดแปลงติดตั้งจรวดต่อสู้อากาศยานกับจรวดต่อสู้เรือผิวน้ำได้หากต้องการ.
.
 <bR><FONT color=#000033>ภาพจากเว็บไซต์ MalaysianDefence.Com เรือปะหัง (KD Pahang) ที่อู่ต่อเรือของบริษัท NDSB (บริษท Boustead Dockyard ในรัฐปีนังปัจจุบัน) เมื่อปี 2545 ขณะติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ แล้วเสร็จไปประมาณ 80% อีกลำคือ เรือเคดะ (KD Kedah) ซึ่งเป็นเรือนำของ OPV ชุดเดียวกัน (ไม่ปรากฏในภาพนี้) ก็ถูกนำไปติดตั้งและประกอบอุปกรณ์ต่างๆ ที่อู่แห่งเดียวกัน เรือร่วมชุดที่เหลืออีก 4 ลำต่อที่อู่แห่งนี้ทั้งหมด.  </b>
<bR><FONT color=#000033>เรือฟริเกตซิมป์สัน (USS Simpson FFG-56) ซึ่งเป็นเรือชั้นโอลิเวอร์ ฮาร์ซาร์ด เพอร์รี (Oliver Hazard Perry-Class) <i>ติดจรวดฮาร์พูน </i>เป็นเรือรบเก่าแก่ที่สุดของกองทัพเรือสหรัฐในปัจจุบัน สร้างขึ้นมาทั้งหมด 51 ลำ ในช่วงปี 2520-2532 และจะทะยอยปลดประจำการไปจนถึงสิ้นทศวรรษนี้ ไม่แน่-- เรือรบมาเลเซียที่ไปเยือนกัมพูชาในช่วงปีข้างหน้า อาจจะเป็นรุ่นนี้. -- ภาพ: US Navy [FILE].</b>
กำลังโหลดความคิดเห็น