xs
xsm
sm
md
lg

สหรัฐฯ คลายกฏเหล็กลงทุนพม่า ตั้งทูตกลับคืนย่างกุ้ง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ฮิลลารี คลินตัน ระหว่างปราศรัยเกี่ยวกับพม่าเมื่อวันที่ 4 เม.ย.2555 ที่กระทรวงการต่างประเทศ กรุงวอชิงตันดีซี นางคลินตันไปเยือนพม่าครั้งประวัติศาสตร์ต้นเดือน ธ.ค.ปีที่แล้ว ถึงเวลาที่รัฐบาลสหรัฐฯ ต้องสรุปการประเมินสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงในประเทศนี้ และในสวันพฤหัสบดี 17 พ.ค.นี้ ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ได้ประกาศผ่านคลายข้อจำกัดการทำธุรกิจและการลงทุนของสหรัฐฯ ในพม่า แต่ยังคงกฎหมายคว่ำบาตรเอาไว้ต่อรองให้รัฐบาลพลเรือนที่มีทหารหนุนหลังทำการปฏิรูปต่อไป. -- AFP PHOTO/Jim Watson. </b>
.

วอชิงตัน (เอเอฟพี/รอยเตอร์) - ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ประกาศผ่อนคลายข้อจำกัดการควบคุมการลงทุนในพม่าในวันพฤหัสบดีนี้ พร้อมตั้งเอกอัครราชทูตไปประจำประเทศนี้เป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปี แต่สหรัฐฯ ยังคงกฎหมายคว่ำบาตรต่อพม่า และต่อบุคคลที่โยงใยกับอดีตคณะปกครองทหารเอาไว้ ในกรณีที่เกิดมี “การถอยหลัง” เพื่อต่อรองกับพม่า

“เมื่อกำปั้นเหล็กเริ่มคลายในพม่า เราได้ยื่นมือเข้าช่วย และเข้าสู่หน้าใหม่ในปฏิสัมพันธ์เพื่อความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นกับอนาคตอันรุ่งเรืองของประชาชนพม่า” นายโอบามากล่าว

ความเคลื่อนไหวของนายโอบามามีขึ้นหลังจากมีเสียงเรียกร้องจากภาคธุรกิจในสหรัฐฯ ยุโรปและเอเชีย ขอให้ยกเลิกการคว่ำบาตร รวมทั้งคำเตือนจากนางอองซาน ซูจีสัญลักษณ์ประชาธิปไตย เกี่ยวกับการมองในแง่ดีจนเกินไปต่อการเปิดกว้างทางการเมืองขณะนี้

บัดนี้ รัฐบาลสหรัฐฯ จะออกใบอนุญาตให้มีการลงทุนบางชนิด และบริการด้านการเงินบางประเภท และอนุญาตให้ธุรกิจอเมริกันเข้าทำงานในพม่า แต่ขณะเดียวกัน ก็จะให้มีหลักประกันว่า กลุ่มที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนและเตะถ่วงความก้าวหน้า จะไม่ได้รับประโยชน์

นายโอบามากล่าวด้วยว่า กฎหมายคว่ำบาตรจะยังอยู่ เพื่อเร่งเร้าการปฏิรูปต่อไป และเพื่อช่วยให้สหรัฐฯ สามารถใช้มาตรการที่หนักหน่วงได้ทันท่วงที หากสหรัฐฯ เห็นว่ามี “การถอยไปข้างหลัง”

นายโอบามายังได้เสนอแต่งตั้งนายเดเร็ค มิตเชล (Derek Mitchell) ซึ่งทำหน้าที่ผู้แทนพิเศษของกระทรวงการต่างประเทศในกิจการพม่า เป็นเอกอัครราชทูต และรอการอนุมุติจากวุฒิสภา
.
<bR><FONT color=#000033>ผู้แทนพิเศษในกิจการพม่าของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ นายเดเร็ค มิตเชล (Derek Mitchell) ได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครรัฐทูตกลับไปประจำพม่าเป็นคนแรกในรอบ 20 ปี นับตั้งแต่สหรัฐฯ ถอนออกไปเมื่อปี 2534 คงความสัมพันธ์ระดับอุปทูตเท่านั้น ฝ่ายพม่าเตรียมประกาศแต่งตั้งเอกอัครรัฐทูตผู้แทนถาวรประจำยูเอ็น เป็นเอกอัครรัฐทูตประจำกรุงวอชิงตันดีซีอีกตำแนห่งหนึ่ง.-- Alex Wong/Getty Images/AFP.  </b>
.
วอชิงตันถอนเอกอัครราชทูตจากพม่า หลังจากมีการปราบปรามการลุกฮือเพื่อประชาธิปไตยเมื่อปี 2531 และการเลือกตั้งปี 2533 ที่ขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยของนางออง ซานซูจีได้รับชัยชนะ แต่คณะปกครองทหารไม่ยอมรับ

กฎหมายสหรัฐฯ บัญญัติให้ประธานาธิบดีต้องจำกัดการนำเข้าสินค้าจากพม่า ซึ่งปัจจุบันปกครองโดยรัฐบาลพลเรือนที่มีฝ่ายทหารหนุนหลัง และสั่งห้ามการลงทุน และบริการการเงินใดๆ ของสหรัฐฯ ในประเทศนั้น

กฎหมายยังให้ประธานาธิบดีอายัดทรัพย์สินของสมาชิกคนสำคัญของกลุ่มปกครอง และเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่โยงใยกับอดีตคณะปกครองทหาร

มาตรการของประธานาธิบดีโอบามาที่ประกาศในวันพฤหัสบดีนี้ ได้รับการสนับสนุนจากวุฒิสมาชิกทั้งพรรครีพับลิกัน และพรรคเดโมแครต แต่กลุ่มรณรงค์เคลื่อนไหวเพื่อพม่ากล่าวว่า อาจจะเป็นการส่งสัญญาณผิดๆ ในช่วงที่ฝ่ายทหารพม่ายังคงโหมปราบปรามชนชาติส่วนน้อยในรัฐกะฉิ่นอย่างหนัก

นางฮิลลารี คลินตัน รมว.ต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวในวันเดียวกันว่า แม้จะยังคงกฎหมายคว่ำบาตรเอาไว้ก็ตาม แต่ “เป้าหมายของเรา พันธกรณีของเราคือ เคลื่อนไปข้างหน้าโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้เราสามารถขยายโอกาสธุรกิจและการลงทุนได้”
.
<bR><FONT color=#000033>แฟนพันธุ์แท้ -- อดีตประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช กับ นางลอรา บุช อดีตสตรีหมายเลข 1 นั่งติดกันกับ  นายสื่อเฉียว ฟู (Xiqiu Fu) นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิเสรีภาพทางศาสนาชาวจีน ( 2 จากขวา) กับนายอัมมาร์ อับดุลราฮิม (Ammar Abdulhamid) นักเคลื่อนไหวชาวซีเรีย (ซ้ายสุด) และ ขณะรับฟังการสัมภาษณ์นงอองซานซูจี ทางโทรศัพท์จากกรุงย่างกุ้งในวันอังคาร 15 พ.ค.ที่ผ่านมา. -- AFP PHOTO/Saul Loeb.</b>
.
นางคลินตันยังเรียกร้องให้รัฐบาลใหม่ที่นำโดยฝ่ายพลเรือน ให้ดำเนินการขั้นต่อไปเพื่อควบคุมฝ่ายทหาร ที่ปกครองประเทศมาหลายทศวรรษ

ประธานาธิบดีเต็งเส่งได้สร้างความแปลกใจให้แก่นักสังเกตการณ์ในสหรัฐฯ ด้วยการริเริ่มปฏิรูปประชาธิปไตย ยุติการโดดเดี่ยว เปิดทางให้นางซูจีเข้าร่วมการเลือกตั้งซ่อม และได้รับชัยชนะ 43 จากทั้งหมด 45 ที่นั่ง แต่ก็ยังเป็นเพียงเสียงข้างน้อยในรัฐสภาซึ่งจำนวน 1 ใน 4 ของสมาชิกสงวนไว้ให้แก่ตัวแทนจากกองทัพ

นางซูจีสาบานตนเข้าทำหน้าที่ในวันที่ 2 พ.ค.ที่ผ่านมา หลังจากใช้เวลานานนับ 2 ทศวรรษถูกกักบริเวณในบ้านพัก และในสัปดาห์นี้ผู้นำฝ่ายค้านพม่าได้ให้สัมภาษณ์ผ่านระบบสไกป์ไปยังที่ประชุมสัมมนาของผู้ที่ให้การสนับสนุนในสหรัฐฯ ซึ่งรวมทั้งอดีตประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู.บุช กับนางลอรา บุช ภริยาด้วย

นางซูจีกล่าวเตือนว่า บางครั้งนางรู้สึกว่า “ผู้คนมองในแง่ดีมากเกินไปต่อสิ่งที่เห็นในพม่า ท่านทั้งหลายจะต้องจำไว้ว่า กระบวนการประชาธิปไตยนั้น มิใช่สิ่งที่ไม่สามารถทำให้ย้อนกลับได้”.
กำลังโหลดความคิดเห็น